การคุกคามทางเพศ

การคุกคามทางเพศ เป็นการคุกคามรูปแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งกายและวาจา[1] การคุกคามทางเพศนั้นสามารถเกิดในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน ที่บ้าน โรงเรียน และอื่น ๆ เหยื่อของการคุกคามทางเพศนั้นสามารถเป็นเพศใดก็ได้[2]

ภาพ ที่ทาเวิร์น (At the Tavern) โดย Johann Michael Neder ค.ศ. 1833 ในพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เยอรมันนี

ในบริบททางกฎหมายสมัยใหม่นั้นส่วนใหญ่แล้วการล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ว่าคำจำกัดความทางกฎหมายของการล่วงละเมิดนั้นไม่ได้นับร่วม การล้อ การแหย่ การพูดโดยไม่คิด[3] การคุกคามทางเพศในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายและถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยสังคมในที่ทำงานนั้นจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจต่อผู้ถูกกระทำจนนำไปสู่การออกจากตำแหน่งหรือลาออก อย่างไรก็ตามความเข้าใจทางกฎหมายและสังคมเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม

การล่วงละเมิดทางเพศโดยนายจ้างเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเลือกปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย องค์กรหลายแห่งเริ่มมีการตั้งเป้าในการป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและการปกป้องพนักงานจากการล่วงละเมิดทางเพศ

สถานการณ์

การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์และในสถานที่ต่าง ๆ เช่นโรงงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงละคร และสถานบันเทิง[4][5][6][7][8][9][10] ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้กระทำมักมีอำนาจมากกว่าเหยี่อ (เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต่างกัน การศึกษา ตำแหน่งและอายุ) ความสัมพันธ์ของการล่วงละเมิดมีการระบุไว้หลายประการ:

  • ผู้กระทำผิดเป็นใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ญาติ ครูหรืออาจารย์ เพื่อนหรือคนแปลกหน้า
  • การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน[11] วิทยาลัย สถานที่ทำงาน ที่สาธารณะและที่อื่น ๆ
  • การล่วงละเมิดเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่
  • ผู้กระทำผิดอาจไม่รู้ว่าพฤติกรรมของตนเป็นการคุกคามหรือก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[2]
  • การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้แม้บุคคลเป้าหมายไม่ทราบหรือเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
  • เกิดผลกระทบต่อเหยื่อทำให้เกิดความเครียด ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ และความผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ
  • เหยื่อและผู้กระทำผิดเป็นเพศใดก็ได้
  • ผู้กระทำผิดสามารถเป็นเพศเดียวกันก็ได้
  • อาจเกิดจากความเข้าในผิดของผู้กระทำความผิดและเหยื่อ ซึ่งความเข้าใจผิดนี้อาจอาจสมเหตุสมผลหรือไม่สมเหตุสมผล

นอกจากนี้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมรวมทำให้มีการล่วงละเมิดทางเพศบนโลกออนไลน์มากขึ้น เช่นในวิดีโอเกมหรือในห้องสนทนา

จากสถิติการวิจัย PEW ค.ศ. 2014 เกี่ยวกับการล่วงละเมิดบนโลกออนไลน์ ผู้หญิง 25% และผู้ชาย 13% ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปีเคยถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์[12]

พฤติกรรม

การคุกคามทางเพศที่เหยื่อไม่ต้องการ

พฤติกรรมของผู้คุกคามนั้นมีหลายรูปแบบและในกรณีส่วนใหญ่ (แม้ว่าจะไม่ใช่ในทุกกรณี) เหยื่อจะอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาประสบมาได้ยาก นักเขียนนาม มาร์ธา เลงกาแลน (Martha Langelan) อธิบายการคุกคามสี่รูปแบบ:[13]

  • คุกคามแบบล่า (A predatory harasser) เป็นพวกที่รู้สึกดีกับการที่ทำให้เหยื่อรู้สึกอับอาย ในบางกรณีผู้คุกคามประเภทนี้มักมีการขู่กรรโชก บางครั้งจะทำการคุกคามเพื่อดูว่าเหยื่อจะตอบสนองอย่างไรหากเหยื่อไม่มีท่าทีต่อต้านก็อาจกลายเป็นเป้าในการข่มขืนได้
  • คุกคามแบบมีอำนาจเหนือกว่า (A dominance harasser) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ผู้คุกคามทำเพื่อเพิ่มอีโก้ตัวเอง
  • คุกคามแบบแสดงความเป็นใหญ่ (A strategic or territorial harassers) ผู้ที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษในที่ทำงาน เช่นผู้ชายคนหนึ่งล่วงละเมิดพนักงานหญิงในอาชีพที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
  • คุกคามบนท้องถนน (A street harasser) การล่วงละเมิดทางเพศประเภทหนึ่งมักเกิดจากคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ การคุกคามแบบนี้ร่วมถึงการใช้วาจาและอวัจนภาษาด้วย การคุกคามทางคำพูดเช่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพเป็นต้น[14]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง