สุรินทร์ เทพกาญจนา

สุรินทร์ เทพกาญจนา เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 - 2519 เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 และ พ.ศ. 2518[1] อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสมุทรสาคร

สุรินทร์ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ก่อนหน้านิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์
ถัดไปพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2465
ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เสียชีวิต17 มกราคม พ.ศ. 2541 (76 ปี)
พรรคการเมืองสหประชาไทย (พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2514)
ธรรมสังคม (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519)
คู่สมรสวรารัตน์ เทพกาญจนา
บุตรเกศินี เดชอมรธัญ
พงศ์เทพ เทพกาญจนา

ประวัติ

สุรินทร์ เทพกาญจนา เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ปริญญาตรีทางกฎหมาย ธรรมศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) เมื่อปี พ.ศ. 2490 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เขามีบุตรชายเป็นนักการเมืองคือ พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง

งานการเมือง

สุรินทร์ เทพกาญจนา เป็นนักการเมืองชาวสมุทรสาคร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม[2] นำโดยนายทวิช กลิ่นประทุม และเขาได้รับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคธรรมสังคม[3]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวมเสียงสนับสนุนจากพรรคต่าง ๆ จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และนายสุรินทร์ เทพกาญจนา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4] เป็น 1 ใน 9 รัฐมนตรีของพรรคธรรมสังคม ในขณะดำรงตำแหน่งถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในการเร่งรัดพัฒนาแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย[5]

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสมุทรสาคร และเป็นนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย[6] รวมทั้งเป็นผู้บุกเบิกเมืองมหาชัย

ถึงแก่อนิจกรรม

นายสุรินทร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2541 อายุ 76 ปี และได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร