โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ

(เปลี่ยนทางจาก Anorexia nervosa)

โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (อังกฤษ: anorexia nervosa) หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นความผิดปกติของการรับประทานที่ผู้ป่วยมีลักษณะน้ำหนักลด จำกัดอาหาร มีความกลัวน้ำหนักขึ้นและมีความต้องการที่จะผอมอย่างมาก[1] ผู้ป่วยอะนอเร็กเซียมักมองว่าตัวเองมีน้ำหนักเกินทั้งที่ในความจริงมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมักปฏิเสธว่าตัวเองมีปัญหาด้านน้ำหนักลด พวกเขามักใช้วิธีลดน้ำหนักด้วยการทานน้อย ออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ตัวเองอาเจียนหรือใช้ยาระบาย[1] ภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ได้แก่โรคกระดูกพรุน ภาวะการมีบุตรยาก โรคหัวใจ ในผู้หญิงมักพบภาวะขาดประจำเดือน[3]

โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ
ชื่ออื่นAnorexia
ภาพวาด "นางสาว A—" ในปี ค.ศ. 1866 และหลังรับการรักษาในปี ค.ศ. 1870 เธอเป็นผู้ป่วยโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจรายแรก ๆ ที่มีการบันทึกไว้
ภาพจากเอกสารการแพทย์ของวิลเลียม กอล
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, อาการกลัวน้ำหนักขึ้น, มีความต้องการผอมอย่างมาก, การจำกัดอาหาร[1]
ภาวะแทรกซ้อนโรคกระดูกพรุน, ภาวะการมีบุตรยาก, โรคหัวใจ, การฆ่าตัวตาย[1]
การตั้งต้นวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1]
สาเหตุไม่ทราบ[2]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติในครอบครัว, นักกีฬา, นักเดินแบบ, นักเต้นรำ[2][3][4]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ, โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา, ความผิดปกติเหตุสารเสพติด, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน, โรคลำไส้อักเสบ, การกลืนลำบาก, มะเร็ง[5][6]
การรักษาการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม, การรักษาด้วยการเพิ่มน้ำหนักในโรงพยาบาล[1][7]
พยากรณ์โรคเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 5% หากป่วยเกินกว่า 10 ปี[3][8]
ความชุก2.9 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[9]
การเสียชีวิต600 คน (ค.ศ. 2015)[10]

สาเหตุของอะนอเร็กเซียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ายีนบางตัวส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นแฝดแท้มากกว่า[2] ปัจจัยด้านสังคมที่ให้คุณค่ากับความผอมส่งผลให้อัตราโรคนี้สูงขึ้นเช่นกัน โรคอะนอเร็กเซียพบได้ในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณ์เช่น นักกีฬา นักเดินแบบและนักเต้นรำ รวมถึงหลังจากประสบความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ[3] การวินิจฉัยทั่วไปจะใช้การวัดน้ำหนักและแบ่งความรุนแรงตามดัชนีมวลกาย (BMI) ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคอะนอเร็กเซียระดับต่ำจะมีค่า BMI สูงกว่า 17, ระดับกลาง BMI 16-17, ระดับสูง BMI 15-16 และระดับร้ายแรง BMI ต่ำกว่า 15[3] โรคอะนอเร็กเซียมีภาวะตั้งต้นในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1]

การรักษาโรคอะนอเร็กเซียจะเป็นการฟื้นฟูน้ำหนัก รักษาด้านจิตใจและพฤติกรรม มีรายงานว่าการบำบัดแบบอื่น ๆ เช่นการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมและการบำบัดครอบครัวมอดส์ลีย์ได้ผลเช่นกัน[11] ผู้ป่วยบางรายอาจประสบโรคนี้ช่วงเดียวแล้วอาการดีขึ้น ในขณะที่บางรายอาจป่วยได้หลายช่วงในเวลาหลายปี มีรายงานว่าภาวะแทรกซ้อนจะลดลงหากกลับมามีน้ำหนักตามเกณฑ์อีกครั้ง[7]

มีผู้ป่วยอะนอเร็กเซียทั่วโลกประมาณ 2.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2015[9] โดยพบว่า ผู้หญิงชาวตะวันตกประมาณ 0.9-4.3% และผู้ชายชาวตะวันตก 0.2-0.3% จะประสบโรคนี้ในช่วงหนึ่งของชีวิต[12] ในปี ค.ศ. 2015 โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยตรงประมาณ 600 คน[10] และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น การฆ่าตัวตาย[12] วิลเลียม กอล แพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้นิยามชื่อโรคและบรรยายถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1873[13] โดยมาจากคำในภาษากรีก ἀνορεξία (anorexía) ที่แปลว่า "ไม่อยากอาหาร" ดังนั้น anorexia nervosa จึงมีความหมายว่า "ผู้ป่วยทางจิตที่ไม่อยากอาหาร"[14]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย