อินเดียสมัยกลาง

อินเดียสมัยกลาง สื่อถึงยุคสมัยที่ยาวนานของประวัติศาสตร์หลังคลาสสิกของอนุทวีปอินเดียระหว่าง "สมัยโบราณ" กับ "สมัยใหม่" มักถือว่าอยู่ในช่วงประมาณจากการแตกสลายของจักรวรรดิคุปตะในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้นใน ค.ศ. 1526 ด้วยการสถาปนาจักรวรรดิโมกุล แม้ว่านักประวัติศาสตร์บางส่วนถือว่าทั้งจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดช้ากว่าจุดเหล่านี้ สมัยกลางนั้นแบ่งออกเป็นสมัยกลางตอนต้นและสมัยกลางตอนปลาย

ป้อมเมหรานครห์สร้างขึ้นในอินเดียสมัยกลางในรัชสมัยโชธแห่งราฐูร

ในสมัยกลางตอนต้น มีรัฐมากกว่า 40 แห่งในอนุทวีปอินเดียที่มีวัฒนธรรม ภาษา ระบบการเขียน และศาสนาที่แตกต่างกัน[1] ในช่วงเริ่มต้นสมัยนี้ ศาสนาพุทธเคยเป็นศาสนาหลักทั่วพื้นที่ ด้วยจักรวรรดิปาละที่ดำรงได้ไม่นานในที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา สนับสนุนสถาบันทางศาสนาพุทธ หนึ่งในสถาบันเหล่านั้นคือนาลันทามหาวิหาร ศูนย์กลางทางการศึกษาและนำเอเชียใต้ที่แบ่งแยกเข้าสู่เวทีปัญญาระดับโลก ในบริเวณรัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน ความสำเร็จอีกอันคือการประดิษฐ์เกม จตุรังคะ ที่ภายหลังนำเข้าสู่ยุโรปและกลายเป็นหมากรุก[2]ส่วนในอินเดียใต้ อาณาจักรฮินดูโจฬะของทมิฬมีชื่อเสียงจากจักรวรรดิโพ้นทะเลที่ควบคุมส่วนต่าง ๆ ของศรีลังกา มาเลเซีย และอินโดนีเซียปัจจุบันในฐานะดินแดนโพ้นทะเล และช่วยกระจายศาสนาฮินดูและพุทธเข้าไปยังพื้นที่วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ในสมัยเดียวกัน ภูมิภาคเพิ่อนบ้านอย่างอัฟกานิสถาน ทิเบต และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลเอเชียใต้[4]

ในช่วงสมัยกลางตอนปลาย การรุกรานของอิสลามเป็นระลอกจากบริเวณเอเชียกลาง อัฟกานิสถาน และอิหร่านในปัจจุบัน เข้าพิชิตดินแดนจำนวนมากในอินเดียเหนือ ก่อตั้งรัฐสุลต่านเดลีที่ดำรงอยู่จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16[5] ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมถอยในเอเชียใต้ แต่ศาสนาฮินดูยังคงอยู่รอดและเสริมกำลังตนเองในพื้นที่ที่ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครอง ส่วนในบริเวณตอนใต้ จักรวรรดิวิชัยนครยืนหยัดต่อการพิชิตของมุสลิม และเริ่มต้นความเป็นศัตรูกับรัฐสุลต่านแบฮ์แมนีเป็นเวลานาน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นำไปสู่การนำเข้าดินปืน การสถาปนาโมกุล จักรวรรดิมุสลิมใหม่ และการจัดตั้งสถานีการค้าของยุโรปโดยอาณานิคมโปรตุเกส[6] จักรวรรดิโมกุลเป็นหนึ่งในสามจักรวรรดิดินปืนอิสลาม ร่วมกับจักรวรรดิออตโตมันและเปอร์เซียของซาฟาวิด[7][8][9] การพัฒนาทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนแปลงสังคมอินเดีย ทำให้ช่วงสมัยกลางตอนปลายสิ้นสุดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยใหม่ตอนต้น

คำนิยามและการกำหนดช่วงเวลา

คำนิยามหนึ่งรวมช่วงสมัยจากคริสต์ศตวรรษที่ 6[10] ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 7[11] หรือคริสต์ศตวรรษที่ 8[12] จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งโดยพื้นฐานบังเอิญตรงกับสมัยกลางของทวีปยุโรป โดยอาจแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ: 'สมัยกลางตอนต้น' ที่อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 13 และ 'สมัยกลางตอนปลาย' ที่อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 16 ซึ่งสิ้นสุดด้วยจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโมกุลใน ค.ศ. 1526 สมัยโมกุลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 18 มักเรียเป็นสมัยใหม่ตอนต้น[10] แต่บางครั้งรวมอยู่ในสมัย 'กลางตอนปลาย'[13]

คำนิยามอีกแบบหนึ่งมักพบในนักเขียนล่าสุดที่ยังคงใช้คำนี้อยู่ นำการเริ่มต้นของสมัยกลางไปข้างหน้า ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1,000 หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 12[14] จุดสิ้นสุดอาจย้อนกลับไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้ช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองของชาวมุสลิมอย่างมีประสิทธิผลจนถึงบริติชราช[15] หรือสมัย "กลางตอนต้น" เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และสิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 11[16]

การใช้คำว่า "สมัยกลาง" ในฐานะคำที่ใช้เรียกยุคสมัยในประวัติศาสตร์อินเดียมักถูกคัดค้าน และอาจพบได้ยากมากขึ้น (มีการอภิปรายที่คล้ายกันในแง่ของประวัติศาสตร์จีน)[17] เป็นที่โต้แย้งกันว่าทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของยุคสมัยไม่ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในประวัติศาสตร์อินเดียจริง ๆ เมื่อเทียบกับช่วงที่เทียบเท่าของยุโรป[18] Burton Stein ยังคงใช้แนวคิดนี้ในหนังสือ A History of India (1998) ของเขา โดยสื่อถึงช่วงสมัยจากคุปตะถึงโมกุล แต่นักเขียนล่าสุดส่วนใหญ่ที่ใช้คำนี้เป็นชาวอินเดีย โดยเป็นที่เข้าใจได้ว่าพวกเขามักระบุระยะเวลาที่ครอบคลุมไว้ในชื่อเรื่อง[19]

สมัย

สมัยกลางตอนต้น

สมัยกลางตอนปลาย

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

ผลงานประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เขียนเกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ของสมัยนั้น E. Sreedharan โต้แย้งว่า ตั้งแต่ช่วงขึ้นศตวรรษใหม่จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 นักประวัติศาสตร์อินเดียมักได้รับแรงขับเคลื่อนด้วยชาตินิยมอินเดีย[20] ปีเตอร์ ฮาร์ดีสังเกตว่า ผลงานประวัติศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางจนถึงตอนนั้นส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ชาวบริติชและฮินดู ในขณะที่ผลงานของนักประวัติศาสตร์มุสลิมสมัยใหม่กลับมีบทบาทน้อย[21] เขาโต้แย้งว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์มุสลิมสมัยใหม่เกี่ยวกับอินเดียสมัยกลางในเวลานั้นบางส่วนได้รับแรงขับเคลื่อนจากการแก้ต่างอิสลาม (Islamic apologetics) ด้วยความพยายามพิสูจน์ "ชีวิตของมุสลิมสมัยกลางให้เข้ากับโลกสมัยใหม่" ("the life of medieval Muslims to the modern world.")[22]

Ram Sharan Sharma ได้วิจารณ์ลักษณะที่เรียบง่ายของประวัติศาสตร์อินเดียที่ถูกแบ่งออกเป็น สมัย "ฮินดู" โบราณ, สมัย "มุสลิม" กลาง และสมัย "บริติช" ใหม่ เขาโต้แย้งว่า ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างช่วงที่สมัยโบราณสิ้นสุดลงและช่วงสมัยกลางเริ่มต้นขึ้น โดยระบุขอบเขตตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13[23]

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Avari, Burjor, India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from C. 7000 BCE to CE 1200, 2016 (2nd edn), Routledge, ISBN 1317236734, 9781317236733, google books
  • Berger, Eugene; Israel, George; Miller, Charlotte; Parkinson, Brian; Reeves, Andrew; Williams, Nadejda (2016). World History Cultures, States and Society to 1500 (PDF). University of North Georgia Press. ISBN 978-1-940771-10-6. OCLC 961216293.
  • Farooqui, Salma Ahmed, A Comprehensive History of Medieval India: From Twelfth to the Mid-Eighteenth Century, 2011, Pearson Education India, ISBN 8131732029, 9788131732021, google books
  • Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
  • Keay, John, India: A History, 2000, HarperCollins, ISBN 0002557177
  • Michell, George, (1977) The Hindu Temple: An Introduction to its Meaning and Forms, 1977, University of Chicago Press, ISBN 978-0-226-53230-1
  • Rowland, Benjamin, The Art and Architecture of India: Buddhist, Hindu, Jain, 1967 (3rd edn.), Pelican History of Art, Penguin, ISBN 0140561021

อ่านเพิ่ม

  • Jadunath Sarkar (1960). Military History of India (ภาษาอังกฤษ). Orient Longmans. ISBN 9780861251551.
  • Romila Thapar (1990-06-28). A History of India (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-0-14-194976-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
  • Satish Chandra; Historiography, Religion and State in Medieval India, Har-Anand Publications, 2010.
  • Elliot and Dowson: The History of India as told by its own Historians, New Delhi reprint, 1990.
  • Elliot, Sir H. M., Edited by Dowson, John. The History of India, as Told by Its Own Historians. The Muhammadan Period; published by London Trubner Company 1867–1877. (Online Copy: The History of India, as Told by Its own Historians. The Muhammadan Period; by Sir H. M. Elliot; Edited by John Dowson; London Trubner Company 1867–1877– This online Copy has been posted by: )
  • Gommans, Jos J. L. (2002), Mughal Warfare: Indian Frontiers and Highroads to Empire, 1500–1700, Routledge, ISBN 0-415-23989-3.
  • Lal, K. S. (1999). Theory and practice of Muslim state in India. New Delhi: Aditya Prakashan.
  • Majumdar, Ramesh Chandra; Pusalker, A. D.; Majumdar, A. K., บ.ก. (1960). The History and Culture of the Indian People. Vol. VI. Bombay: Bharatiya Vidya Bhavan.
  • Majumdar, Ramesh Chandra; Pusalker, A. D.; Majumdar, A. K., บ.ก. (1973). The History and Culture of the Indian People. Vol. VII. Bombay: Bharatiya Vidya Bhavan.
  • Misra, R. G. (1993). Indian resistance to early Muslim invaders up to 1206 AD. Meerut City: Anu Books.
  • Sarkar, Jadunath. (1997). Fall of the Mughal Empire: Vol. 1–4. Hyderabad: Orient Longman.
  • Sarkar, Jadunath. (1975). Studies in economic life in Mughal India. Delhi: Oriental Publishers & Distributors.; (1987). Mughal economy: Organization and working. Calcutta, India: Naya Prokash.
  • Srivastava, A. L. (1970). The Mughal Empire, 1526-1803 A.D. ... Seventh revised edition. Agra: Shiva Lal Agarwala & Co.
  • Srivastava, A. L. (1975). Medieval Indian culture. Agra: Agarwala.
  • Wink, André (2004). Indo-Islamic society: 14th - 15th centuries. Al-Hind Series. Vol. 3. BRILL. ISBN 9004135618. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  • Wink, André (1996). Al-Hind: The Making of the Indo-Islamic Worlds Vol 1. E. J. Brill. ISBN 0-391-04173-8.
  • ข้อมูลปฐมภูมิ
    • Babur, ., & Thackston, W. M. (2002). The Baburnama: Memoirs of Babur, prince and emperor. New York: Modern Library.
    • Muḥammad, A. K., & Pandit, K. N. (2009). A Muslim missionary in mediaeval Kashmir: Being the English translation of Tohfatu'l-ahbab.
    • V. S. Bhatnagar (1991). Kānhaḍade Prabandha, India's Greatest Patriotic Saga of Medieval Times: Padmanābha's Epic Account of Kānhaḍade. Aditya Prakashan. ISBN 978-81-85179-54-4.
    • Jain, M. The India They Saw : Foreign Accounts (4 Volumes) Delhi: Ocean Books, 2011.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย