ธี่หยด

ภาพยนตร์ไทย ฉายเมื่อ พ.ศ. 2566

ธี่หยด ภาคที่ 1 (อังกฤษ: Death Whisperer; Tee Yod) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเหนือธรรมชาติ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2566 ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อ ธี่หยด...แว่วเสียงครวญคลั่ง ของกฤตานนท์[1] สร้างโดย เมเจอร์ จอยน์ ฟิล์ม และ บีอีซีเวิลด์ อันเป็นกิจการร่วมค้าของ บีอีซีเวิลด์ (ช่อง 3)​ และ เอ็ม สตูดิโอ กำกับโดย ทวีวัฒน์ วันทา นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, เดนิส เจลีลชา คัปปุน, รัตนวดี วงศ์ทอง, กาจบัณฑิต ใจดี, พีระกฤตย์ พชรบุณยเกียรติ, ณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวัน, อริศรา วงษ์ชาลี และ ปรเมศร์ น้อยอ่ำ[2][3] โดยเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถูกถ่ายทำเพื่อเข้าฉายในระบบไอแมกซ์ทั้งระบบ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2515 ที่เด็กสาวในหมู่บ้านห่างไกลในจังหวัดกาญจนบุรีเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา

ธี่หยด
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับทวีวัฒน์ วันทา
บทภาพยนตร์สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
ธรรมณันน์ จุฬาบริรักษ์
สร้างจากธี่หยด...แว่วเสียงครวญคลั่ง
โดย กฤตานนท์
อำนวยการสร้างณฤทธิ์ ยุวบูรณ์
นักแสดงนำ
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
เพลงประกอบธี่เดินทางกลับมา – กานต์ เดอะพาร์กินสัน
โปรดเถิดดวงใจทูล ทองใจ
บริษัทผู้สร้าง
เมเจอร์ จอยน์ ฟิล์ม และ บีอีซีเวิลด์ โดย
บีอีซีเวิลด์ และ เอ็ม สตูดิโอ
ผู้จัดจำหน่ายเอ็ม พิคเจอร์ส
วันฉาย26 ตุลาคม 2566 (2566-10-26)
ความยาว121 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน197.53 ล้านบาท
(กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเชียงใหม่)
500 ล้านบาท
(ทั่วประเทศ)
ต่อจากนี้ธี่หยด 2

ภาพยนตร์นั้นประสบความสำเร็จอย่างมากในการเข้าฉายในประเทศไทย ได้รับการประกาศสร้างเป็นจักรวาลภาพยนตร์ธี่หยด โดยจะเริ่มที่ ธี่หยด 2 ภาคต่อโดยตรงของภาพยนตร์ และภาคต่อแยกของตัวละครยักษ์ในอนาคต

เรื่องย่อ

เกิดเหตุการณ์สุดสะพรึงขวัญขึ้นใน พ.ศ. 2515 เด็กสาวในหมู่บ้านห่างไกลในจังหวัดกาญจนบุรีเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา เมื่อได้ยินเสียงชวนขนหัวลุก “ธี่หยด… ธี่หยด…” ในยามราตรี หลังจากยักษ์ปลดประจำการเขากลับมาช่วยงานที่บ้านตามคำสั่งของเฮียฮั่ง และบุญเย็น ผู้เป็นบิดามารดา ยักษ์มีน้อง ๆ อายุไล่เลี่ยกันห้าคน ยศ, ยอด, หยาด, แย้ม และยี่ ข่าวเด็กสาวตายอย่างน่าสยดสยองแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว หยาดสัมผัสได้ถึงภัยเร้นลับที่คืบคลานเข้ามาในหมู่บ้าน แย้มน้องสาวของเธอเริ่มมีอาการแปลก ๆ หลังจากเจอหญิงชุดดำลึกลับระหว่างกลับจากโรงเรียน อาการของแย้มทรุดลงเรื่อย ๆ พร้อมท่าทีประหลาดอย่างหาคำตอบไม่ได้[4]

งานสร้างและการเข้าฉาย

ภาพยนตร์เรื่อง ธี่หยด ได้ทำการบวงสรวงก่อนถ่ายทำที่สตูดิโอช่อง 3 หนองแขมเมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566 และได้เริ่มถ่ายทำคิวแรกเมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566 และถ่ายทำคิวสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2566 ก่อนที่ในวันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ทางผู้สร้างได้เผยแพร่ภาพโปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่อง ธี่หยด ออกมาให้ได้รับชม วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566 มีการปล่อยทีเซอร์ตัวแรกให้ได้รับชมพร้อมเปิดเผยนักแสดงอย่างเป็นทางการ[5][6]

ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และไอแมกซ์ คอร์ปอเรชัน ร่วมกับเมเจอร์ จอยน์ ฟิล์ม ร่วมแถลงถึงการนำภาพยนตร์ธี่หยดเข้าฉายในระบบไอแมกซ์อย่างเป็นทางการ โดยภาพยนตร์ถูกถ่ายทำด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ที่ได้รับการรับรองจากไอแมกซ์โดยเฉพาะ และได้รับการนำไปปรับปรุงคุณภาพในแล็บไอแมกซ์ ประเทศแคนาดา ก่อนนำส่งกลับมาเข้าฉายในประเทศไทย ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ และกรุงศรีไอแมกซ์ ทั้ง 7 สาขาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ[7]

ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่อง 3 และ M STUDIO (เอ็ม สตูดิโอ) จัดพิธีบวงสรวงและแถลงข่าวภาพยนตร์ธี่หยด ณ ลานด้านหน้าช่อง 3 ตึกมาลีนนท์ [8] ก่อนเปิดฉายรอบสื่อมวลชนในวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ณ โรงภาพยนตร์กรุงศรี ไอแมกซ์ เธียเตอร์ และโรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน[9] ทำรายได้เปิดตัวทั่วประเทศอยู่ที่ 39 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดของปี พ.ศ. 2566[10] ก่อนจะทำรายได้ถึง 100 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 วัน[11] และหลังจากเข้าฉายเพียง 5 วันก็ทำรายได้ไปแล้ว 300 ล้านบาท ถือเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้เร็วที่สุดในรอบปี[12][13] นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง ธี่หยด ยังเตรียมเข้าฉายในอีก 8 ประเทศในเอเชียได้แก่ เวียดนาม, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เมียนมา, มาเลเซีย, บรูไน และกัมพูชา ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ทั้งในระบบไอแมกซ์และระบบปกติ[14] ต่อมาภาพยนตร์เรื่อง ธี่หยด สามารถทำเงินติดหนึ่งในสิบอันดับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ หลังเข้าฉายได้ 22 วัน[15] และได้มีการจัดงานเลี้ยงปิดกล้องอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567

วันที่ 10 เมษายน 2567 เวลาเที่ยงคืน ธี่หยดลงสตรีมมิ่งทาง Netflix[16]

นักแสดง

นักแสดงรับบท
ณเดชน์ คูกิมิยะยักษ์
เดนิส เจลีลชา คัปปุนหยาด
รัตนวดี วงศ์ทองแย้ม
กาจบัณฑิต ใจดียศ
พีระกฤตย์ พชรบุณยเกียรติยอด
ณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวันยี่
อริศรา วงษ์ชาลีบุญเย็น (แม่)
ปรเมศร์ น้อยอ่ำเฮียฮั่ง (พ่อ)​
องอาจ เจียมเจริญพรกุลจ่าปพันธ์
พอเจตน์ แก่นเพชรลุงพุฒิ
มานิตา ชอบชื่นผีชุดดำ
จำปา แสนพรมยายช่วย

ภาคต่อ

ในการให้สัมภาษณ์กับรายการโหนกระแส ทวีวัฒน์ วันทา บอกว่าภาคต่อมีความเป็นไปได้มาก นอกจากนี้ตัวหนังเองก็ดูเหมือนจะสื่อความหมายเดียวกัน ฉากจบแสดงให้เห็นว่ายักษ์บุกเข้ามาทำลายศาลพระภูมิที่พังทลายและต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้หญิงชุดดำ ก่อนจะพูดปิดท้ายว่า “มึงกับกูต้องได้เจอกันอีกแน่ ๆ” พร้อมกับเห็นผู้หญิงชุดดำด้วยดวงตาทั้งสองข้างของเขาเอง[17]

ในวันที่ 31 มกราคม 2567 ณเดชน์ คูกิมิยะ ผู้รับบท ยักษ์ ได้ให้สัมภาษณ์ภายในงานอีเว้นท์ว่า ธี่หยด ภาค 2 ได้เตรียมเปิดกล้องถ่ายทำภายในเดือนมีนาคม โดยณเดชน์ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าเขาได้เข้าไปพูดคุยกับ แป๊ป ณฤทธิ์ ยุวบูรณ์ โปรดิวเซอร์และ คุ้ย ทวีวัฒน์ วันทา ผู้กำกับภาพยนตร์ เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วหลังจากที่ภาพยนตร์ภาคแรกประสบความสำเร็จว่าอยากจะทำภาคสองต่อ เพราะคิดว่าคนดู บางคนก็รู้สึกหมั่นไส้อีผีชุดดำ อยากจะรู้ว่าเมื่อไหร่จะได้ล้างแค้นและเป็นใครมาจากไหนเดี๋ยวภาคสองก็คงจะมีเล่าตรงนี้ และก็จะมีเข้าไปคุยกับผู้ใหญ่ ถึงดีเทลและเรื่องราวในภาคนี้ต่อ[18]

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีการบวงสรวงเอาฤกษ์ภาพยนต์ธี่หยด 2 ณ สตูดิโอช่อง 3 หนองแขม ก่อนเริ่มถ่ายทำจริงในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2567 โดยมีผู้จัด ผู้กำกับ ทีมงานและนักแสดงหลักจากภาคแรกนำโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, เดนิส เจลีลชา คัปปุน, รัตนวดี วงศ์ทอง, กาจบัณฑิต ใจดี และ พีระกฤตย์ พชรบุณยเกียรติ มาร่วมงานครั้งนี้[19]

ภาพยนตร์ ธี่หยด 2 มีกำหนดเข้าฉายวันที่ 10 ตุลาคม 2567

เพลงประกอบภาพยนตร์

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องธี่หยดมีชื่อว่า "ธี่เดินทางกลับมา" ประพันธ์คำร้องโดยณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ ส่วนทำนองและการเรียบเรียงเสียงประสานเป็นของปรเมศวร์ เหมือนสนิท โดยได้นิภัทร์ กำจรปรีชา มือกีตาร์และนักร้องนำของวงเดอะพาร์กินสัน เป็นผู้ถ่ายทอด[20] รวมถึงมีการนำบทเพลง โปรดเถิดดวงใจ ของทูล ทองใจ มาใช้ประกอบภาพยนตร์ด้วย เนื่องมาจากอิงตามนวนิยายที่เป็นโครงเรื่อง บุญเย็นผู้เป็นมารดานั้นเป็นแฟนคลับตัวยงของ ทูล ทองใจ และทุกเช้าเธอมักจะเปิดวิทยุเพื่อฟังบทเพลงของทูลโดยเฉพาะ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง