การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2017

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2017 จัดขึ้นรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2017 และรอบที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2017 เพื่อเลือกตั้งทั้ง 577 ที่นั่งของสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส
ค.ศ. 2017

← ค.ศ. 201211 มิถุนายน 2017 (รอบที่ 1)
18 มิถุนายน 2017 (รอบที่ 2)
ค.ศ. 2022 →
← สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 14
สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 15 →

ทั้ง 577 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ
ต้องการ 289 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน47,293,103 (รอบที่ 1)
47,293,103 (รอบที่ 2)
ผู้ใช้สิทธิรอบที่ 1 : 48.7% (ลดลง 8.5 จุด)
รอบที่ 2 : 42.6% (ลดลง 12.8 จุด)
 First partySecond party
 
ผู้นำเอดัวร์ ฟีลิป[b]ฟร็องซัว บาโรวง
พรรคลาเรปูว์ลีก็องมาร์ช[a]เลเรปูว์บลีแก็ง
พันธมิตรเสียงข้างมากของประธานาธิบดี[d]สหภาพขวาและกลาง
ที่นั่งก่อนหน้าพรรคใหม่199
ที่นั่งที่ชนะ308112
ที่นั่งเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 308ลดลง 82
คะแนนเสียง6,391,269 (รอบที่ 1)
7,826,245 (รอบที่ 2)
3,573,427 (รอบที่ 1)
4,040,203 (รอบที่ 2)
%28.22% (รอบที่ 1)
43.06% (รอบที่ 2)
15.77% (รอบที่ 1)
22.23% (รอบที่ 2)

 Third partyFourth party
 
ผู้นำฟร็องซัว ไบรูแบร์นาร์ กาซเนิฟว์
พรรคพรรคขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยม
พันธมิตรเสียงข้างมากของประธานาธิบดี[e]
ที่นั่งก่อนหน้า2280
ที่นั่งที่ชนะ4230
ที่นั่งเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 40ลดลง 250
คะแนนเสียง932,227 (รอบที่ 1)
1,100,656 (รอบที่ 2)
1,685,677 (รอบที่ 1)
1,032,842 (รอบที่ 2)
%4.12% (รอบที่ 1)
6.06% (รอบที่ 2)
7.44% (รอบที่ 1)
5.68% (รอบที่ 2)

แผนที่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ได้รับเลือกตั้งตามเขตเลือกตั้ง

องศ์ประกอบของสมัชชาแห่งชาติหลังการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เอดัวร์ ฟีลิป
ลาเรปูว์ลีก็องมาร์ช

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เอดัวร์ ฟีลิป
ลาเรปูว์ลีก็องมาร์ช

การเลือกตั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ได้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของปีเดียวกัน

พรรคของมาครง พรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช (LREM) ได้เป็นเสียงข้างมากด้วยชนะ 308 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ เพิ่มด้วย พรรคขบวนการประชาธิปไตย (MoDem) พรรคที่ร่วมพันธมิตรเสียงข้างมากของประธานาธิบดี ได้ชนะ 42 ที่นั่ง ทำให้พันธมิตรกลายเป็นฝ่ายข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ

พรรคสังคมนิยม (PS) ซึ้งเคยเป็นฝ่ายข้างมากภายใต้ผู้นำประธานาธิบดี ฟร็องซัว ออล็องด์ และในชุดที่ 14 ของสภานิติบัญญัติ ได้ชนะเพียงแค่ 30 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่พรรคเลเรปูว์บลีแก็ง (LR) พรรคฝ่ายค้านหลักตั้งแต่ค.ศ. 2012 และแม้จะเสียที่นั่งไป 82 ที่นั่ง เมื่อเทียบกับที่นั่งของพรรคเมื่อชุดที่ 14 ของสภานิติบัญญัติสิ้นสุดลง ก็กลายเป็นพรรคอันดับสองในสมัชชาแห่งชาติด้วยการได้ชนะ 112 ที่นั่ง

นอกจากนั้น พรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ (LFI) นำโดยฌ็อง-ลุค เมลองชง ซึ้งได้เป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ได้ชนะ 17 ที่นั่ง มากกว่าการเลือกตั้งในค.ศ. 2012 เมื่อฌ็อง-ลุค เมลองชง ยังเป็นหัวหน้าพรรคซ้าย (PG) ซึ้งตอนนั้นเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) แต่ในการเลือกตั้งนี้ พรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซตัดสิ้นใจไม่เข้าร่วมพันธมิตรใดและเสนอผู้สมัครด้วยพรรคเดียว แล้วสำหรับพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (FN) ซึ้งนำโดยหัวหน้าพรรค มารีน เลอ แปน ซึ้งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งที่ผ่านมาด้วย ได้ชนะ 8 ที่นั่ง

การลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในทั้งสองรอบอยู่ในระดับต่ำ โดยมีอัตราผู้ไม่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นสูงสดในรอบที่สอง (57.3%) ซึ้งเป็นการงดออกเสียงเป็นประวัติการณ์สำหรับการเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติในฝรั่งเศส[1]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง