เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส

เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส (ค.ศ. 1911 - 30 มีนาคม ค.ศ. 1960) เป็นชาวอเมริกันที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยทางการรัฐยูทาห์ในข้อหาฆาตกรรมคนงานเหมือง ชาร์ลส์ เมอร์รีฟิลด์ ใน ค.ศ. 1957[1] เขาได้กล่าวคำสุดท้ายก่อนหน้าการประหารชีวิตใน ค.ศ. 1960 โดยร้องขอเสื้อเกราะกันกระสุน[2] การประหารด้วยทีมยิงของเขานับเป็นการประหารด้วยวิธีดังกล่าวครั้งสุดท้ายในสหรัฐอเมริกาก่อนจะถูกยับยั้งโดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา[3]

เบื้องหลัง

ร็อดเจอร์สเกิดในปี ค.ศ. 1911[4] เป็นบุตรคนแรกในพี่น้องสิบเอ็ดคน เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาได้หลบหนีออกจากบ้าน ที่ซึ่งบิดาได้บีบบังคับให้ลูกของตนทำงาน เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการค้าของเถื่อนและได้รับบาดเจ็บที่ขาจากกระสุนปืนกล[5] ต่อมา ร็อดเจอร์ได้เข้าไปมีส่วนพัวพันในการโจรกรรมอาวุธ[1] และใช้เวลามากกว่ายี่สิบปีในการคุมขังในเรือนจำหลายแห่ง[5]

ฆาตกรรม

ร็อดเจอร์สได้งานทำเป็นคนงานก่อสร้างที่เหมืองยูเรเนียมรัทเทิลสเน็กใกล้กับลาซาล รัฐยูทาห์[1][5] เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1957 เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์สได้ยิงและสังหารคนงานเหมือง ชาร์ลส์ เมอร์รีฟิลด์ ระหว่างที่ทั้งสองทุ่มเถียงกันในเรื่องที่ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะหยอดน้ำมันใส่เครื่องมือสำหรับตักให้เหมาะสม[1] ร็อดเจอร์สอ้างว่าเขาได้รับการคุกคามหลายครั้งและคิดว่าเมอร์รีฟิลด์กำลังจะ "ตีเขาให้ได้รับบาดเจ็บ" ร็อดเจอร์สกล่าวว่าเขาได้ "ท้าทายเมอร์รีฟิลด์ด้วยปืน" ก่อนจะลั่นกระสุนใส่เมื่อเมอร์รีฟิลด์โจมตีเขาด้วยประแจขนาดใหญ่[5]

การพิจารณาคดี

ร็อดเจอร์สได้รับแจ้งข้อหาฆาตกรรมที่สำนักงานศาลเคาน์ตีในมอนติคาโล รัฐยูทาห์[6] ร็อดเจอร์สอ้างว่าเขากำลังป่วยด้วยโรคซิฟิลิส และให้การว่า "กระทำความผิดในขณะวิกลจริต"[5] ระหว่างการพิจารณาคดี ร็อดเจอร์สยืนยันว่าเขาได้สังหารเมอร์รีฟิลด์ในการป้องกันตัว[7] จนกระทั่งได้รับการตัดสินว่าถูกประหารชีวิต ร็อดเจอร์สได้รับสิทธิ์ให้เลือกว่าจะถูกประหารชีวิตด้วยทีมยิงหรือถูกแขวนคอ ซึ่งร็อดเจอร์สเลือกที่จะถูกยิง[8] ร็อดเจอร์สกล่าวว่าเขาไม่รู้สึกกังวล เนื่องจากเขาจะเสียชีวิตด้วยโรคซิฟิลิสก่อนหน้าการประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจโรคซิฟิลิสปรากฏว่าไม่ได้ผลเป็นบวกในการทดสอบทางการแพทย์[5] ร็อดเจอร์สยื่นอุทธรณ์สามครั้ง[7] โดยครั้งหนึ่งต่อศาลสูงสุดรัฐยูทาห์[6] แต่คำร้องอุทธรณ์ทั้งหมดได้รับการปฏิเสธ[7]

การประหารชีวิต

ร็อดเจอร์สได้ถูกส่งตัวไปยังห้องคุมขังนักโทษประหารชีวิตที่เรือนจำรัฐยูทาห์ ที่ซึ่งเขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นนักโทษต้นแบบและเขียนถึง "ความรู้สึกขอบคุณอย่างลึกซึ้งที่สุดสำหรับความช่วยเหลือทั้งหลายและความเมตตา" ระหว่างสองปีที่ถูกคุมขัง[9] ในตอนเช้าวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1960 ร็อดเจอร์สได้ถูกส่งตัวไปยังสถานที่ประหารห่างจากเรือนจำประมาณ 1.6 กิโลเมตร พร้อมกับนายอำเภอซานฮวนเคาน์ตี เซธ ไรต์ และอนุศาสนาจารย์ประจำเรือนจำ เมื่อถามถึงคำสุดท้ายของเขา ร็อดเจอร์สได้ยืนกรานว่าเขาบริสุทธิ์และกล่าวอีกว่า "ผมได้แจ้งคำร้องขอสุดท้ายของผมแล้ว ... เสื้อเกราะกันกระสุนไง"[10] เขาที่อยู่ในชุดผ้าฝ้ายหยาบจึงได้รับเสนอเสื้อโค้ด ซึ่งเขากล่าวว่า "ไม่ต้องห่วง ผมกำลังจะไปในที่ซึ่งมันจะอบอุ่นในไม่ช้า" ร็อดเจอร์สถูกรัดติดกับเก้าอี้ไม้ในเต็นท์ผ้าใบปิดสูง 6.1 เมตร[10] ตั้งอยู่ห่างจากทีมยิงประมาณ 7 เมตร หนึ่งในนักแม่นปืนห้านายได้รับไรเฟิล .30-30 ที่มีกระสุนเปล่า[2] เพื่อที่ว่าจะไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าได้ยิงกระสุนปลิดชีวิตไป[8] ร็อดเจอร์สถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 6.16 น.[10] ขณะดวงอาทิตย์กำลังขึ้น[2]

หลังการประหารชีวิต มารดาของร็อดเจอร์สได้ขอนำศพไปประกอบพิธีศพ[9] ร็อดเจอร์สเป็นคนสุดท้ายในสหรัฐอเมริกาที่ถูกประหารชีวิตด้วยทีมยิงจนกระทั่งแกรี กิลมอร์ ในอีกมากกว่า 17 ปีต่อมา[3]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร