การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซเป็นชุดการเดินขบวนและการจลาจลในประเทศบูร์กินาฟาโซในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่กระจายไปหลายนครอย่างรวดเร็ว การก่อการกำเริบเริ่มขึ้นเป็นการสนองต่อความพยายามเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประธานาธิบดีแบลซ กงปาออเร (Blaise Compaoré) ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกและขยายวาระ 27 ปีของเขา หลังวันที่ 30 ตุลาคมซึ่งมีกูอาเม ลูเก (Kouamé Lougué) อดีตรัฐมนตรีกลาโหม เกี่ยวข้อง และการเผารัฐสภาและอาคารรัฐบาลอื่น ตลอดจนสำนักงานใหญ่ของพรรครัฐบาล คือ สมัชชาเพื่อประชาธิปไตยและความก้าวหน้า กงปาออเรยุบรัฐบาลและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก่อนหนีไปประเทศโกตดิวัวร์ด้วยการสนับสนุนของประธานาธิบดีอาลาซาน วาตารา (Alassane Ouattara) ในที่สุด

การก่อการกำเริบในบูร์กินาฟาโซ พ.ศ. 2557
ผู้ประท้วงหลายพันคนในกรุงวากาดูกู
วันที่28 ตุลาคม 2557[1] – 3 พฤศจิกายน 2557[2]
สถานที่บูร์กินาฟาโซ วากาดูกู, โบโบดิโอลาสโซ และ อัวฮีกัวยา, บูร์กินาฟาโซ
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ (การยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี)
เป้าหมายการปฏิรูปการเมือง โดยเป้าประสงค์หลักคือการยุติการดำรงตำแหน่งต่อของประธานาธิบดี
วิธีการ
ผล
  • กฎหมายยุติการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีถูกชะลอการพิจารณา
  • ยุบสภา
  • ประธานาธิบดีแบลซ กงปาออเรลาออกและลี้ภัยไปโกตดิวัวร์
  • ยาคูบา ไอแซก ซิดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีท่ามกลางข้อพิพาท
คู่ขัดแย้ง
  • พรรคฝ่ายค้าน[ไหน?]
    • กลุ่มการเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อการก้าวหน้า
    • สหภาพเพื่อความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง
    • สหภาพเพื่อการเกิดใหม่
    • พรรคเพื่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
    • พรรคเพื่อการกำเนิดใหม่ของประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
    • เลอ บาไล ไซโตเยน
  • รัฐบาลของแบลซ กงปาออเร
    • สภาประชาธิปไตยและความก้าวหน้า
    • สหพันธ์ประชาธิปไตยพัฒนาและการเคลื่อนไหวของประชาธิปไตยในแอฟริกา[ต้องการอ้างอิง]
  • กองกำลังของแบลซ กงปาออเร
    • กองทหารอารักขาประธานาธิบดี
  • ผู้นำ
    • เซปริริน ดิอาเบร
    • Bénéwendé Stanislas Sankara
    • Simon Compaoré
    • Pargui Emile Paré[3]
    • Roch Marc Christian Kaboré
    • Salif Diallo[ต้องการอ้างอิง]
    • นายพล Kouamé Lougué
      (ตั้งแต่ 30 ตุลาคม)
    • Saran Sereme
    • Laurent Bado[4][โปรดขยายความ]
    • Barry Tahirou[5][โปรดขยายความ]
    • Sams’K Le Jah[6]
    • Guy Hervé Kam[6]
  • พันโท Yacouba Isaac Zida
  • นายพล Honoré Nabéré Traoré
  • ความสูญเสีย
    เสียชีวิต 6 คน
    (อย่างน้อย 3 คนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม)
    (1 คนหลังทหารเข้ายึดอำนาจ)

    พลเอก ออนอเร ทราออเร (Honoré Traoré) ประกาศว่า รัฐบาลชั่วคราวจะบริหารประเทศจนมีการเลือกตั้งใน 12 เดือน หลังการประท้วงขนานใหญ่และปฏิเสธลาออกในทีแรก และความกดดันในประเทศที่เพิ่มขึ้น กงปาออเรลาออกจากการปกครอง 27 ปีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม และทราออเรยึดอำนาจเป็นประมุขแห่งรัฐชั่วคราว แนวร่วมพรรคฝ่ายค้านไม่ออกชื่อปฏิเสธการยึดอำนาจของทหาร มีการเรียกประท้วงเพิ่มในเช้าวันที่ 2 พฤศจิกายน แต่เป็นการชุมนุมขนาดเล็ก วันต่อมา สหภาพแอฟริกาให้เวลาบูร์กินาฟาโซยุติการปกครองด้วยทหารภายใน 2 สัปดาห์ และจัดให้มีการเลือกตั้ง

    อ้างอิง

    🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง