ตะวันออกกลาง

ภูมิภาคระหว่างเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ไม่รวมคอเคซัสใต้) และประเทศอียิปต์

29°N 41°E / 29°N 41°E / 29; 41

ตะวันออกกลาง
Middle East
พื้นที่7,207,575 ตารางกิโลเมตร (2,782,860 ตารางไมล์)
ประชากร371 ล้านคน (2010)[1]
ประเทศ
รัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ (1)
โดยพฤตินัย (1)
ดินแดน
พื้นที่กันชนของสหประชาชาติ (2)
  • UNBZC
  • UNDOF Zone
ภาษา
เขตเวลาUTC+02:00, UTC+03:00, UTC+03:30, UTC+04:00, UTC+04:30
เมืองใหญ่
แผนที่ตะวันออกกลางที่ตั้งอยู่ระหว่างแอฟริกาเหนือ ยุโรปใต้ เอเชียกลาง และเอเชียใต้
แผนที่ตะวันออกกลางตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน

ตะวันออกกลาง (อังกฤษ: Middle east; อาหรับ: الشرق الأوسط, อักษรโรมัน: ash-Sharq al-Awsat) เป็นภูมิภาคทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ประกอบด้วยคาบสมุทรอาหรับ เอเชียน้อย (ตุรกีฝั่งทวีปเอเชีย ยกเว้นจังหวัดฮาทัย), เทรซตะวันออก (ตุรกีฝั่งยุโรป), อียิปต์, อิหร่านกับลิแวนต์ (รวมอัชชามและไซปรัส), เมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) และหมู่เกาะโซโคตรา (ส่วนหนึ่งของประเทศเยเมน) ศัพท์นี้เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อแทนที่คำว่าตะวันออกใกล้ (ตรงข้ามกับตะวันออกไกล) ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ตะวันออกกลาง" ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป และบางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ[2] หรือมีความเป็นยุโรปเป็นศูนย์กลางเกินไป[3] ภูมิภาคนี้ได้รวมดินแดนส่วนใหญ่รวมอยู่ในคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของเอเชียตะวันตก (รวมอิหร่าน) แต่ไม่รวมคอเคซัสใต้ และรวมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ (ไม่ใช่เพียงภูมิภาคไซนาย) และตุรกี (ไม่ใช่เฉพาะส่วนเทรซตะวันออก)

ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ (13 จาก 18 ประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคนี้คืออียิปต์ ตุรกี และอิหร่าน ส่วนประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในตะวันออกกลาง ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสืบไปได้ถึงสมัยโบราณ โดยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับมานับพันปี[4][5][6] ศาสนาหลักบางส่วนมีต้นกำเนิดในภูมิภาคนี้ เช่น ศาสนายูดาห์, คริสต์ และอิสลาม[7] ชาวอาหรับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักในภูมิภาคนี้[8] รองลงมาคือเติร์ก, เปอร์เซีย, เคิร์ด, อาเซอร์ไบจาน, คอปต์, ยิว, อีสซีเรีย, อิรักเชื้อสายเติร์กเมน, ยาซิดี และไซปรัสเชื้อสายกรีก

ตะวันออกกลางโดยทั่วไปมีสภาพภูมิอากาศที่ร้อน แห้งแล้ง โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรอาหรับและอียิปต์ แม่น้ำสายหลักที่เป็นชลประทานเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมมีจำกัด เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ในอียิปต์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสในเมโสโปเตเมีย และแอ่งของแม่น้ำจอร์แดนที่กระจายไปทั่วลิแวนต์ส่วนใหญ่ ภูมิภาคเหล่านี้มีชื่อเรียกแบบรวมว่า เขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ และรวมเข้าในสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันมานานว่าเป็นอู่อารยธรรม (ศัพท์ที่ปัจจุบันใช้ในหลายภูมิภาคของโลก) ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งลิแวนต์และตุรกีส่วนใหญ่มีสภาพภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียนที่ค่อนข้างอบอุ่น ซึ่งมีฤดูร้อนที่ที่แห้งแล้ง และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและชื้นแฉะ ประเทศส่วนใหญ่ที่มีชายแดนติดกับอ่าวเปอร์เซียมีปิโตรเลียมสำรองจำนวนมาก โดยที่บรรดาพระมหากษัตริย์ในคาบสมุทรอาหรับได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกน้ำมัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งและการพึ่งพาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้ตะวันออกกลางเป็นทั้งภูมิภาคที่มีส่วนต่อการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างมาก และคาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรง

ศัพทมูลวิทยา

คำว่า "ตะวันออกกลาง" (Middle East) ในภาษาอังกฤษ น่าจะมีต้นกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1850 ที่สำนักงานอินเดียของบริติช[9] อย่างไรก็ตาม ศัพท์กลายเป็นรู้จักอย่างแพร่หลายเมื่อนักยุทธศาสตร์ทางเรืออเมริกัน Alfred Thayer Mahan ใช้คำนี้ใน ค.ศ. 1902[10] เพื่อ "กำหนดพื้นที่ระหว่างอาระเบียกับอินเดีย"[11][12] ในช่วงที่จักรวรรดิบริติชและรัสเซียกำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในเอเชียกลาง การแข่งขันนี้จะกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ เดอะเกรตเกม Mahan ไม่เพียงตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังตระหนักถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางของบริเวณนี้ด้วย[13][14] เขาระบุพื้นที่รอบอ่าวเปอร์เซียเป็นตะวันออกลาง และกล่าวว่าเป็นหลัง หลังจากคลองสุเอซของอียิปต์ บริเวณนี้เป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการควบคุมสำหรับอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียรุกคืบเข้ามายังบริติชราช[15]

ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องปกติที่จะอ้างถึงพื้นที่ที่มีศูนย์กลางรอบตุรกีและชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็น "ตะวันออกใกล้" ส่วน "ตะวันออกไกล" มีจุดศูนย์กลางที่จีน[16] จากนั้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ทางอังกฤษได้จัดตั้งกองบัญชาการตะวันออกกลางที่มีศูนย์บัญชาการในไคโรสำหรับกองทัพในภูมิภาคนี้ หลังจากนั้น ศัพท์ "ตะวันออกกลาง" ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐ โดยมีการจัดตั้งสถาบันตะวันออกกลางที่วอชิงตัน ดี.ซี. ใน ค.ศ. 1946 และในการใช้อื่น ๆ จำนวนมาก[17]

ในขณะที่ศัพท์ที่ไม่ได้อิงยุโรปเป็นศูนย์กลางอย่าง "เอเชียตะวันตกเฉียงใต้" หรือ "Swasia" มีการใช้งานอย่างประปราย การรวมประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาไว้ในคำนิยาม ทำให้มีการตั้งคำถามถึงประโยชน์ของการใช้งานคำดังกล่าว[18]

การใช้งานและข้อวิจารณ์

ภาพยนตร์สหรัฐเกี่ยวกับตะวันออกกลางใน ค.ศ. 1957

รายละเอียดคำว่า กลาง (Middle) ยังนำไปสู่ความสับสนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความ โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำว่า "ตะวันออกใกล้" ในภาษาอังกฤษสื่อถึงบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมัน ส่วน "ตะวันออกกลาง" สื่อถึงคอเคซัส, เปอร์เซีย และดินแดนอาหรับ[19] และบางครั้งอาจรวมอัฟกานิสถาน, อินเดีย และประเทศอื่น ๆ[20] ในทางตรงกันข้าม ศัพท์ "ตะวันออกไกล" สื่อถึงประเทศในเอเชียตะวันออก (เช่น จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี)[21][22]

การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมานในปี ค.ศ. 1918 จึงไม่มีการใช้คำว่า "ตะวันออกใกล้" กันอีก ในขณะที่คำว่า "ตะวันออกกลาง" นั้น ก็นำไปใช้หมายถึงประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกอาหรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่าตะวันออกใกล้ก็ยังใช้กันอยู่ในหมู่นักวิชาการบางสาขาที่เคร่งครัดหลักการ เช่น ด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณ ซึ่งยังคงอธิบายพื้นที่ที่ควรระบุเป็นตะวันออกกลางว่าเป็น "ตะวันออกใกล้" ทั้งนี้เนื่องจากนักวิชาการเหล่านั้นจะไม่ใช้คำว่า "ตะวันออกกลาง" ในสาขาวิชาของตน[ต้องการอ้างอิง]

Louay Khraish นักข่าว และ ฮะซัน ฮะนะฟี นักประวัติศาสตร์ วิจารณ์การใช้คำว่า ตะวันออกกลาง ว่าเป็นศัพท์ที่มีความเป็นยุโรปเป็นศุนย์กลางและอาณานิคม[2][3][23]

ถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน

คำที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ยังมีอีก เช่น "เอเชียตะวันตก (West Asia) " ซึ่งเป็นคำจำกัดความของตะวันออกกลางที่ใช้กันอยู่ในอินเดียทั้งในระดับราชการและสื่อต่าง ๆ "โลกอาหรับ (Arab world) " ซึ่งใช้กันในบางเรื่องนั้นก็ไม่รวมถึงประชาชนที่ไม่ใช่เชื้อสายอาหรับที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอาไว้ด้วย และ "ตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ (Middle East-North Africa หรือ MENA) " ซึ่งบางครั้งใช้เพื่อรวมเขตพื้นที่จากโมร็อกโกไปจนถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นคำที่นักการทูตของกลุ่มจี-8 ใช้ในการกล่าวถึง "ดินแดนตะวันออกกลางที่ยิ่งใหญ่ (Greater Middle East) " ซึ่งรวมประเทศต่าง ๆ ทั้ง ประเทศในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) ซึ่งรวมเอาบรรดาชาติสมาชิกจากแอฟริกาของกลุ่มทั้งหมดไว้ด้วย

ประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง

ตะวันออกกลาง ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ และอารยะธรรมต่าง ๆ ของโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และปัจจุบันนี้ก็ยังคงความเป็นภูมิภาคที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดของโลก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบอยู่ใต้ดินจำนวนมหาศาล และยังเป็นแผ่นดินเกิดและศูนย์กลางทางจิตวิญญานของศาสนาสำคัญหลายศาสนา เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและอิสราเอลเกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อมายาวนานอีกด้วย

ภูมิศาสตร์

ดู ภูมิศาสตร์เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และภูมิศาสตร์เอเชีย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง