ความสัมพันธ์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา–ปาเลสไตน์

ความสัมพันธทวิภาคีทางการทูต

ความสัมพันธ์บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา–ปาเลสไตน์ เป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากับรัฐปาเลสไตน์ ทั้งสองประเทศให้การรับรองในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1992[1] ปาเลสไตน์มีสถานทูตที่ซาราเยโว ส่วนบอสเนียไม่มีผู้แทนทางการทูตในปาเลสไตน์ แต่สถานทูตของตนในไคโรได้รับการรับรองจากฝั่งปาเลสไตน์ ในอดีต ทั้งสองประเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน

ความสัมพันธ์บอสเนีย-ปาเลสไตน์
Map indicating location of Bosnia and Herzegovina and Palestine

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

ปาเลสไตน์

ประวัติ

ในช่วงสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 อาสาสมัครบอสเนียสู้รบในฝั่งอาหรับ[2]

ใน ค.ศ. 1999 หลังมีรายงานเจตนารมณ์ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในการเปิดสถานทูตในเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาปฏิเสธสิ่งนี้และยืนยันว่าสถานทูตของตนจะอยู่ที่เทลอาวีฟ ประธานาธิบดียังเน้นย้ำว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับอิสราเอลจะไม่ขัดกับกระบวนการสันติภาพอาหรับ–อิสราเอล และจะส่งเสริมความพยายามในการบรรลุข้อตกลงโดยสันติในตะวันออกกลาง[3]

ณ วันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2023 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นหนึ่งใน 121 ประเทศที่ลงคะแนนยอมรับมติสมัชชาสหประชาชาติเรียกร้องให้หยุดยิงทันทีในการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับฉนวนกาซา[4]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร