การจ้างงาน

(เปลี่ยนทางจาก นายจ้าง)

การจ้างงานเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาคีสองฝ่าย ซึ่งปกติอาศัยสัญญาซึ่งมีการจ่ายสินจ้างสำหรับงาน โดยภาคีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบริษัท ธุรกิจ องค์การไม่แสวงหาผลกำไร สหกรณ์หรือเอนทิตีอื่นเป็นนายจ้าง และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกจ้าง[1] ลูกจ้างทำงานเพื่อแลกกับสินจ้าง ซึ่งอาจอยู่ในรูปค่าจ้างรายชั่วโมง ตามชิ้นงานหรือเป็นเงินรายเดือนหรือรายปี ขึ้นอยู่กับชนิดงานของลูกจ้างหรือภาคของเศรษฐกิจที่ทำงานอยู่ ลูกจ้างในบางสาขาหรือภาคอาจได้รับเงินบำเหน็จ การจ่ายโบนัสหรือสัญญาสิทธิหลักทรัพย์ ในการจ้างงานบางชนิด ลูกจ้างอาจได้รับผลประโยชน์อื่นนอกเหนือจากเป็นเงิน ผลประโยชน์อาจได้แก่ ประกันสุขภาพ ที่พักอาศัย ประกันทุพพลภาพหรือการใช้ยิม การจ้างงานตรงแบบมีกฎหมายการจ้างงาน การวางระเบียบหรือสัญญาตามกฎหมายควบคุมอยู่

ลูกจ้างและนายจ้าง

ลูกจ้างให้แรงงานและความำนาญแก่ความพยายามของนายจ้าง หรือของบุคคลที่ดำเนินธุรกิจ (PCB)[2] และปกติได้รับว่าจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่จำเพาะบางอย่างซึ่งติดมากับงาน ในบริบทบริษัท ลูกจ้างเป็นบุคคลที่ได้รับว่าจ้างเพื่อให้บริการแก่บริษัทเป็นประจำเพื่อแลกกับค่าตอบแทนและผู้ไม่ให้บริการเหล่านี้โดยเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอิสระ[3]

ความสัมพันธ์นายจ้าง–คนงาน

นายจ้างและการควบคุมการจัดการภายในองค์การเป็นหน้าที่ของหลายระดับและมีการส่อความสำคัญต่อเจ้าหน้าที่และผลิตภาพดุจกัน โดยการควบคุมก่อให้เกิดการเชื่อมโยงมูลฐานระหว่างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์กับกระบวนการแท้จริง นายจ้างต้องการรักษาสมดุลผลประโยชน์อย่างเงื่อนไขบังคับค่าจ้างที่ลดลงกับการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้สูงสุดเพื่อบรรลุความสัมพันะ์การจ้างงานที่มีผลิตภาพและได้กำไร

การได้มาซึ่งแรงงาน/การจ้างแรงงาน

วิธีหลักที่นายจ้างค้นหาคนงานและสำหรับบุคคลในการหานายจ้างคือผ่านการแสดงรายการงานในหนังสือพิมพ์และออนไลน์ นายจ้างและคนหางานมักหากันเจอผ่านที่ปรึกษาการสรรหาวิชาชีพซึ่งได้รับค่านายหน้าจากนายจ้างให้ค้นหา คัดกรองและเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี มีการศึกษาที่แสดงว่าที่ปรึกษาเหล่านี้าอจไม่น่าเชื่อถือเมื่อไม่สามารถใช้หลักการที่ตั้งไว้ในการคัดเลือกลูกจ้าง[1] แนวทางการเข้าสู่ดั้งเดิมคือป้าย "ต้องการช่วยเหลือ" ตามสถานที่ต่าง ๆ (ปกติแขวนตามหน้าต่างหรือประตู หรือวางไว้บนเคาน์เตอร์ร้านค้า)[3] การประเมินลูกจ้างต่าง ๆ อาจเป็นงานหนักแต่ากรตั้งเทคนิคต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ทักษะของลูกจ้างเพื่อวัดความสามารถภายในสาขานั้น ๆ สามารถทำได้ดีที่สุดผ่านการประเมิน นายจ้างและลูกจ้างที่อาจได้รับเข้าทำงานปกติมีขั้นตอนทำความรู้จักกันและกันเพิ่มผ่านกระบวนการสัมภาษณ์งาน

การฝึกอบรมและการพัฒนา

การฝึกอบรมและการพัฒนาหมายถึงความพยายามของนายจ้างในการเตรียมลูกจ้างที่เพิ่งจ้างใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และช่วยให้ลูกจ้างเติบโตในองค์การ การฝึกอบรมและการพัฒนาที่เหมาะสมช่วยเพิ่มความพึงพอใจในงานของลูกจ้าง[4]

สินจ้าง

มีวิธีที่ลูกจ้างได้สินจ้างหลายวิธี รวมทั้งค่าจ้างรายชั่วโมง ตามชิ้นงาน เป็นเงินรายเดือนหรือรายปี หรือเงินบำเหน็จ (โดยมักร่วมกับสินจ้างแบบอื่น) ในงานขายและตำแหน่งอสังหาริมทรัพย์ ลูกจ้างได้รับสินจ้างเป็นค่านายหน้า ซึ่งเป็นร้อยละของมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ขายได้ ในบางงสาขาและวิชาชีพ (เช่น อาชีพบริหาร) ลูกจ้างอาจมีสิทธิได้รับโบนัสหากทำผลงานได้ตามเป้า ผู้บริหารและลูกจ้างบางคนอาจได้รับสินจ้างเป็นหลักทรัพย์หรือสัญญาสิทธิ ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่มีประโยชน์เพิ่มเติมจากมุมมองของบริษัท คือ เป็นการช่วยปรับแนวผลประโยชน์ของปัจเจกที่ได้รับสินจ้างกับผลประกอบการของบริษัท

ผลประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้าง

ผลประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนที่มิใช่ค่าจ้างซึ่งมีการจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากค่าจ้างหรือเงินเดือน ผลประโยชน์ดังกล่าวอาจรวมถึง ที่พักอาศัย (นายจ้างจัดหาให้หรือนายจ้างจ่ายให้) ประกันกลุ่ม (สุขภาพ ฟัน ชีวิต ฯลฯ) การคุ้มครองรายได้ทุพพลภาพ ผลประโยชน์ยามเกษียณ บริการเลี้ยงดูบุตรระหว่างวัน เงินชดเชยค่าเล่าเรียน การลาป่วย การลาหยุดพักผ่อน (ทั้งที่ได้รับค่าจ้างและไม่ได้รับค่าจ้าง) ประกันสังคม การแบ่งกำไร การสนับสนุนทุนการศึกษา และผลประโยชน์เฉพาะแบบอื่น ในบางกรณี เช่น คนงานที่ดไ้รับว่าจ้างในพื้นที่ห่างไกล อาจมีผลประโยชน์เป็นมื้ออาหารด้วย ผลประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างสามารถเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง และลดการหมุนเวียนพนักงานได้[5]

ความยุติธรรมในองค์การ

ความยุติธรรมในองค์การเป็นการรับรู้ของลูกจ้างและการตัดสินการปฏิบัติของนายจ้างในบริบทความเท่าเทียมหรือยุติธรรม การกระทำอันเป็นผลลัพธ์เพื่อให้มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ลูกจ้าง-นายจ้างยังถือเป็นความยุติธรรมในองค์การด้วย[5]

การจัดระเบียบกำลังแรงงาน

ลูกจ้างสามารถจัดระเบียบเป็นสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของกำลังแรงงานที่ร่วมกันต่อรองกับฝา่ยจัดการขององค์การเกี่ยวกับการทำงาน เงื่อนไขของสัญญาและบริการ[6]

การยุติการจ้างงาน

ปกติทั้งฝ่ายลูกจ้างหรือนายจ้างอาจยุติความสัมพันธ์นี้ได้ทุกเมื่อ ซึ่งมักอยู่ภายใต้ช่วงเวลาแจ้งความระยะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า การจ้างงานแบบตามใจ (at-will) สัญญาระหว่างภาคีสองฝ่ายระบุความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายเมื่อยุติความสัมพันธ์และอาจมีข้อกำหนดอย่างช่วงเวลาแจ้งความ ค่าชดเชย และมาตรการหลักประกัน ในบางวิชาชีพ เช่น อาชีพการสอน ข้าราชการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และอาชีพในวงออเครสตราบางอาชีพ ลูกจ้างอาจมีสิทธิถือครอง ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถถูกเลิกจ้างได้ตามใจ การยุติการจ้างงานอีกแบบหนึ่ง เรียก เลย์ออฟ (layoff)

แรงงานรับจ้าง

คนงานประกอบเหล็กเส้นในประเทศเม็กซิโก

แรงงานรับจ้างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับนายจ้าง ซึ่งคนงานขายแรงงานของพวกตนภายใต้สัญญาว่าจ้างแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ธุรกรรมดังกล่าวปกติเกิดในตลาดแรงงานโดยที่ตลาดเป็นตัวกำหนดค่าจ้าง[4][5] ผลิตภัณฑ์งานปกติกลายเป็นทรัพย์สินที่ทำขึ้นเอง (undifferentiated property) ของนายจ้าง ยกเว้นกรณีพิเศษ เช่น การมอบสิทธิสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐ โดยสิทธิในสิทธิบัตรปกติเป็นของผู้ประดิษฐ์ดั้งเดิมรายบุคคล ผู้ใช้แรงงานรับจ้างเป็นบุคคลที่แหล่งรายได้หลักมาจากการขายแรงงานของตนในลักษณะนี้[6]

ในเศรษฐกิจแบบผสมสมัยใหม่ อย่าง เศรษฐกิจประเทศโออีซีดี แรงงานรับจ้างเป็นรูปแบบหลักของข้อตกลงการทำงาน แม้งานส่วนใหญ่เกิดตามโครงสร้างนี้ ข้อตกลงการทำงานค่าจ้างของซีอีโอ ลูกจ้างวิชาชีพและลูกจ้างสัญญาวิชาชีพบางทีสมกับงานมอบหมายชั้น (class assignment) ฉะนั้น "แรงงานรับจ้าง" จึงถือว่าหมายถึงเฉพาะคนงานไร้ทักษะ กึ่งมีทักษะหรือกรรมกร[7]

ปัญหา

ทาสค่าจ้าง

แรงงานรับจ้างซึ่งมีการจัดตั้งเป็นสถาบันภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดปัจจุบันได้รับคำวิจารณ์[6] โดยเฉพาะจากทั้งนักสังคมนิยมและนักอนาธิปไตย-สหการนิยมกระแสหลัก[7][8][9][10] โดยใช้คำว่า "ทาสค่าจ้าง"[11][12] นักสังคมนิยมระบุเส้นขนานระหว่างการค้าแรงงานเป็นโภคภัณฑ์กับความเป็นทาส[13]

นักปรัชญาชาวอเมริกัน จอห์น ดิวอี มีจุดยืนว่าจนกว่า "ระบบฟิวดัลอุตสาหกรรม" จะมีการแทนที่ด้วย "ประชาธิปไตยอุตสาหกรรม" การเมืองจะเป็น "เงาที่ธุรกิจขนาดใหญ่ทอดบนสังคม"[14] ทอมัส เฟอร์กูสันมีมูลบทในทฤษฎีการลงทุนการแข่งขันของพรรคว่า สภาพอันไม่เป็นประชาธิปไตยของสถาบันเศรษฐกิจภายใต้ทุนนิยมทำให้การเลือกตั้งบางทีกลายเป็นโอกาสที่กลุ่มนักลงทุนเชื่อมติดกันและแข่งขันเพื่อควบคุมรัฐและนครต่าง ๆ[15]

คนงานอายุน้อย

อัตราการจ้างงานเยาวชนในสหรัฐ คือ อัตราของผู้มีงานทำ (อายุ 15–24 ปี) ในเศรษฐกิจเทียบกับกำลังแรงงานทั้งหมด (15–24 ปี)[16]

คนงานอายุน้อยมีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานสูงกว่า และมีภัยจากการทำงานในอัตราสูงกว่า ซึ่งปกติมีสาเหตุจากการจ้างงานในอุตสาหกรรมความเสี่ยงสูง ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐ เยาวชนได้รับบาดเจ็บในงานมากเป็นสองเท่าของผู้สูงอายุ[17] คนงานเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุยานพาหนะในงานสูงกว่า เนื่องจากมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า ใช้เข็มขัดนิรภัยน้อยกว่า และมีอัตราการขับรถโดยไม่มีสมาธิสูงกว่า[18][19] เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงนี้ จึงมีการจำกัดมิให้บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 17 ปีขับรถบางชนิด รวมทั้งรถโดยสารและรถขนสินค้าภายใต้พฤติการณ์บางอย่าง[18]

อุตสาหกรรมความเสี่ยงสูงสำหรับคนงานอายุน้อย ได้แก่ เกษตรกรรม ร้านอาหาร การจัดากรขยะและการทำเหมือง[17][18] ในสหรัฐ บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีถูกห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่ถือว่าอันตรายภายใต้รัฐบัญญัติมาตรฐานแรงงานที่ดี[18]

โครงการจ้างงานเยาวชนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อมีทั้งการฝึกอบรมในชั้นเรียนทางทฤษฎีและการฝึกอบรมแบบลงมือปฏิบัติในสถานที่ทำงาน[20]

คนงานอายุมาก

ผู้ที่มีอายุเกินอายุเกษียณอายุที่กฎหมายนิยามอาจทำงานต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะความเพลิดเพลินหรือความจำเป็นก็ได้ อย่างไรก็ดี คนงานอายุมากอาจต้องเปลี่ยนไปทำงานแบบที่ใช้แรงกายน้อยกว่าเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของงาน การทำงานล่วงอายุเกษียณมีผลเชิงบวก เพราะทำให้เกิดสำนึกของจุดมุ่งหมายและทำให้บุคคลยังคงเครือข่ายสังคมและระดับกิจกรรม[21] คนงานอายุมากมักพบว่าถูกนายจ้างเลือกปฏิบัติ[22]

คนยากจนที่มีงานทำ

กรรมกรในกรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ

การจ้างงานไม่ใช่การรับประกันว่าจะพ้นจากความยากจนได้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประมาณว่าคนงานถึง 40% ยากจน คือ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวไม่เกินเส้นแบ่งความยากจน 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[23] ตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดีย คนยากจนเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างในการจ้างงานอย่างเป็นทางการ เพราะงานของพวกเขาไม่มั่นคง และได้ค่าจ้างต่ำ และไม่มีโอกาสสะสมความมั่งคั่งเพื่อเลี่ยงความเสี่ยง[23]

ข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งสหประชาชาติ (UBRISD) ระบุว่า การเพิ่มผลิตภาพของแรงงานดูเหมือนมีผลกระทบด้านลบต่อการสร้างงาน โดยในคริสต์ทศวรรษ 1960 การเพิ่มผลผลิต 1% ต่อคนงาน 1 คนสัมพันธ์กับการเติบโตของการจ้างงานลดลง 0.07% เมื่อถึงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเพิ่มผลิตภาพที่เท่ากันส่อความว่าการเติบโตของการจ้างงานลดง 0.54%[23] ทั้งการเพิ่มโอกาสการจ้างงานและการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (ตราบเท่าที่ทำให้มีค่าจ้างเพิ่มขึ้น) มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การเพิ่มการจ้งงานโดยไม่เพิ่มผลิตภาพทำให้มี "คนยากจนที่มีงานทำ" เพิ่มขึ่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนปัจจุบันส่งเสริมการสร้าง "คุณภาพ" ไม่ใช่ "ปริมาณ" ในนโยบายตลาแรงงาน[23] แนวทางการเข้าสู้เช่นนี้มีการเน้นย้ำการที่ผลิตภาพที่สูงขึ้นช่วยลดความยากจนในเอเชียตะวันออก แต่เริ่มมีการแสดงผลกระทบเชิงลบให้เห็น[23] ตัวอย่างเช่น ในประเทศเวียดนาม การเติบโตของการจ้างงานชะลอตัว แต่การเติบโตของผลิตภาพยังดำเนินต่อ[23] ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มผลิตภาพไม่ได้นำไปสู่ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเสมอไป ดังที่เห็นได้ในสหรัฐ ซึ่งช่องว่างระหว่างผลิตภาพและค่าจ้างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[23]

นักวิจัย ณ สถาบันการพัฒนาโพ้นทะเลแย้งว่ามีข้อแตกต่างในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ในการสร้างการจ้างงานซึ่งลดความยากจน[23] มีการพิจารณากรณีตัวอย่างการเติบโต 24 กรณี ซึ่ง 18 กรณีลดความยากจน การศึกษานี้แสดงว่าภาคเศรษฐกิจอื่นมีความสำคัญพอ ๆ กันในการลดการว่างงาน ตัวอย่างเช่น ภาคการผลิต[23] ภาคบริการมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเปลี่ยนการเติบโตของผลิตภาพเป็นการเติบโตของการจ้างงานตามไปด้วย ภาคเกษตรเป็นตาข่ายนิรภัยสำหรับงานและเป็นตัวกันทางเศรษฐกิจเมื่อภาคอื่นกำลังฝืดเคือง[23]

การเติบโต การจ้างงานและความยากจน[23]
จำนวนช่วงการจ้างงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้นการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นการจ้างงานภาคบริการเพิ่มขึ้น
ช่วงการเติบโตที่สัมพันธ์กับอัตราความยากจนที่ลดลง1861015
ช่วงการเติบโตที่สัมพันธ์กับอัตราความยากจนที่ไม่ลดลง6231

โลกาภิวัฒน์

สมดุลประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความเสมอภาคทางสังคมเป็นการอภิปรายขั้นสุดท้ายในสาขาความสัมพันธ์การจ้างงาน[24] โดยบรรลุความต้องการของนายจ้าง สร้างกำไรเพื่อตั้งและรักษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ถ่วงดุลกับลูกจ้างและสร้างความเสมอภาคทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อคนงานเพื่อให้คนงานสามารถใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีได้ พิสูจน์แล้วว่าเป็นปัญหาหมุนเวียนไม่จบสิ้นในสังคมตะวันตก[24]

โลกาภิวัตน์มีผลต่อปัญหาเหล่านี้โดยสร้างปัจจัยทางเศรษฐกิจบางอย่างที่ไม่อนุญาตหรืออนุญาตปัญหาการจ้างงานหลายข้อ นักเศรษฐศาสตร์ เอ็ดเวิร์ด ลี (ปี 2539) ศึกษาผลของโลกาภิวัฒน์และสรุปความกังวลสี่ข้อหลักที่มีผลต่อความสัมพันธ์การจ้างงาน ดังนี้

  1. การแข่งขันระหว่างประเทศ จากประเทศอุตสาหกรรมใหม่ จะก่อให้เกิดการเติบโตของการว่างงานและช่องว่างของค่าจ้างเพิ่มขึ้นแก่คนงานไม่มีทักษะในประเทศอุตสาหกรรม การนำเข้าจากประเทศค่าจ้างต่ำจะส่งแรงกดดันต่อภาคการผลิตในประเทศอุตสาหกรรม และการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) จะออกจากประเทศอุตสาหกรรมไปยังประเทศค่าจ้างต่ำ[24]
  2. การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจจะส่งผลให้เกิดการว่างงานและความไม่เสมอภาคของค่าจ้างในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการเสียงานในอุตสาหกรรมที่แข่งขันไม่ได้มีมากกว่าโอกาสอาชีพในอุตสาหกรรมเกิดใหม่
  3. คนงานถูกบังคับให้ยอมรับค่าจ้างและเงื่อนไขที่เลวลง เมื่อตลาดแรงงานทั่วโลกส่งผลให้เกิด "การแข่งกันไปสู่จุดต่ำสุด" (race to the bottom) การแข่งขันระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกดดันให้ลดค่าจ้างและภาวะของคนงาน[24]
  4. โลกาภิวัฒน์ลดอัตตาณัติของรัฐชาติ ทุนมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นและรัฐมีความสามารถวางระเบียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง

ข้อค้นพบของลี (2539) ยังมีอีกว่า ประเทศอุตสาหกรรมมีคนงานเฉลี่ยเกือบ 70% อยู่ในภาคบริการ ซึ่งส่นวใหญ่ประกอบด้วยกิจกรรมที่ค้าขายไม่ได้ ผลคือ คนงานถูกบีบให้มีทักษะมากขึ้นและพัฒนาที่แสวงหาสินค้า หรือหาวิธีเอาชีวิตรอดแบบอื่น สุดท้ายส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการจ้างงาน กำลังแรงงานที่มีการวิวัฒนา และโลกาภิวัฒน์ที่มีลักษณะของกำลังแรงงานที่มีทักษะมากขึ้นและมีความหลากหลายสูงขึ้น ที่กำลังเติบโตในรูปแบบการจ้างงานไม่เป็นมาตรฐาน (Markey, R. et al. 2006)[24]

แบบจำลองความสัมพันธ์การจ้างงาน

นักวิชาการวางมโนทัศน์ความสัมพันธ์การจ้างงานไว้หลายทาง[25] สมมติฐานสำคัญประการหนึ่งคือขอบเขตที่ความสัมพันธ์การจ้างงานจำเป็นต้องรวมความขัดกันของผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และรูปแบบของการขัดกันดังกล่าว[26] ในการตั้งทฤษฎีเศรษฐกิจ ตลาดแรงงานไกล่เกลี่ยการขัดกันดังกล่าวโดยที่สันนิษฐานว่านายจ้างและลูกจ้างที่เข้าสู่ความสัมพันธ์การจ้างงานถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน ในการวางทฤษฎีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สันนิษฐานว่านายจ้างและลูกจ้างมีผลประโยชน์ร่วมกัน มองว่าความขัดกันใด ๆ ที่มีอยู่เป็นการแสดงของนโยบายการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ไม่ดีหรือความขัดแย้งระหว่างบุคคล เช่น ความขัดแย้งส่วนบุคคล ซึ่งทั้งสองอย่างสามารถและควรจัดการให้หมดไป จากทัศนะของความสัมพันธ์อุตสาหกรรมพหุนิยม ความสัมพันธ์การจ้างงานถือว่ามีลักษณะผู้ถือผลประโยชน์หลายคนที่มีผลประโยชน์โดยชอบธรรม และการขัดกันของผลประโยชน์บางส่วนมองว่าเกิดในตัวความสัมพันธ์การจ้างงาน (เช่น ค่าจ้างกับกำไร) สุดท้าย กระบวนทัศน์วิจารณ์เน้นย้ำการขัดกันของผลประโยชน์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ (เช่น ชนชั้นทุนนิยมและชนชั้นแรงงานแข่งขันกันในกรอบลัทธิมากซ์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางสังคมความสัมพันธ์อำนาจที่ไม่เท่าเทียมอยู่ลึกลงไป ผลคือ มีแบบจำลองการจ้างงานทั่วไปสี่แบบ ได้แก่[27]

  1. เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มองว่าการจ้างงานเป็นธุรกรรมที่ได้ประโยชน์ร่วมกันในตลาดเสรีระหว่างบุคคลเสมอภาคทางกฎหมายและเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ส่วนตน
  2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจ้างงานเป็นความเป็นหุ้นส่วนระยะยาวระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
  3. ความสัมพันธ์อุตสาหกรรมพหุนิยม การจ้างงานเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีการต่อรองระหว่างผู้ถือผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางอย่างร่วมกันและบางอย่างขัดแย้งกัน และมีอำนาจต่อรองไม่เท่ากันเนื่องจากตลาดแรงงานที่มีข้อบกพร่อง[23]
  4. ความสัมพันธ์อุตสาหกรรมเชิงวิพากษ์ การจ้างงานเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่แข่งขันกันซึ่งฝังตัวอยู่และแยกจากกันไม่ได้จากความไม่เสมอภาคเชิงระบบที่มีอยู่ในระบบสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ

แบบจำลองเหล่านี้มีความสำคัญเพราะช่วยเปิดเผยว่าเหตุใดบุคคลจึงมีทัศนคติต่างกันในนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สหภาพแรงงานและการวางระเบียบการจ้างงาน[28] ตัวอย่างเช่น มองว่านโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์กำหนดโดยตลาดในมุมมองแรก โดยเป็นกลไกที่สำคัญสำหรับการปรับแนวผลประโยชน์ของลูกจ้างและนายจ้าง ฉะนั้นจึงก่อให้เกิดบริษัทที่มีกำไรในมุมมองที่สอง ไม่เพียงพอสำหรับการพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนงานในมุมมองที่สาม และเป็นเครื่องมือการจัดการแบบชักใยสำหรับการหล่อหลอมอุดมการณ์และโครงสร้างของที่ทำงานในมุมมองที่สี่[29]

วรรณกรรมวิชาการ

มีการรวบรวมวรรณกรรมว่าด้วยการจ้างงานมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเติบโตนั้นสัมพันธ์กับการจ้างงานในระดับมหภาค ภาคและอุตสาหกรรมอย่างไรในปี 2556[30] ผู้วิจัยพบหลักฐานที่เสนอว่าการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและบริการมีผลกระทบเชิงบวกต่อการจ้างงาน พบว่าการเติบโตของจีดีพีมีผบต่อการเติบโตของการจ้างงานในภาคเกษตรอย่างจำกัด แต่การเติบโตที่เพิ่มมูลค่านั้นมีผลกระทบค่อนข้างใหญ่กว่า[23] ผลกระทบของกิจกรรมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจต่อการสร้างงานตลอดจนขอบเขตของประชุมหลักฐานและการศึกษาสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมในเชิงสกัด ผู้วิจัยพบหลักฐานอย่างกว้างขวางว่าการเติบโตของภาคดังกล่าวมีผลกระทบจำกัดต่อการจ้างงาน ทว่า ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ แม้มีหลักฐานน้อย แต่การศึกษาเสนอว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมมีส่วนเชิงบวกต่อการสร้างงาน ในธุรกิจเกษตรและการแปรรูปอาหาร นักวิจัยก็พบว่ามีผลเชิงบวกต่อการเติบโตเช่นกัน[30]

ผู้วิจัยพบว่าวรรณกรรมที่น่าเชื่อถือมุ่งสนใจโออีซีดี และประเทศรายได้ปานกลางระดับหนึ่ง ที่ที่มีการแสดงว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลบวกต่อการจ้างงาน ผู้วิจัยไม่พบหลักฐานเพียงพอว่าสรุปผลกระทบของการเติบโตต่อการจ้างงานในประเทศด้อยพัฒนา แม้บางส่วนชี้ไปทางผลกระทบเชิงบวก และบางส่วนชี้ไปที่ข้อจำกัด ผู้วิจัยแนะนำว่าจำเป็นต้องมีนโยบายส่งเสริมเพื่อรับประกันผลกระทบเชิงบวกของการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อการจ้างงานในประเทศด้อยพัฒนา สำหรับการค้า อุตสาหกรรมและการลงทุน ผู้วิจัยพบหลักฐานจำกัดของผลกระทบเชิงบวกต่อการจ้างงานจากนโยบายอุตสาหกรรมและการลงทุน และสำหรับด้านอื่น แม้มีประชุมหลักฐานจำนวนมาก แต่ผลกระทบที่แน่ชัดยังเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่[30]

ผู้วิจัยยังสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการจ้างงานกับกิจกรรมผิดกฎหมาย โดยใช้หลักฐานจากทวีปแอฟริกา ทีมวิจัยพบว่าโครงการสำหรับอดีตนักรบชาวไลบีเรียลดชั่วโมงทำงานต่อกิจกรรมผิดกฎหมาย โครงการการจ้างงานยังลดความสนใจในงานทหารรับจ้างในสงครามใกล้เคียง การศึกษาสรุปว่าแม้การลงทุนหรือการชำระเงินสดสำหรับงานเชิงสันติทำให้ลดกิจกรรมผิดกฎหมาย แต่ผลกระทบของการฝึกอบรมอย่างเดียวค่อนข้างต่ำ[31]

เชิงอรรถและอ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Acocella, Nicola (2007). Social pacts, employment and growth: a reappraisal of Ezio Tarantelli's thought. Heidelberg: Springer Verlag. ISBN 978-3-7908-1915-1.
  • Anderson, Elizabeth (2017). Private Government: How Employers Rule Our Lives (and Why We Don't Talk about It). Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-17651-2.
  • Dubin, Robert (1958). The World of Work: Industrial Society and Human Relations. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall. p. 213. OCLC 964691.
  • Freeman, Richard B.; Goroff, Daniel L. (2009). Science and Engineering Careers in the United States: An Analysis of Markets and Employment. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-26189-8.
  • Lee, Eddy (January 1996). "Globalization and Employment: Is Anxiety Justified?". International Labour Review. 135 (5): 485–98. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-08-27 – โดยทาง Questia.
  • Markey, Raymond; Hodgkinson, Ann; Kowalczyk, Jo (2002). "Gender, part-time employment and employee participation in Australian workplaces". Employee Relations. 24 (2): 129–50. doi:10.1108/01425450210420884.
  • Stone, Raymond J. (2005). Human Resource Management (5th ed.). Milton, Qld: John Wiley. pp. 412–14. ISBN 978-0-470-80403-2.
  • Wood, Jack M. (2004). Organisational Behaviour: A Global Perspective (3rd ed.). Milton, Qld: Wiley. pp. 355–57. ISBN 978-0-470-80262-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Employment

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร