ทางเดินอาหารทะลุ

ทางเดินอาหารทะลุ คือภาวะที่ที่มีรูรั่วเกิดขึ้นที่ผนังของทางเดินอาหาร ซึ่งนับรวมตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่[1] อาการสำคัญคืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงและกดเจ็บ หากเกิดการทะลุที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน ในขณะที่หากเกิดการทะลุที่ลำไส้ใหญ่อาการอาจค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า[2] ผู้ป่วยมักมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ไข้ การรู้สึกตัวผิดปกติ เป็นต้น

ทางเดินอาหารทะลุ
Gastrointestinal perforation
ชื่ออื่นการแตกของระบบทางเดินอาหาร, Ruptured bowel[1]
ลมรั่วใต้กะบังลมทางด้านขวาจากลำไส้ทะลุ
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการปวดท้อง, กดเจ็บ[2]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, ฝี[2]
การตั้งต้นฉับพลัน หรือ เพิ่มขึ้นทีละน้อย[2]
สาเหตุการบาดเจ็บรุนแรง, ภายหลังการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, ลำไส้อุดตัน, มะเร็งลำไส้ใหญ่, การอักเสบของกระเปาะยื่นของลำไส้, แผลในกระเพาะอาหาร, ภาวะลำไส้ขาดเลือด, การติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล[2]
วิธีวินิจฉัยภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์, ภาพรังสีโดยไม่ใช้สารทึบรังสี[2]
การรักษาการผ่าตัดฉุกเฉินโดยวิธีผ่าตัดเปิดช่องท้อง[2]
ยาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, ให้ยาปฏิชีวนะ[2]

สาเหตุอาจรวมถึงการบาดเจ็บ เช่น บาดแผลจากมีด, การกินวัตถุมีคม หรือขั้นตอนทางการแพทย์เช่นการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, การอุดตันของลำไส้เช่นจาก ลำไส้พันกัน, มะเร็งลำไส้ หรือโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ, แผลในกระเพาะอาหาร, ลำไส้ขาดเลือด และการติดเชื้อต่าง ๆ รวมถึง คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล (C. difficile)[2] รูเปิดให้สิ่งที่อยู่ในลำไส้เข้าสู่ช่องท้อง ผลของการเข้ามาของแบคทีเรียทำให้เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบหรือก่อตัวเป็นฝี รูในกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากสารเคมีเนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร[2] โดยทั่วไปการสแกนภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นวิธีการวินิจฉัยที่ต้องการ อย่างไรก็ตามมักจะเห็นอากาศรั่วจากการทะลุได้ในภาพถ่ายรังสีธรรมดา[2]

การเจาะทะลุที่ใดก็ตามของระบบทางเดินอาหารมักจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินโดยการผ่าตัดเปิดช่องท้อง[2] โดยปกติจะดำเนินการร่วมกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและให้ยาปฏิชีวนะ อาจใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดเช่น พิเพอราซิลิน/ทาโซแบคแตม (piperacillin/tazobactam) หรือให้ร่วมกันระหว่างซิโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) และเมโทรนิดาโซล (metronidazole)[3][4] บางครั้งสามารถเย็บปิดรูได้ในขณะที่บางครั้งจำเป็นต้องมีการตัดลำไส้[2] แม้จะได้รับการรักษาเต็มที่แล้วแต่ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอาจสูงถึง 50%[2] รูที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นกับประชากรประมาณ 1 ต่อ 10,000 คนต่อปี ในขณะที่โรคถุงผนังลำไส้อักเสบเกิดขึ้นประมาณ 0.4 ต่อ 10,000 คนต่อปี[1][5]

สัญญาณและอาการ

สัญญาณและอาการแสดงอาจรวมถึงความเจ็บปวดอย่างกะทันหันบริเวณลิ้นปี่ทางด้านขวาของเส้นกึ่งกลางกายซึ่งบ่งบอกถึงการทะลุของแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น ในขณะที่แผลในกระเพาะอาหารจะแสดงให้เห็นโดยอาการปวดแสบปวดร้อนที่ลิ้นปี่ร่วมกับอาการท้องอืดและอาการอาหารไม่ย่อย

ในการทะลุของลำไส้ความเจ็บปวดจะเริ่มจากบริเวณที่ทะลุแล้วกระจายไปทั่วช่องท้อง

การทะลุของระบบทางเดินอาหารส่งผลให้เกิด อาการปวดท้องรุนแรงซึ่งจะรุนแรงขึ้นจากการเคลื่อนไหว, คลื่นไส้, อาเจียน และการอาเจียนเป็นเลือด อาการในภายหลัง ได้แก่ มีไข้และหนาวสั่น[6] ไม่ว่าในกรณีใดหน้าท้องจะแข็งขึ้นโดยมีอาการกดเจ็บและปล่อยเจ็บ หลังจากผ่านไประยะหนึ่งอาการหน้าท้องจะทรงตัวและสามารถฟังเสียงหัวใจได้ทั่ว ผู้ป่วยหยุดการผายลมและการเคลื่อนไหวของลำไส้ ขนาดหน้าท้องขยาย

อาการของหลอดอาหารทะลุอาจรวมถึงอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน

สาเหตุ

สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร, แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น, ไส้ติ่งอักเสบ, มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร, โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง, ภาวะ superior mesenteric artery syndrome, การบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุ, อาการหนังยืดผิดปกติ ชนิดที่ส่งผลต่อหลอดเลือด (vascular Ehlers–Danlos syndrome)[7] และโรคพยาธิไส้เดือน สำหรับไข้ไทฟอยด์,[8] ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์[9][10] และการกลืนกินสารกัดกร่อน ก็อาจจะเป็นสาเหตุได้เช่นกัน[11]

การกินแม่เหล็กหลายชิ้นอาจทำให้เกิดการทะลุของทางเดินอาหารได้ หากแม่เหล็กดึงดูดและเกาะติดกันผ่านช่วงขดที่ต่างกันของลำไส้[12]

การวินิจฉัย

ในภาพถ่ายรังสีอาจมองเห็นก๊าซในช่องท้อง ก๊าซสามารถมองเห็นได้ง่ายในภาพเอ็กซเรย์ขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน ปรกติการทะลุของทางเดินอาหารสามารถมองเห็นได้โดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์[2] ระดับของเม็ดเลือดขาวมักจะสูงขึ้น

การรักษา

การร่วมรักษาโดยการผ่าตัดเป็นสิ่งที่จำเป็นเกือบตลอดเวลาในรูปแบบของการผ่าตัดเปิดช่องท้องและการปิดช่องทะลุพร้อมกับการล้างช่องท้อง บางครั้งอาจมีการจัดการโดยการส่องกล้อง[13] อาจใช้การผ่าตัดชั้นเยื่อบุช่องท้องมาปิดบาดแผล (Graham patch) สำหรับการทะลุของลำไส้เล็กส่วนต้น

การรักษาแบบดั้งเดิมรวมถึงการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, ให้ยาปฏิชีวนะ, การใส่สายสวนทางจมูกเพื่อกันการสำลักและการงดน้ำงดอาหาร จะใช้เฉพาะในกรณีที่บุคคลนั้นมีข้อบ่งชี้ว่าไม่มีอาการแพ้ และมีอาการทางคลินิกคงที่[2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง