ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ส่งผลให้เกิดการวางอาวุธโดยไร้เงื่อนไขของแวร์มัคท์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามที่กรุงเบอร์ลินในเวลา 21.20 น. ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างผู้แทนสามเหล่าทัพของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (OKW), ผู้แทนกำลังรบต่างแดนสัมพันธมิตร และผู้แทนกองบัญชาการสูงสุดกองทัพแดง โดยมีสหรัฐและฝรั่งเศสเป็นสักขีพยาน ตราสารยอมจำนนดังกล่าวมีสามภาษา แต่เฉพาะฉบับภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียที่มีอำนาจใช้บังคับ

ตราสารยอมจำนนฉบับที่ลงนามในแรมส์ ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ไม่สมบูรณ์

วันที่ 8 พฤษภาคม ถือเป็นวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรปในชาติตะวันตก แต่โซเวียตเลือกเฉลิมฉลองในวันที่ 9 พฤษภาคม วันดังกล่าวในเยอรมนีเป็นที่รู้จักกันว่าวันแห่งการยอมจำนน[1]

เบื้องหลัง

การร่างข้อความในตราสารยอมจำนนเริ่มขึ้นโดยผู้แทนสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักรที่คณะกรรมการที่ปรึกษายุโรป (EAC) ตลอดปี ค.ศ. 1944 และเมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเดียวกัน คณะกรรมการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของ EAC ได้เสนอให้การยอมจำนนของเยอรมนีควรจะบันทึกในเอกสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพียงฉบับเดียว[2]

คณะกรรมการเสนอต่อไปว่าตราสารยอมจำนนนั้นควรจะได้รับการลงนามโดยผู้แทนจากกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ การพิจารณาเบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดตำนานแทงข้างหลังซ้ำอีก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก่อตัวขึ้นในเยอรมนีหลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นับตั้งแต่การยอมจำนนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งได้รับการลงนามโดยผู้แทนของรัฐบาลเยอรมัน และวงการทหารในภายหลังอ้างว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบในความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น

เงื่อนไขการยอมจำนนของเยอรมนีนั้นได้รับการอภิปรายเป็นครั้งแรกที่การประชุม EAC ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1944

วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1945 EAC ได้จัดการประชุมร่วมกับผู้แทนเชโกสโลวาเกีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ ยูโกสลาเวีย และกรีซเกี่ยวกับประเด็นของตราสารยอมจำนนนี้ รัฐบาลเช็กเสนอว่าตราสารควรจะมีข้อความซึ่งต่อต้านการได้มาซึ่งดินแดนด้วยกำลัง และกล่าวถึงความรับผิดชอบของรัฐเยอรมนีต่อสงคราม รัฐบาลเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ด้วยความกังวลถึงสถานะของตนในฐานะชาติฝ่ายสัมพันธมิตรเล็ก ๆ แนะนำว่า ตราสารยอมจำนนควรจะกล่าวยอมรับถึงการควบคุมเยอรมนีในส่วนของชาติขนาดเล็กโดยเฉพาะ รัฐบาลนอร์เวย์ต้องการให้ตราสารมีการอ้างอิงโดยเฉพาะถึงการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันในนอร์เวย์ รัฐบาลยูโกสลาเวียประกาศเจตนาที่จะระงับการแนะนำใด ๆ จนกว่าจะมีความตกลงจากรัฐบาลสมานฉันท์ระหว่างโจซิป โบรซ ติโต และนายกรัฐมนตรีอีวาน รัฐบาลกรีกเสนอให้รวมข้อเรียกร้องให้กองทัพเยอรมันที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ในดินแดนกรีก ณ ขณะที่มีการยอมจำนน ให้ยอมจำนนยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่รัฐบาลกรีก[3]

พิธีการยอมจำนน

การยอมจำนนในแรมส์

นายพลอัลเฟรด โยเดิลลงนามยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขในเมืองแรมส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ตราสารยอมจำนนฉบับแรกถูกลงนามที่แรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 พิธีลงนามมีขึ้นในอาคารเรียนอิฐแดงซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการสูงสุดกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตร (SHAEF)[4] และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945[5]

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของแวร์มัคท์ถูกลงนามโดยพลเอกอาวุโสอัลเฟรด โยเดิล ในนามของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์และในนามผู้แทนของประธานาธิบดีเยอรมนีคนใหม่ จอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ ส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกถูกลงนามโดย พลโทวัลเตอร์ เบเดล สมิธ ส่วนของสหภาพโซเวียตลงนามโดยพลตรีอีวาน ซูสโลปารอฟ

การยอมจำนนในเบอร์ลิน

ไคเทิลลงนามในตราสารยอมจำนนกองทัพเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 1945

เนื่องจากพิธีการในแรมส์จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกโดยไม่ได้ตกลงกับกองบัญชาการทหารโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้[6] ยิ่งไปกว่านี้ สหภาพโซเวียตยังพบอีกว่าตราสารซึ่งลงนามในแรมส์มีข้อความแตกต่างไปจากร่างที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งได้รับการรับรองโดยประเทศยิ่งใหญ่ทั้งสาม[6] ที่สำคัญ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต[6]

ฝ่ายโซเวียตแย้งว่าการยอมจำนนนั้นควรจะจัดขึ้นอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และไม่ควรมีพิธีในดินแดนของผู้ยึดครอง แต่ในสถานที่ซึ่งการรุกรานของเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นมา: ในเบอร์ลิน[6] ฝ่ายโซเวียตยืนกรานว่าการยอมจำนนในลงนามในแรมส์นั้นควรจะถูกพิจารณาว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน"[7] ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน[7] ตราสารยอมจำนนทางทหารได้รับการลงนามไม่นานก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 8 พฤษภาคม[8] ณ ที่ทำการทหารสารบรรณโซเวียตในเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เยอรมนี-รัสเซียเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง