โรมาจิ

โรมาจิ (ญี่ปุ่น: ローマ字โรมาจิRōmaji[ɾoːma(d)ʑi] ( ฟังเสียง) หรือ [ɾoːmaꜜ(d)ʑi], แปลว่า อักษรโรมัน) หมายถึง อักษรโรมัน (อักษรละติน) ที่ใช้แทนอักษรคานะในภาษาญี่ปุ่นตามระบบการถอดเป็นอักษรโรมัน (romanization) ซึ่งมีอยู่หลายระบบ ได้แก่ ระบบคุนเร (ญี่ปุ่น: 訓令式 โรมาจิ: Kunrei-shiki ทับศัพท์: คุนเรชิกิ) ระบบเฮ็ปเบิร์น (ญี่ปุ่น: ヘボン式 โรมาจิ: Hebon-shiki ทับศัพท์: เฮบงชิกิ) ระบบนิฮง (ญี่ปุ่น: 日本式 โรมาจิ: Nihon-shiki ทับศัพท์: นิฮงชิกิ) เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1954 (ปีโชวะที่ 29) รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ "ข้อกำหนดการถอดเป็นอักษรโรมัน" (ญี่ปุ่น: ローマ字のつづり方 โรมาจิ: Rōmaji no tsuzurikata) ประกอบไปด้วยตาราง 2 ตาราง ตารางที่ 1 เป็นวิธีถอดตามระบบคุนเร ส่วนตารางที่ 2 เป็นวิธีถอดแบบอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับระบบคุนเร โดยกำหนดให้ใช้ตารางที่ 1 เป็นหลัก และใช้ตารางที่ 2 เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ตามระบบที่กำหนดได้ในทันที เช่น เป็นวิธีถอดที่ใช้ในทางการทูต[1]

นอกจากนี้ ใน "แนวปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา" (ญี่ปุ่น: 小学校学習指導要領โรมาจิShōgakkō gakushū shidō yōryō) ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2017 (ปีเฮเซที่ 29) ยังได้กำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรียนวิธีการถอดภาษาญี่ปุ่นเป็นอักษรโรมัน (โรมาจิ) ตามข้อกำหนดข้างต้นทั้งในด้านการอ่านและการเขียนด้วย[2] อย่างไรก็ตาม โรมาจิมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์[3]

อักขรวิธี

สระ

เสียงสระ「ア、イ、ウ、エ、オ」เขียนเป็น "a, i, u, e, o" ตามลำดับ

พยัญชนะและเสียงควบกล้ำ

โดยหลักการแล้ว เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค 「カ、サ、タ、ナ、ハ、マ、ヤ、ラ、ワ、ガ、ザ、ダ、バ、パ」ให้เขียนเป็น "k, s, t, n, h, m, y, r, w, g, z, d, b, p" ตามลำดับ ส่วนเสียงควบกล้ำให้เขียนเป็น "พยัญชนะ+y+สระ" เช่น 「キャ」→ "kya"

ระบบเฮ็ปเบิร์นและระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงแทน「シ」ด้วย "shi" แทน「チ」ด้วย "chi" แทน「ツ」ด้วย "tsu" แทน「フ」ด้วย "fu" แทน「ジ」ด้วย "ji" เสียงควบกล้ำของวรรค「サ」แทนด้วย "sh-" ทั้งหมด เสียงควบกล้ำของวรรค「タ」แทนด้วย "ch-" ทั้งหมด และเสียงควบกล้ำของวรรค「ザ」แทนด้วย "j-" ทั้งหมด เนื่องจากคำนึงถึงความใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาแม่ของเจมส์ เคอร์ทิส เฮ็ปเบิร์น (James Curtis Hepburn)

ระบบนิฮงแทน「ヂ」「ヅ」「ヲ」ด้วย "di" "du" "wo" อิงตามอักขรวิธีโบราณ แต่เนื่องจากในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) ไม่ได้แยกความต่างระหว่าง「ヂ」กับ「ジ」, 「ヅ」กับ「ズ」และ「ヲ」กับ「オ」อีกต่อไป ระบบคุนเรจึงใช้ "zi" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」 เช่นเดียวกับระบบเฮ็ปเบิร์นที่ให้ "ji" แทนทั้ง「ヂ」และ「ジ」, "zu" แทนทั้ง「ヅ」และ「ズ」, "o" แทนทั้ง 「ヲ」และ「オ」

พยัญชนะท้ายนาสิก

โดยหลักการแล้ว เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกให้เขียนเป็น "n" ยกเว้นเฉพาะระบบเฮ็ปเบิร์นดั้งเดิมที่กำหนดให้เขียนเป็น "m" เมื่ออยู่หน้าอักษร "b, p, m"

หากหลัง「ん」เป็นสระหรืออักษรวรรค「ヤ」ในระบบเฮ็ปเบิร์นดั้งเดิมจะเติมเครื่องหมายยัติภังค์ ส่วนระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงจะเติมเครื่องหมายอะพอสทรอฟี เพื่อป้องกันความสับสนที่จะอ่านเป็นอักษรวรรค「ナ」

ตัวอย่าง: shin-ai หรือ shin'ai(親愛しんあい) ≠ shinai(市内しない), shin-yō หรือ shin'yō(信用しんよう) ≠ shinyō(屎尿しにょう

พยัญชนะซ้ำ

โดยหลักการแล้ว ให้ซ้ำพยัญชนะที่อยู่ก่อนหน้าเสียงพยัญชนะซ้ำ มีข้อยกเว้นเฉพาะในระบบเฮ็ปเบิร์น (ทั้งแบบเก่าและฉบับปรับปรุง) ที่ให้ให้ "t" เมื่อตามด้วย "ch" เช่น "matcha" สำหรับเสียงพยัญชนะซ้ำกรณีที่ปรากฏท้ายคำ เช่น「あっ」「それっ」ไม่มีระบบใดที่กำหนดวิธีเขียนไว้

เสียงยาว

  • ระบบคุนเรเติมเครื่องหมายเซอร์คัมเฟล็กซ์บนสระ "â, î, û, ê, ô" เพื่อแสดงเสียงสระยาว เช่น Tôkyô(東京とうきょう
  • ระบบเฮ็ปเบิร์นดั้งเดิมแทนเสียงสระยาวของ "a, i, u, e, o" ด้วย "aa, ii, ū, ee, ō" ตามลำดับ และระบบเฮ็ปเบิร์นฉบับปรับปรุงแทนด้วย "ā, ii, ū, ē, ō" ตามลำดับ เช่น Tōkyō(東京とうきょう
  • ไม่ปรากฏการใช้สัญลักษณ์พิเศษแสดงเสียงยาวในระบบนิฮง
  • ในการใช้งานจริง บางครั้งอาจจะละสัญลักษณ์แสดงเสียงยาวไป เช่น Tokyo(東京とうきょう) และบางครั้งอาจพบการใช้อักษร "h" ในการแสดงเสียงยาวของ /o/ เช่น Ohno(大野おおの

คำช่วย

คำช่วย「は」「へ」「を」 ทั้งระบบคุนเรและระบบเฮ็ปเบิร์นเขียนด้วย「わ (wa)」「え (e)」「お (o)」ตามลำดับ แต่อาจพบการเขียนเป็น「は (ha)」「へ (he)」「を (wo)」ได้ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการสะท้อนรูปเขียนของอักษรคานะ

ระบบปัจจุบัน

เฮ็ปเบิร์น

โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์น จะออกเสียงสระตามกลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นวิธีแสดงการสะกดคำในภาษาญี่ปุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ และเคยเป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา แต่ถูกยกเลิก ณ วันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๔ โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์นเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

โรมาจิแบบเฮ็ปเบิร์นฉบับแก้ไข ใช้ขีดข้างบนสระเพื่อแสดงสระเสียงยาว และใช้เครื่องหมายอะพอสทรอฟีเพื่อแบ่งพยางค์ในบางกรณี เช่น じゅんいちろう-Jun'ichirō ระบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเรียนต่างชาติและในทางวิชาการ

นิฮงชิกิ

โรมาจิแบบนิฮงชิกิ ออกแบบมาเพื่อให้คนญี่ปุ่นเขียนภาษาของตนด้วยอักษรละติน แทนการถ่ายเสียงตามแบบเฮ็ปเบิร์น ระบบนี้ตามระบบอักษรญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัด ไม่เปลี่ยนตามวิธีออกเสียง ระบบนี้เป็นมาตรฐาน ISO 3602 Strict

คุงเรชิกิ

โรมาจิแบบคุงเรชิกิ เป็นการดัดแปลงเล็กน้อยจากโรมาจิแบบนิฮงชิกิ โดยอักษร づ กับ ず ออกเสียง zu เหมือนกันในภาษาญี่ปุ่นสมัยใหม่ ในทางกลับกัน นิฮงชิกิจะเขียน づ เป็น du และเขียน ず เป็น zuคุงเรชิกิเป็นมาตรฐานของทางการญี่ปุ่น และเป็นมาตรฐาน ISO 3602คุงเรชิกิจะสอนที่โรงเรียนญี่ปุ่นในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ตัวอย่าง


ตัวอย่างของการทับศัพท์แบบต่าง ๆ

ความหมายคันจิ/คานะฟูริงานะโรมาจิ
เฮ็ปเบิร์นคุงเรชิกินิฮงชิกิ
โรมาจิローマ字ローマじrōmajirômazirōmazi
ภูเขาฟูจิ富士山ふじさんFujisanHuzisanHuzisan
ชาお茶おちゃochaotyaotya
รัฐบาล知事ちじchijitizitizi
ย่อขนาด縮むちぢむchijimutizimutidimu
(ตอน) ต่อไป続くつづくtsuzukutuzukutuduku


ความแตกต่างระหว่างระบบต่างๆ

ฮิรางานะคาตากานะเฮปเบิร์นนิฮงชิกิคุงเรชิกิสากล
a
i
uɯ
e
o
ka
kikʲi
ku
ke
ko
きゃキャkyakʲa
きゅキュkyukʲɯ
きょキョkyokʲo
sa
shisiɕi
su
se
so
しゃシャshasyaɕa
しゅシュshusyuɕɯ
しょショshosyoɕo
ta
chititɕi
tsututsɯ
te
to
ちゃチャchatyatɕa
ちゅチュchutyutɕɯ
ちょチョchotyotɕo
na
niɲi
nu
ne
no
にゃニャnyaɲa
にゅニュnyuɲɯ
にょニョnyoɲo
ha
hiçi
fuhuɸɯ
he
ho
ひゃヒャhyaça
ひゅヒュhyuçɯ
ひょヒョhyoço
ma
mimʲi
mu
me
mo
みゃミャmyamʲa
みゅミュmyumʲɯ
みょミョmyomʲo
yaja
yu
yojo
raɾa
riɾʲi
ruɾɯ
reɾe
roɾo
りゃリャryaɾʲa
りゅリュryuɾʲu
りょリョryoɾʲo
wawa~ɰa
iwii
ewee
owoo
n-n'(-m)n-n'm~n~ŋ~ɴ
ga
gigʲi
gu
ge
go
ぎゃギャgyagʲa
ぎゅギュgyugʲɯ
ぎょギョgyogʲo
za
jiziʑi~dʑi
zu
ze
zo
じゃジャjazyaʑa~dʑa
じゅジュjuzyuʑɯ~dʑɯ
じょジョjozyoʑo~dʑo
da
jidiziʑi~dʑi
zuduzu
de
do
ぢゃヂャjadyazyaʑa~dʑa
ぢゅヂュjudyuzyuʑɯ~dʑɯ
ぢょヂョjodyozyoʑo~dʑo
ba
bibʲi
bu
be
bo
びゃビャbyabʲa
びゅビュbyubʲɯ
びょビョbyobʲo
pa
pipʲi
pu
pe
po
ぴゃピャpyapʲa
ぴゅピュpyupʲɯ
ぴょピョpyopʲo
vuβɯ
คะนะเฮปเบิร์นนิฮงชิกิคุงเรชิกิ
ううūû
おう, おおōô
shisi
しゃshasya
しゅshusyu
しょshosyo
jizi
じゃjazya
じゅjuzyu
じょjozyo
chiti
tsutu
ちゃchatya
ちゅchutyu
ちょchotyo
jidizi
zuduzu
ぢゃjadyazya
ぢゅjudyuzyu
ぢょjodyozyo
fuhu
iwii
ewee
owoo
n, n' ( m)n n'

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง