คนยิงธนูเอ*

หลุมดำมวลยวดยิ่งที่ใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก
(เปลี่ยนทางจาก ซาจิทาเรียส A*)

คนยิงธนูเอ*[4] (อังกฤษ: Sagittarius A*) เป็นหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ตามเวลาในประเทศไทย เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพหลุมดำบริเวณใจกลางทางช้างเผือกที่มีชื่อว่า คนยิงธนูเอ* ได้เป็นครั้งแรก เป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก และยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์[5]

คนยิงธนูเอ*
หลุมดำใจกลางทางช้างเผือก
ภาพถ่ายหลุมดำคนยิงธนูเอ* ที่เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาวกลุ่มดาวคนยิงธนู
ไรต์แอสเซนชัน17h 45m 40.0409s
เดคลิเนชัน−29° 0′ 28.118″[1]
มาตรดาราศาสตร์
ระยะทาง26,673 ± 42×106[2] ly
รายละเอียด
มวล(4.154±0.014) ×106[3] M
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata

คนยิงธนูเอ* เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด อยู่ห่างจากโลกประมาณ 27,000 ปีแสง[6] มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 ล้านกิโลเมตร เล็กกว่าหลุมดำเอ็ม87* ซึ่งอยู่ใจกลางดาราจักรเมซีเย 87 1,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คน ต้องร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 6 เทระไบต์ เป็นเวลาหลายปีกว่าจะได้ภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำคนยิงธนูเอ*[7]

การศึกษาและการค้นพบ

ใน ค.ศ. 1933 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนาจากทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนูซึ่งอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก นักดาราศาสตร์จึงได้เรียกชื่อของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนานี้ตามชื่อของกลุ่มดาวคนยิงธนูว่า คนยิงธนูเอ* ต่อมานักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่า ดาวฤกษ์และกลุ่มแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้มีการโคจรด้วยความเร็วที่สูงมาก จึงเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่าวัตถุปริศนาที่มองไม่เห็นนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงที่มหาศาลมาก ๆ ในปริมาตรที่น้อยมาก ๆ สอดคล้องกับคุณสมบัติของหลุมดำมวลยิ่งยวด การค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้การมีอยู่ของหลุมดำใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกนี้ทำให้นักดาราศาสตร์สองคนคือ ไรน์ฮาร์ท เก็นท์เซิล และแอนเดรีย เอ็ม. เกซ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 2020 ร่วมกับรอเจอร์ เพ็นโรส นอกจากการค้นพบนี้เราก็ไม่เคยมีการค้นพบอื่นที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของหลุมดำใจกลางทางช้างเผือกนี้อีกเลย จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* สำเร็จเป็นครั้งแรก[8]

การโคจรของดาวฤกษ์รอบหลุมดำคนยิงธนูเอ*

ในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากกว่าการถ่ายภาพหลุมดำเอ็ม87* ที่ถ่ายได้ครั้งก่อน เนื่องจากกลุ่มแก๊สที่โคจรรอบหลุมดำคนยิงธนูเอ* ใชเวลาในการโคจรเร็วกว่ากลุ่มแก๊สที่โคจรรอบหลุมดำเอ็ม87* โดยใช้เวลาโคจรครบรอบไม่กี่วินาที ซึ่งหมายความว่าความสว่างและรูปแบบของแก๊สรอบ ๆ หลุมดำคนยิงธนูเอ* เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ทีมกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์กำลังสังเกตอยู่ โดยนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าความยากในการถ่ายภาพหลุมดำคนยิงธนูเอ* นั้นยากพอ ๆ กับการเอาโดนัทไปวางไว้บนดวงจันทร์แล้วสังเกตโดนัทจากพื้นโลก[9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร