ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม

ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม ราชอาณาจักรไทยในสมัยรัฐบาลทหารจอมพล ถนอม กิตติขจร มีบทบาทนำในสงครามเวียดนาม ประเทศไทยเป็นผู้จัดหากำลังภาคพื้นรายใหญ่สุดอันดับ 3 แก่เวียดนามใต้ รองจากสหรัฐและเกาหลีใต้[1]

ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม และสงครามเย็น
พลปืนยิงระเบิดเอ็ม79 ของจงอางศึกในเฟื้อกโท ปี 2510
ชนิดสงคราม
ตำแหน่งประเทศเวียดนามใต้
โดยกองทัพไทย
วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเวียดนามใต้จากการโจมตีของคอมมิวนิสต์
วันที่พ.ศ. 2510 – 2515 (5 ปี)
ผู้สูญเสียเสียชีวิต 351 นาย
บาดเจ็บ 1,358 นาย

ชนวนเหตุ

เนื่องจากที่ตั้งใกล้เคียงกับประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงเฝ้าติดตามความขัดแย้งของเวียดนามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมสงครามอย่างเป็นทางการจนสหรัฐมีมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐเพื่อสนับสนุนเวียดนามใต้ในปี พ.ศ. 2506 จากนั้นรัฐบาลไทยอนุญาตให้กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทยใช้ฐานทัพอากาศและฐานทัพเรือในประเทศ ทหารอเมริกันที่ประจำการในประเทศไทยเพิ่มสูงสุดเกือบ 50,000 นาย[2]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2510 มีการส่งกรมทหารอาสาสมัคร (จงอางศึก) ไปยังค่ายเบียร์แคต ณ เบียนฮหว่า เพื่อรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเวียดนามใต้ ในปี พ.ศ. 2511 กรมทหารอาสามัคร ถูกแทนด้วยกองพลทหารอาสาสมัคร (เสือดำ)[3]

กองพลทหารอาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2511


มีทหารไทยรับราชการสงครามในเวียดนามใต้ประมาณ 40,000 นาย, เสียชีวิตในการหน้าที่ 351 นาย และอีก 1,358 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม[2][4][5]

มีการถอนกำลังภาคพื้นดินไทยชุดสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2515[1]

หลังจากสิ้นสุด

การมีส่วนร่วมของไทยในสงครามเวียดนามยังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐ ตลอดระยะสงคราม สหรัฐเทความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารรวมมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) เทงบช่วยเหลืออีก 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งช่วยเศรษฐกิจไทยและจ่ายค่าเข้าร่วมสงครามของไทยโดยอ้อม ผู้ประกอบการไทยสร้างโรงแรม ร้านอาหารและบาร์เพื่อต้อนรับทหารอเมริกันที่ประจำการในประเทศ ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศ เมื่อสงครามยุติ ประเทศไทยได้เก็บยุทธภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่อเมริกันเหลือไว้ให้ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ชาติทันสมัย[6]

ระเบียบภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง