แมวไทย

(เปลี่ยนทางจาก Siamese (cat))

แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ เรื่องอุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น แมวไทยสามารถสืบพันธ์เองได้แบบไม่ต้องอาศัยเพศตรงข้าม และสามารถพ่นไฟออกทางปากและตูดได้

แมวไทย พันธุ์วิเชียรมาศ

ประวัติ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารแสดงให้เห็นแมวกำลังจะจับหนู

แมวถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงของคนไทยมาช้านาน และได้รับสิทธิในการขึ้นไปอาศัยอยู่บนเรือนร่วมกับมนุษย์ ดังปรากฏในประเพณีขึ้นบ้านใหม่ที่จะมอบของมงคลต่าง ๆ แก่เจ้าของเรือน ซึ่งมีสัตว์เลี้ยงสองชนิดไก่และแมว ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า "หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว" "ฝากปลาย่างไว้กับแมว" และ "แมวนอนหวด" เป็นต้น[1] นอกจากเลี้ยงในเรือนแล้ว พระสงฆ์ก็นิยมเลี้ยงแมวในวัดด้วย เพราะป้องกันมิให้หนูมากัดทำลายพระไตรปิฏก[2]

ตำราดูลักษณะแมว เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นหนึ่งในตำราพรหมชาติซึ่งคัดลอกต่อ ๆ กันมา ฉบับหนึ่งอยู่ในการครอบครองของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ผู้โปรดปรานการเลี้ยงแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย เนื้อหาแต่งเป็นโคลงและกาพย์ แบ่งแมวไทยออกเป็น 23 สายพันธุ์ เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์[1][3] ส่วนตำราแมวฉบับอื่น ๆ ก็ระบุไว้ใกล้เคียงกัน[4][5] จากเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทยด้านรูปลักษณ์ เพราะแมวมงคลนั้นล้วนมีลักษณะที่งาม อันแสดงให้เห็นว่าแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นบ้านเป็นตาของบ้าน[1] ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีอุปนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง รักเจ้าของ และมีความเป็นต้วของตัวเอง[2] และมีข้อดีที่สำคัญคือมีภูมิต้านทานต่อโรคเขตร้อนสูง ขนสั้น ไม่มีปัญหาด้านเชื้อราจากความชื้น[6]

เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อ โอเวน กูลด์ แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือ แมวสยาม

สำหรับในประเทศไทย คนไทยที่เป็นที่รับรู้ดีว่าชอบเลี้ยงแมวไทย เช่น สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, พิชัย วาสนาส่ง อดีตผู้เชี่ยวชาญเรื่องการต่างประเทศ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตผู้อำนวยการ อสมท. เป็นต้น

แมวไทยในระดับนานาชาติ

ในสหรัฐอเมริกา แมวไทยตัวแรกเป็นแมวของ ลูซี่ เว็บบ์ ภรรยาของ รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ ประธานาธิบดีคนที่ 29 ของสหรัฐอเมริกา[7]

ทั้งนี้แมววิเชียรมาศได้รับการยกย่องจากนักจิตบำบัดในฐานะแมวที่ช่วยเสริมสร้างความสดใสและสมดุลทางอารมณ์ให้กับผู้เลี้ยง และมักถูกแนะนำให้ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่มีโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เพื่อเป็นตัวช่วยในการบำบัดอาการ[6] ชาวต่างชาตินิยมนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์ที่มีอุปนิสัยดุ เพื่อให้ลูกที่เกิดมาเชื่องหรือดุน้อยลง[2]

ปัจจุบันแมวไทยที่ปรากฏในตำราซึ่งยังหลงเหลืออยู่คือ วิเชียรมาศ, โกนจา, ขาวมณี และมาเลศถูกชาวต่างชาติจดสิทธิบัตรไปแล้ว แบ่งเป็น วิเชียรมาศจดโดยอังกฤษ ส่วนโกนจา, ขาวมณี และมาเลศจดโดยสหรัฐ คงเหลือแต่ศุภลักษณ์เท่านั้นที่ยังไม่มีชาติใดจดสิทธิบัตร[6][8]

ปัจจุบันยีนของแมวไทยได้กระจายไปสู่แมวสายพันธุ์ต่างประเทศทั่วโลกมากถึง 40 สายพันธุ์ด้วยกัน[9]

ชนิด

แมวไทยบนแสตมป์ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ซ้ายบน) ขาวมณี, (ซ้ายล่าง) วิเชียรมาศ, (ขวาบน) มาเลศ, (ขวาล่าง) ศุภลักษณ์

สมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยไว้ 23 ชนิด ซึ่งเป็นแมวดีให้คุณ 17 ชนิด และแมวร้ายให้โทษ 6 ชนิด แมวไทย (วิฬาร) ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และแซมเสวตร[10] แต่แท้จริงแล้วในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยว่ามีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด

แมวดีให้คุณ

รูปชื่อลักษณะ
กรอบแว่น, อานม้ามีขนสีขาวทั้งตัว ส่วนขอบตาและกลางแผ่นหลังมีสีดำ คล้ายกรอบแว่นตาและอานม้าตามลำดับ
กระจอกมีขนสีดำมันทั้งตัว ตาสีเหลือง รอบปากมีสีขาว
การเวกขนมีสีดำทั้งตัว ปลายจมูกมีสีขาว สีเหลืองอำพัน
เก้าแต้มขนมีสีขาวทั้งตัว มีจุดสีดำรอบตัวเก้าแห่ง คือ หัว คอ โคนขาหน้าและหลังทั้งสี่ ไหล่ทั้งสอง และโคนหาง
โกนจา, โกญจา, ร่องมด, ดำปลอดขนสั้นเรียบละเอียดสีดำสนิททั้งตัวนัยน์ตาสีเหลืองอมเขียว ปากเรียว หูตั้ง
จตุบทมีสีดำ นอกจากปลายเท้าขึ้นมาจนถึงข้อพับทั้งสี่ข้างเป็นสีขาว นัยน์ตาเป็นสีเหลือง
แซมเสวตรมีลักษณะเดียวกับโกนจา ตาสีเขียว แต่มีขนสีขาวแซม
นิลจักรมีขนสีดำ บริเวณลำคอมีขนสีขาวเป็นวงเหมือนคล้องพวงมาลัย
นิลรัตน์มีลักษณะเดียวกับโกนจา ต่างกันตรงที่มีเล็บดำ ลิ้นดำ ฟันดำ และนัยน์ตาสีดำ
ปัดเสวตร, ปัดตลอดมีขนสีดำเป็นมันเรียบ ยกเว้นปลายจมูกจนถึงปลายหางมีขาว ดวงตามีสีเหลืองคล้ายพลอย
มาเลศ, สีสวาด, โคราช, ดอกเลา[11]มีขนสั้นสีสวาด ผิวหนังบริเวณจมูกและริมฝีปากมีสีเงินหรือม่วงอ่อน นัยน์ตาสีเขียว
มุลิลามีขนสีดำ ขนเรียบเป็นมัน แต่บริเวณสองหูเป็นสีขาว นัยน์ตาสีเหลือง
รัตนกำพลมีขนสีขาว ยกเว้นลำตัวจะมีสีดำคาด นัยน์ตาสีทอง
วิเชียรมาศมีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน แต้มสีครั่งหรือน้ำตาลบนใบหน้า หูสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และอวัยวะเพศ นัยน์ตาสีฟ้า
วิลาศมีขนเรียบสีดำ ยกเว้นใบหูทั้งสองข้าง ปากล่างลงมาถึงหน้าอก ปลายเท้าทั้งสี่ และจากท้ายทอย หลัง จนถึงปลายหางมีสีขาว
ศุภลักษณ์, ทองแดงมีขนสีทองแดง นัยน์ตาสีเหลืองอำพัน อุ้งเท้ามีสีชมพู[11]
สิงหเสพย์, โสงหเสพยมีขนสีดำทั้งตัว แต่มีสีขาวอยู่บริเวณริมฝีปาก จมูกและรอบคอ นัยน์ตาสีเหลืองทอง

แมวร้ายให้โทษ

รูปชื่อลักษณะ
กอบเพลิงมีนิสัยชอบอยู่ลำพังในที่ลับตา เมื่อพบคนจะหลบหนี
ทุพลเพศมีสีขาวหม่น หางขอดหรือม้วน นัยน์ตาสีแดงเหมือนเลือด
ปีศาจมีรูปร่างผอม ผิวหนังเหี่ยวยาน หางขอด นัยน์ตาสีแดง เมื่อออกลูกก็จะกินลูกของตัวเอง
พรรณพยัคฆ์, ลายเสือมีขนหยาบสีมะกอกเขียวหรือมะกอกแดงคาดลายอย่างเสือ นัยน์ตาสีแดง ชอบร้องเสียงโหยหวน
หิณโทษเป็นแมวเพศเมียลักษณะสวยงาม ขนงาม แต่มักแท้งลูกในท้อง
เหน็บเสนียดเป็นแมวรูปพรรณพิกลพิการ โคนหางสีออกด่างและมักเอาหางซ่อนไว้ใต้ก้น และชอบกัดแมวตัวอื่นเสมอ

อื่น ๆ

เป็นแมวไทยที่พบในยุครัตนโกสินทร์ และไม่ปรากฏในสมุดข่อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่

รูปชื่อลักษณะ
กลีบบัว, สีกลีบบัวขนมีสีเทาอมชมพูล้วนทั้งตัว[12] คล้ายกลีบดอกบัวบูชาพระ อุ้งเท้ามีสีชมพู พบในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวน 6 ตัวทั่วประเทศ[13]
ขาวมณี, ขาวปลอดมีสีขาวปลอด มีตาสองสี เพิ่งถือกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์
ท็องกินีสเป็นแมวลูกผสมวิเชียรมาศกับเบอร์มีส ทำให้กลายเป็นแมวพันธุ์แท้ได้ หากนำท็องกินีสผสมกันก็จะออกลูกมาเป็นทั้งวิเชียรมาศและเบอร์มีส[14]
เบอร์มีส, ทองแดงเป็นแมวไทยที่ไม่ปรากฏในสมุดข่อย ผู้คนมักเรียกว่า "ทองแดง" และสับสนกับศุภลักษณ์ ต่างตรงที่เบอร์มีสมีตาสีทอง[15]
วิฬาร์กรุงเทพ
(เดิม มอคค่า)[16]
เป็นแมวไทยสายพันธุ์ใหม่ พบในปี พ.ศ. 2558[17] มีจำนวน 25 ตัวทั่วประเทศ[18]

ความเชื่อ

คนไทยมีความเชื่อเรื่องลูกกรอกแมว คือซากลูกแมวที่ตายในท้อง หากนำมาบูชาจะเกิดลาภผล นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องเพชรตาแมว คือลูกตาของแมวที่เป็นต้อหิน เมื่อแมวนั้นตาย ดวงตาที่เป็นต้อจะแข็งเป็นหิน หากใครครอบครองจะเกิดโชคลาภ คิดสิ่งใดหรือปรารถนาสิ่งใดก็จะสมประสงค์ดังหวัง[19]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย