เชียง (กลุ่มชนในประวัติศาสตร์)

เชียง (จีน: ; พินอิน: Qiāng; เวด-ไจลส์: Ch'iang) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันในจีนโบราณ โดยทั่วไปเชื่อว่าชาวเชียงมีต้นกำเนิดจากแถบทิเบต-พม่า[1][2][3][4][5] แม้ว่ามีทฤษฎีอื่นด้วยก็ตาม

เชียง
ภาพวาดทูตของเติ้งจื้อ (鄧至) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเชียง จากภาพวาดบรรณาการตามวาระ (คริสต์ศตวรรษที่ 6)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จีนโบราณ

ชาวตังกุตในยุคราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง และราชวงศ์หยวนอาจจะสืบเชื้อสายมาจากชาวเชียง[1] ชาวเชียงในปัจจุบันรวมถึงชาวทิเบตอาจสืบเชื้อสายมาจากส่วนหนึ่งของชาวเชียงโบราณ[6]

ศัพทมูล

ในพจนานุกรมชัวเหวินเจี่ยจึในยุคราชวงศ์ฮั่นระบุว่าชาวเชียงเป็นคนเลี้ยงแกะ และตัวอักษรจีนของ "เชียง" () จึงถูกสร้างขึ้นมาจากตัวอักษรของ "แกะ" (羊) และ "คน" (人) และออกเสียงเหมือน "แกะ"[7][8] เฟิงสูทงอี้ยังระบุเช่นกันว่าตัวอักษรของ "เชียง" สร้างจากคำว่า "แกะ" และ "คน" นักวิชาการสมัยใหม่พยายามสร้างการออกเสียงของคำว่า "เชียง" ในยุคโบราณขึ้นใหม่ นักจีนวิทยา Edwin Pulleyblank สร้างขึ้นใหม่เป็น *kʰiaŋ ในภาษาจีนยุคกลาง ส่วน William H. Baxter และ Laurent Sagart สร้างคำภาษาจีนเก่าของ "เชียง" เป็น *C.qʰaŋ.[9]

โดยทั่วไปเชื่อว่าชาวเชียงเป็นผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า แม้ว่า Christopher Beckwith เสนอว่าคำว่า "เชียง" อาจมีรากศัพท์มาจากภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และชาวเชียงมีต้นกำเนิดมาจากแถบอินโด-ยูโรเปียน Beckwith เปรียบเทียบข้อเสนอการสร้างการออกเสียงคำว่า "เชียง" เป็น *klaŋ ในภาษาจีนเก่าเข้ากับคำในกลุ่มภาษาโทแคเรียน klānk ที่มีความหมายว่า "ขี่, ไปโดยรถ" เช่นเดียวกับในความหมายว่า "ขี่ออกไปล่าด้วยรถม้า" ดังนั้นคำว่า "เชียง" จึงอาจมีความหมายว่า "คนขับรถม้า"[10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Cosmo, Nicola Di (2002), Ancient China and Its Enemies, Cambridge University Press
  • Cosmo, Nicola di (2009), Military Culture in Imperial China, Harvard University Press
  • Crespigny, Rafe de (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms, Brill
  • Crespigny, Rafe de (2010), Imperial Warlord, Brill
  • Crespigny, Rafe de (2017), Fire Over Luoyang: A History of the Later Han Dynasty, 23-220 AD, Brill
  • LaPolla, Randy (2003), A Grammar of Qiang, Mouton Gruyter
  • Kang, Xiaofei (2016), Contesting the Yellow Dragon
  • Twitchett, Denis (1994), "The Liao", The Cambridge History of China, Volume 6, Alien Regime and Border States, 907-1368, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 43–153, ISBN 0521243319
  • Twitchett, Denis (2008), The Cambridge History of China: Volume 1, Cambridge University Press
  • Wen, Maotao (2014). The Creation of the Qiang Ethnicity, its Relation to the Rme People and the Preservation of Rme Language (Master thesis). Duke University.
  • Wagner, Donald B. (2008), Science and Civilization in China Volume 5-11: Ferrous Metallurgy, Cambridge University Press
  • West, Barbara A. (2009), Encyclopedia of Peoples of Asia and Oceania, Facts on File
  • Whiting, Marvin C. (2002), Imperial Chinese Military History, Writers Club Press
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร