แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม

ทฤษฎีทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์กัมพูชามาจากพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา และบันทึกราชทูตคังไถ่ราชฑูตชาวจีนในสมัยอาณาจักรอู๋ และบันทึกของ โจว ต้ากวน ราชฑูตจีนในสมัยราชวงศ์เหวียนที่เข้ามายังเมืองพระนครหลวงในสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 โดยพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาฉบับรบากษัตริย์ระบุว่าพระเจ้าแตงหวานหรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์ในบรรดาพระมหากษัตริย์ทั้ง 19 พระองค์ของจักรวรรดิเขมร แม้พระองค์จะทรงปกครองเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์กัมพูชา

แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอมนั้นเกิดจากการวิเคราะห์จากนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคน ซึ่งมองว่าพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ได้นำพงศาวดารของสยาม จามปา และจีน ที่มีการบันทึกช่วงเวลาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกัมพูชาบางเหตุการณ์ที่มีความสอดคล้องกันกับช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมาวิเคราะห์จนเกิดเป็นแนวคิดขึ้นมา

แนวคิดต่างๆ

การปฏิวัติและการสิ้นสุดของอิทธิพลของอินเดียในกัมพูชา

พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตรอซ็อกผแอม ( พระเจ้าแตงหวาน )

ตามพระราชพงศาวดารของกรุงกัมพูชาหลังจากการปฏิวัติในอาณาจักรพระนครเพื่อโค่นล้มอำนาจการปกครองของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มหิธรปุระ นำโดยตระซ็อกประแอม ผู้เป็นพระราชบุตรเขยใด้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้า ชัยวรมันที่ 9 พระสัสสุระด้วยหอกและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของอาณาจักรพระนครหลวง ตระซ็อกประแอม เป็นกษัตริย์องค์แรกของ ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม ซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์ของ ราชสกุลนโรดม[1][2]

จากบันทึกของ โจว ต้ากวน ราชทูตจีนที่เดินทางมายังเมืองพระนครหลวงในสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 บันทึกว่าในเมืองนี้มีทาสมากกว่านายทาส [3] ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่บรรดาทาสกล้าก่อกบฏเพื่อปลดปล่อยตัวเองจากชนชั้นปกครอง โดยกลุ่มทาสใด้ร่วมกันสังหารนายทาสทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1336 ได้ปรากฏพระนามของกษัตริย์พระองค์ใหม่คือ พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ หรือ พระเจ้าแตงหวาน หรือ ตระซ็อกประแอม[4][5] ในพระราชพงศาวดารของกัมพูชาระบุว่าพระเจ้าแตงหวานทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ที่ได้ครองราชสมบัติคือ พระบรมนิพพานบท และ พระสิทธานราชา

สงครามกับอาณาจักรอยุธยา

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

รัชสมัยของพระบรมนิพพานบท พระราชโอรสของพระเจ้าตรอซ็อกผแอม (พระเจ้าแตงหวาน) เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติแทนพระบิดาแล้วนั้นฝ่ายละโว้อโยธยาได้ส่งเจ้าใส้เทวดาเป็นราชทูตมาเพื่อเจริญไมตรี พระบรมนิพพานบทมิไว้วางพระทัยจึงให้ฆ่าฑูตนั้นเสียซึ่งเป็นการประพฤติผิดจารีตธรรมเนียมการฑูต และเป็นการไม่ไว้ด้วยพระราชไมตรีต่อกัน เหตุนี้ทำให้กองทัพละโว้อโยธยาได้ยกทัพมาล้อมพระนครไว้ได้ 1 ปีเศษแต่ยังตีชิงเอาเมืองมิได้พระบรมนิพพานบททรงปริวิตกเป็นอันมากเนื่องจากภายในกำแพงพระนครเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร ทรงตรอมพระทัยประชวรเสด็จทิวงคตในปี ค.ศ. 1346 ท่ามกลางข้าศึกที่ยังล้อมพระนครไว้ พระสิทธานราชา พระอนุชาจึงขึ้นสืบราชสมบัติรักษาพระนครทัพละโว้อโยธยาจึงยกทัพกลับ พระสิทธานราชาทรงครองราชสมบัติเพียง 1 ปีจึงสละราชสมบัติให้ พระบรมลำพงษ์ราชา ในปี ค.ศ. 1348

ปี ศ.ศ 1351 สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 หลังจากได้ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ได้มีพระบัญชาให้พระราเมศวรยกทัพเข้ามาตีเมืองพระนครหลวง ตรงกับรัชสมัยของพระบรมลำพงษ์ราชาธิราชของกัมพูชา แต่ทัพยังมาไม่ถึงเมืองพระนครความทราบถึงฝ่ายเขมร จึงมีบัญชาให้พระศรีสุริโยทัย อนุชาในพระบรมลำพงษ์ราชาเป็นแม่ทัพฝ่ายเขมร ยกทัพไปตีสกัดทัพฝ่ายอยุธยาที่ยกมาแตกพ่ายไปสิ้นคนทิศ พระบรมลำพงษ์ราชานึกนอนใจว่าศัตรูไม่อาจทำอะไรได้อีก จึงทรงบัญชาให้ถอนทัพ เมื่อทัพอยุธยายกทัพกลับมาอีกครั้งโดยขุนหลวงพะงั่ว หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1ในเวลาอันกระชั้นชิดฝ่ายเมืองพระนครจึงระดมเกณฑ์พลไม่ทันการ จึงทำการกวาดต้อนราษฎรนอกกำแพงพระนครให้เข้ามาไว้ในกำแพงเมือง ทัพจากอยุธยาได้เข้าล้อมเมืองพระนครหลวงเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือนเศษ ภายในกำแพงพระนครเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนัก พระบรมลำพงษ์ราชาจึงตัดสินพระทัยแต่งทัพออกสู้โดยให้พระศรีสุริโยทัยเป็นทัพหน้า สมเด็จพระบรมลำพงษ์ราชาเป็นทัพหลวง และพระศรีสุริโยวงศ์เป็นทัพหลัง ได้แต่งทัพออกสู้สุดกำลังแต่เนื่องจากการขาดแคลนอาหารเนื่องจากการถูกล้อมเป็นเวลานานไพร่พลเหล่าทหารจึงอ่อนแรงจนไม่อาจต้านทานกองกำลังฝ่ายอยุธยาใด้ พระบากษัตรแม่ทัพจากอยุธยาสามารถตีทัพหน้าของพระศรีสุริโยทัยได้และทลายประตูเมืองพระนคร ส่วนพระศรีสุริโยทัยทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ กองทัพฝ่ายอยุธยารุกเข้าตีทัพหลวงของพระบรมลำพงษ์ราชาและพระองค์ก็สวรรคตด้วย ฝ่ายพระศรีสุริโยวงศ์เห็นว่ามิอาจต้านทานรักษาพระนครไว้ได้แล้ว จึงสั่งเหล่าราชครูปุโรหิตมหาอำมาตย์พากันนำเครื่องราชย์กกุธภัณฑ์ อันมีพระขรรค์ราช พระแสงหอกลำแพงชัย ตีฝ่ากองทัพสยามหนีออกไปทางชายแดนล้านช้าง เมืองพระนครหลวงแตกในปี ค.ศ. 1352 บุตรของสมเด็จพระรามาธิบดีทั้ง 3 คือ บาสาต บาอัฐ และ กำปงพิสี ขึ้นเสวยราชย์สืบต่อกันในเมืองพระนครตั้งแต่ปี ค.ศ. 1352 ถึง ค.ศ. 1357 [6]

พระศรีสุริโยวงศ์อนุชาพระลำพงราชาซึ่งเสด็จหนีราชภัยออกไปได้เมื่อกรุงแตกได้รวบรวมทัพเขมรที่หนีพ่ายและยกทัพมาตีเมืองพระนคร โดยรวบรวมไพร่พลที่ชายแดนล้านช้างและยกทัพไปตีเอาเมืองพระนครหลวงได้คืนในปี ค.ศ. 1357 เจ้ากำปงพิสีทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ จากนั้นพระองค์ทรงขับไล่สยามออกจากพระนครหลวง และเมืองพิมายได้สำเร็จ พระบาทสุริโยวงศ์ทิวงคตในปี ค.ศ. 1363 พระบรมรามาพระอนุชาของพระองค์ ตามด้วยพระบาทศรีธรรมาโศกราชตามลำดับ

ต่อมาทัพอยุธยานำโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้ยกมาล้อมพระนครอีกครั้งได้ 7 เดือนกรุงจึงแตก ฝ่ายสยามได้ยกพระยาอินทราชาขึ้นครองเมืองพระนครหลวงโดยให้ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ภายหลังพระยาอินทราชาทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปัจจุบันกษัตริย์อยุทธยาจึงตั้งพระยาแกรกขึ้นครองเมืองพระนคร ฝ่ายเจ้าพระยาญาติโอรสพระองค์หนึ่งของพระศรีสุริโยวงศ์เสด็จหนีไปได้โดยหนีไปอาศัยอยู่ ณ บ้านตันหัก แลนายบ้านนั้นชื่อขุนพลาไชย พาพรรคพวกมาพิทักษ์รักษาพญาญาติไว้ ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพญาญาติแต่งกลอุบายเอาดาบใส่ในแง (ภาชนะใส่เหล้า) สุราผนึกปลอมเข้าไปกับของทั้งปวงเข้าไปถวายพระอินทราชาให้เปิดแงออก ผู้ซึ่งเอาของนั้นก็ชักเอาดาบในแงเข้าฟันพระอินทราชาจนสิ้นพระชนม์[7] จากนั้นได้รวบรวมไพร่พลแล้วทรงยกทัพมาตีเอาเมืองพระนครคืน เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้วทรงตัดสินพระทัยในการย้ายราชธานีไปที่เมืองบาสาณ ก่อนจะย้ายไปยังเมืองจตุมุข[8]

การสิ้นสุดของยุคอังกอร์

ในปี พ.ศ. 1974 เมื่อพระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) ใด้ครองราชสมบัติแล้วนั้นทรงดำริว่า เมืองพระนครนี้ถูกข้าศึกโจมตีหลายครั้งหลายคราเกิดความเสียหายเป็นอันมากจะบูรณะขึ้นมาก็ไม่งามแล้ว อีกทั้งอยู่ใกล้กับชายแดนอยุธยาจะยกทัพมาอีกเมื่อใหร่ก็ได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยย้ายราชธานีไปที่เมืองบาสาณ ต่อมาเมืองบาสานเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่จึงย้ายราชธานีอีกครั้งไปที่เมืองจตุมุข ถือเป็นการสิ้นสุดยุคอาณาจักรขอมอันยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆหลายพระองค์มีความพยายามจะย้ายราชธานีกลับไปที่พระนครหลวงอีกครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมืองพระนครจึงถูกทิ้งร้างนานหลายร้อยปี ปิดฉากอดีตยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิเขมร อารยธรรมฮินดูอันยิ่งใหญ่และอารยธรรมขอมโบราณเข้าสู่ ยุคหลังนครวัด[9][2]

ลำดับวงศ์ตระกูลของกษัตริย์กัมพูชาในสมัยปฏิวัติอังกอร์

พระเจ้าแตงหวาน
r.1336-1340
พระบรมนิพพานบท
r.1340-1346
พระสิทธานราชา
r.1346-1347
พระศรีสุริโยวงษ์
r.1357-1363
พระบรมลำพงษ์ราชา
r.1347-1352
พระศรีสุริโยวงษ์ 2พระบรมรามา
r.1363-1373
พระเจ้าธรรมโศรกราช
r.1373-1393
พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ)
1396–1466
r.1432-1463

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง