ธงชัมมูและกัศมีร์

(เปลี่ยนทางจาก ธงรัฐชัมมูและกัศมีร์)

ธงชัมมูและกัศมีร์ เป็นธงที่มีพื้นฐานมาจากธงของการประชุมแห่งชาติชัมมูและกัศมีร์ ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1952 เป็นธงพื้นสีแดง ประดับด้วยรูปคันไถ ด้านคันธงมีแถบแนวตั้ง 3 แถบ โดยคันไถแทนการเกษตรกรรม ส่วนแถบ 3 แถบแทนภูมิภาคทั้งสามของรัฐ คือ ชัมมู กัศมีร์ และลาดัก[1] รัฐชัมมูและกัศมีร์เคยเป็นรัฐเดียวของอินเดียที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ธงของรัฐร่วมกับธงชาติอินเดีย[2]

ธงชัมมูและกัศมีร์
การใช้ธงราชการ
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้1952–2019
ลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง ประดับด้วยรูปคันไถ ด้านคันธงมีแถบแนวตั้ง 3 แถบ

ในปี ค.ศ. 2019 รัฐสภาอินเดียเห็นชอบในการเพิกถอนสถานะพิเศษของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ส่งผลให้รัฐชัมมูและกัศมีร์สูญเสียอัตตาณัติตามมาตรา 370 ของรัฐธรรมนูญอินเดีย[3][4] การเพิกถอนส่งผลให้มีการประกาศเลิกใช้ธง และมีการจัดการปกครองใหม่แบบดินแดนสหภาพคือ ชัมมูและกัศมีร์ และลาดัก[5]

ประวัติธงชัมมูและกัศมีร์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร