ฟาโรห์ราโฮเทป

สำหรับเจ้าชายในราชวงศ์ที่ 4 ดูที่ เจ้าชายราโฮเทป

เซคเอมเรวาห์คาอู ราโฮเทป (อักษรโรมัน: Sekhemre-Wahkhau Rahotep) เป็นฟาโรห์ชาวอียิปต์โบราณ เสวยราชในระยะเวลาช่วงรอยต่อครั้งที่สองแห่งอียิปต์ สมัยที่อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเป็นอิสระแก่กันหลายพระองค์ นักไอยคุปต์วิทยาคิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ เสนอว่าฟาโรห์ราโฮเทปเป็นฟาโรห์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 17[1][3]

หลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์

หลักฐานของฟาโรห์ราโฮเทปมีการพบเจอที่อไบดอส และคอปโตส มีดังนี้

[1] ศิลาจารึก UC 14327 ที่พบจากการบูรณะเทวสถานเทพมินที่คอปโตส[5] ปัจจุบันจารึกหลักนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Petrie ปรากฏความในศิลาจารึกความว่า[6][7]

(ปี ... ภายใต้) พระเป็นเจ้าฮอรัส วาห์อังค์, สตรีสองแผ่นดิน ยูเซอร์เรนพุต, ฮอรัสทองคำ วาด ... (... บุตรแห่ง)รา ราโฮเทป, พระผู้พระราชทานชีวิต พระองค์ (ตรัส?) แก่ขุนนางของพระองค์และข้าราชบริพารที่ติดตามทั้งหลาย ... พระวิหาร ... พระองค์ทรงพบ (เกี่ยวกับ) บิดาของข้า (มิน), ผู้เป็นประมุขแห่งเทวดาเจ้าทั้งหลาย, ประตูและบานประตูของท่านพังทลายลงเป็นซาก, (เคยถวายบังคม ? มาก่อน) พระองค์ทรงตรัสว่า: แต่คา(คำสั่ง) จะเกิดขึ้น, ข้าแต่กษัตริย์, เจ้าของเรา คือฮู, แท้จริง, ผู้ที่อยู่ในปาก, และซิอา (ผู้ที่อยู่ในใจ)พทาห์-เซเคอร์ ... พระผู้สร้างท่าน ... เพื่อท่านจะกระทำให้พวกเขาได้พบพระวิหาร ... ท่านผู้รวบรวมอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่างเข้าด้วยกัน ขอให้จิตใจท่านเบิกบานบนบัลลังก์ฮอรัสแห่งชีวิต ... ท่านผู้ปกครองสิ่งที่ดวงอาทิตย์ (ล้อมรอบ) ... พระเป็นเจ้า (...) แห่งราษฎร, ผู้เป็นที่พึ่งตลอด...กลางคืน ... ในยามหลับ ... พระเป็นเจ้าในการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่แผ่นดินนี้ ราผู้ประทับรูปท่าน ... สิ่งที่ถูกลบ (?)... ดังเช่นในสมัยพระบิดาของท่าน, กษัตริย์ที่ติดตามฮอรัส ไม่เคย ... หายไปในเวลาของเรา ... ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว ข้าพเจ้าได้สร้างอนุสาวรีย์สำหรับเทพยดา ... สิ่งก่อสร้าง, ที่ถูกนำมา ...

[2] ศิลาหินปูน BM EA 833 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช[8] ภาพในศิลาหลักนี้แสดงรูปคือฟาโรห์ราโฮเทปกำลังถวายเครื่องบูชาแด่เทพโอซิริส แก่ผู้เสียชีวิตสองคนได้แก่เจ้าหน้าที่และนักบวช โดยศิลาแผ่นนี้น่าจะสร้างขึ้นในแหล่งการผลิตที่อไบดอส รวมถึงศิลาของฟาโรห์พันทเจนี และศิลาของฟาโรห์เวปวาเวทเอมซาฟ ก็ผลิตขึ้นจากแหล่งเดียวกัน โดยฟาโรห์ทั้งสามพระองค์นี้ขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน[9]

[3] พระองค์ยังถูกกล่าวถึงในเครื่องถ้วยของ อเมนีพระราชโอรสกษัตริย์ ซึ่งอุทิศให้แด่ "การปรนนิบัติมินในทุกงานเลี้ยงของเทพมิน" ที่คอปโตส[3][10]

[4] นิยายเรื่องคอนซูเอมเฮบกับผี ซึ่งแต่งขึ้นช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรใหม่ ตัวเอกพบกับผีที่อ้างว่าเคยเป็น "ผู้คุมการคลังของฟาโรห์ราโฮเทป" อย่างไรก็ตามผียังอ้างว่าเสียชีวิตในปีที่ 14 ของรัชกาลฟาโรห์เมนทูโฮเทปซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ครองราชสืบต่อมา ข้อความเหล่านี้ดูจะขัดแย้งกันเนื่องจากในระยะเวลาที่ยาวนาน พระนามฟาโรห์ที่ครองราชถัดจากฟาโรห์ราโฮเทปไม่มีพระนามเมนทูโฮเทปเลย ดังนั้นการระบุกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้จึงมีปัญหา[11]

ทฤษฎีของนักวิชาการ

สคารับ 2 ชิ้นที่ปรากฎจารึกพระนาม "ราโฮเทป" ฟินเดอร์ พีเทรี่ เชื่อว่าคือพระองค์[12]

ในขณะที่ไรโฮลท์ และเบเกอร์ เสนอให้ฟาโรห์ราโฮเทป เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่ 17 แต่ Jürgen von Beckerath เสนอว่าทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สองของราชวงศ์[13][14] อีกด้านหนึ่ง Claude Vandersleyen ได้ให้ช่วงเวลาครองราชย์ของฟาโรห์ราโฮเทปอย่างไม่แน่นอนโดยจัดให้พระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่ 13 ซึ่งเขาเชื่อว่าฟาโรห์ราโฮเทปมีความเกี่ยวข้องกับฟาโรห์โซเบคเอมซาฟที่ 1 การที่ Vandersleyen จัดช่วงเวลาของพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่ 13 เนื่องจากจำนวนและสภาพหลักฐานของพระองค์[15] เบเกอร์เห็นว่าข้อโต้แย้งเหล่านี้ "เบาบางและถูกปฏิเสธโดยนักวิชาการส่วนใหญ่"[1]

หากพระองค์เป็นฟาโรห์ช่วงต้นราชวงศ์ที่ 17 จริง พระองค์คงมีพระราชอำนาจในอียิปต์ตอนบนและไปไกลถึงอไบดอส[1] จากการสันนิฐานใหม่ของช่วงรอยต่อครั้งที่สองของไรโฮลท์ รัชกาลของฟาโรห์ราโฮเทปจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่ 16 หลังจากการพิชิตทีปส์โดยชาวฮิกซอส จนเมื่อกองทัพของชาวฮิกซอสได้ออกไปภายหลัง ชาวฮิกซอสได้สร้างความเสียหายไว้ คือการปล้นทำลายเทวสถานและพระราชวัง[1] ดังนั้นฟาโรห์ราโฮเทปจึง "โอ้อวดการบูรณะ [ที่พระองค์ดำเนินการ] ในเทวสถานที่อไบดอส และคอปโตส"[16] ในอไบดอส พระองค์ก็ทรงบูรณะกำแพงล้อมรอบเทวสถานเทพโอซิริส และที่คอปโตสพระองค์ทรงบูรณะเทวสถานเทพมินที่ "ประตูและบานประตู [ได้] พังทลายลงเป็นซาก"[1] ลำดับเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน รวมถึงนักวิชาการบางคนโต้แย้งว่า หากทีปส์ที่เคยถูกพิชิตโดยฮิกซอส ดังนั้นฟาโรห์แห่งอียิปต์ตอนบนที่มีเมืองทีปส์เป็นศูนย์กลางก็ต้องตกเป็นประเทศราชของฮิกซอส

อ้างอิง

ก่อนหน้าฟาโรห์ราโฮเทปถัดไป
ไม่ทราบ ฟาโรห์แห่งอียิปต์
(ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด)

โซเบคเอมซาฟที่ 1
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร