พายุไต้ฝุ่นฮากีบิส (พ.ศ. 2562)

พายุไต้ฝุ่นฮากิบิส หรือ ไต้ฝุ่นเรวะที่ 1 แห่งญี่ปุ่นตะวันออก (อังกฤษ: Typhoon Hagibis, ญี่ปุ่น: 令和元年東日本台風, โรมาจิ: Reiwa Gannen Higashi-Nihon Taifū) เป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่และทรงพลังเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างผลกระทบต่อภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่นอย่างหนักที่สุดนับตั้งแต่ไต้ฝุ่นไอดาในปี พ.ศ. 2501 เป็นพายุดีเปรสชันลูกที่ 38 พายุไต้ฝุ่นลูกที่ 9 และซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสสร้างความเสียหายเพิ่มต่อประเทศญี่ปุ่นหลังจากเมื่อหนึ่งเดือนก่อนพายุไต้ฝุ่นฟ้าใสเข้าโจมตีในภูมิภาคเดียวกัน พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสก่อตัวในวันที่ 2 ตุลาคมจากคลื่นความร้อนที่ตั้งอยู่ประมาณ 300 กิโลเมตรทางตอนเหนือของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ต่อมาไต้ฝุ่นถึงระดับพายุโซนร้อนเมื่อ 5 ตุลาคมขณะเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก หลังจากนั้นไม่นานไต้ฝุ่นฮากีบิสเข้าช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ในวันที่ 7 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสมีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา หลังจากรักษาระดับความเร็วไว้ได้ประมาณสามวัน พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเริ่มอ่อนกำลังลงเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวประชิดกับชายฝั่งทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย

พายุไต้ฝุ่นฮากีบิส
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ก่อตัว4 ตุลาคม พ.ศ. 2562
สลายตัว20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 13 ตุลาคม)

ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิตเสียชีวิต 105 คน บาดเจ็บ 375 คน และสูญหาย 3 คน
ความเสียหาย15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2019)
(เป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุด หากไม่คำนวณอัตราเงินเฟ้อ)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, รัสเซีย, อลาสกา
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
  • วันที่ 2 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของหมู่เกาะมาเรียนา
  • วันที่ 3 ตุลาคม JTWC ได้สังเกตการณ์เรื่องการปรับสถานะของหย่อมความกดอากาศเป็น "ภายใน 24 ชั่วโมง หย่อมความกดอากาศมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน" นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ตัวหย่อมนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 4 ตุลาคม JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำประกาศให้ พายุดีเปรสชันเขตร้อน 20W เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลำดับที่ 38 ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562
  • วันที่ 5 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจาก JMA ว่า ฮากีบิส (Hagibis) เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลและปริมาณลมเฉือนในระดับที่ต่ำ ทำให้ตัวพายุนั้นทวีกำลังแรงขึ้นได้ต่อเนื่อง
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุฮากีบิสทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 7 ตุลาคม ขณะที่พายุฮากีบิสกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอยู่นั้น พายุฮากีบิสได้ทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ขณะที่ตัวพายุได้เคลื่อนประชิดใกล้พื้นที่ร้างของหมู่เกาะมาเรียนา การพาความร้อนที่รุนแรงอันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยนั้น ทำให้พายุมีกำลังแรงเทียบเท่าระดับพายุระดับ 5 ตามมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดใน 1 นาทีที่ 285 กม./ชม. ขณะที่บริการสภาพอากาศแห่งชาติสหรัฐ ได้เริ่มออกคำแถลงการณ์กับพื้นที่ที่หน่วยงานรับผิดชอบ โดยมีการเตือนภัยพายุไต้ฝุ่นในการาปันและติเนียน และประกาศเตือนภัยพายุโซนร้อนในซินาปาโลและฮากัตญา[1] พายุฮากีบิสเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะมาเรียนาในเวลา 15:30 UTC ด้วยความแรงสูงสุด มีความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาทีที่ 215 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 905 hPa
  • วันที่ 8 ตุลาคม หลังจากที่ตัวพายุเคลื่อนผ่านหมู่เกาะมาเรียนาไปแล้ว ฮากีบิสเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นสิ้นสุดลง และเมื่อกำแพงตาหลักเริ่มอ่อนลง[2] JTWC จึงได้ปรับลดความรุนแรงของระบบพายุลงเล็กน้อยเป็นพายุระดับ 4 ในเวลา 00:00 UTC อีกหลายชั่วโมงต่อมา พายุฮากีบิสได้กลับทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเป็นพายุระดับ 5 เมื่อวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาสิ้นสุดลง
  • วันที่ 10 ตุลาคม หลังจากที่พายุรักษาความรุนแรงมาหลายวัน ฮากีบิสได้เริ่มอ่อนกำลังลงในเวลา 12:00 UTC ต่อมาในเวลา 13:30 UTC เริ่มมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบกับส่วนของประเทศญี่ปุ่น เช่น ผู้จัดงานรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 ได้ตัดสินใจยกเลิกการแข่งขันอย่างน้อยสองแมตช์ซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่าจะแข่งขันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์[3] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น, เจแปนแอร์ไลน์ และออล นิปปอน แอร์เวย์ที่ออกประกาศยุติการให้บริการทั้งหมด[4]
  • วันที่ 11 ตุลาคม ฟอร์มูลาวันประกาศยกเลิกรายการการแข่งขันทั้งหมดที่วางไว้ในวันเสาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจแปนนิสกรังด์ปรีซ์ 2019 ซึ่งประกอบด้วย รอบฝึกรอบที่สามและรอบคัดเลือก โดยมีกำหนดจัดใหม่ในช่วงเช้าวันอาทิตย์ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น[5] ส่วนเอฟโฟร์เจแปนนิสแชมเปียนชิป ซึ่งได้ประกาศไปก่อนหน้าแล้วว่าจะยกเลิกการแข่งขันรอบสองที่จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งแต่เดิมถูกกำหนดไว้เป็นกิจกรรมสนับสนุนเจแปนนิสกรังด์ปรีซ์[6]
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวประชิดกับชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศเตือนภัยฉุกเฉินทางสภาพอากาศ สำหรับฝนตกหนักที่มีโอกาสทำให้เกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่มได้ในหลายภูมิภาค ในจังหวัดชิซูโอกะ, จังหวัดยามานาชิ, จังหวัดนางาโนะ, จังหวัดคานางาวะ, จังหวัดไซตามะ, จังหวัดกุมมะ และโตเกียว[7] การออกเตือนภัยฉุกเฉินทางสภาพอากาศนั้นระบุว่า "มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง" และ "เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติในระดับที่ชาวท้องถิ่นไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน"[8] และในไม่กี่ชั่วโมงต่อมามีการออกคำเตือนเพิ่มเติมในจังหวัดนีงาตะ, จังหวัดโทจิงิ, จังหวัดอิบารากิ, จังหวัดฟูกูชิมะ, จังหวัดอิวาเตะ และจังหวัดมิยางิ[9] ต่อมาพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสได้ขึ้นฝั่งที่คาบสมุทรอิซุทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฮนชู ในเวลา 09:00 UTC โดยมีความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีที่ 150 กม./ชม. และความเร็วลมเฉลี่ย 1 นาทีที่ 155 กม./ชม. เทียบเท่ากับพายุเฮอริเคนระดับ 2[10][11]มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย
  • วันที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสอยู่เหนือประเทศญี่ปุ่น พายุเริ่มอ่อนกำลังลงจากแรงเฉือนของลมแรงและในที่สุดก็กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[12]
    พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่นครั้งแรกที่คาบสมุทรอิซุ จากนั้นเคลื่อนเข้าใกล้โยโกฮาม่า

การเตรียมการ

กวมและหมู่เกาะมาเรียนา

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ได้มีคำสั่งให้อพยพผู้คนในเกาะกวมและหมู่เกาะมาเรียนา โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯอนุมัติการประกาศภาวะฉุกเฉิน ส่วนเกาะไซปัน, ทีเนียน, อลามาแกนและเพแกนได้ออกคำเตือนพายุไต้ฝุ่นด้วย[13]

ประเทศญี่ปุ่น

พยากรณ์อากาศทางภาคตะวันออก, ตะวันตกและภาคเหนือของญี่ปุ่นได้ประกาศระวังภัยลมแรงและฝนกระหน่ำซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น, เจแปนแอร์ไลน์ และ ออล นิปปอน แอร์เวย์ ระงับการให้บริการ นักพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยาสุชิ คาจิวาระ กล่าวว่า "นี่เป็นภัยพิบัติระดับ 5 ภัยพิบัติอาจเกิดขึ้นแล้ว ขอให้ประชาชนดำเนินการปกป้องชีวิตของตนเองทันที" มีการออกคำสั่งอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 800,000 ครัวเรือนใน 11 จังหวัด ผู้คนกว่า 230,000 คนรับคำแนะนำให้มุ่งหน้าไปยังศูนย์พักพิงผู้อพยพ

พายุไต้ฝุ่นส่งผลกระทบต่อการแข่งขันกีฬาสำคัญหลายรายการที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เช่น การแข่งขันรักบี้เวิลด์คัพ 2019 สามนัดถูกยกเลิกเนื่องจากพายุ รวมถึงการแข่งขันพูล B ระหว่างนิวซีแลนด์และอิตาลี แคนาดาและนามิเบียและการแข่งขันพูล C ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส นี่เป็นครั้งแรกที่มีการยกเลิกการแข่งขันในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก ผลการแข่งขันที่ถูกยกเลิกทั้งหมดให้ถือเป็นการเสมอกัน: ผลจากการยกเลิกได้ถือเป็นการกำจัดอิตาลีออกจากทัวร์นาเมนต์เนื่องจากพวกเขามีโอกาสที่จะผ่านเข้ารอบน็อกเอาต์ด้วยคะแนนที่ใกล้เคียงกับของกับนิวซีแลนด์

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมมีการประกาศว่าการฝึกซ้อมในวันเสาร์สำหรับรายการ Japanese Grand Prix 2019 ที่สนามซุซุกะเซอร์กิต จะถูกยกเลิกและการแข่งขันรอบคัดเลือกในวันเสาร์จะเลื่อนออกไปเป็นเช้าวันอาทิตย์ก่อนการแข่งขัน[14] การแข่งขันชิงแชมป์ญี่ปุ่น F4 ยกเลิกรอบที่เซอร์กิตเช่นกัน แม้จะมีการเล่นเกมในร่มในสนามกีฬาทรงโดม แต่สมาคมเบสบอลอาชีพแห่งญี่ปุ่นก็เลื่อนทั้ง Game 4 Climax Series ออกไปในปี 2019 และ 2019 Central League Climax Series ทั้งสองเกมมีแผนที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม โดยหนึ่งจะจัดที่ในโทโคโระซาวะ ไซตามะและอีกเกมในบุงเกียวโตเกียว แต่ในวันที่ 13 ตุลาคมก็ได้กลับมาจักการแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง

การถอนชื่อ

เนื่องจากไต้ฝุ่นฮากิบิสสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ ประเทศญี่ปุ่น ชื่อ ฮากิบิส จึงถูกถอนชื่อออกโดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAP/WMO ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 52 จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAC/WMO ได้เลือกชื่อ รากาซา แทนชื่อ ฮากิบิส[15]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย