อักษรละติน

อักษรละติน (Latin alphabet) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อักษรโรมัน (Roman alphabet) เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร ที่มีต้นแบบมาจากอักษรละตินดั้งเดิม ซึ่งหยิบยืมมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง เริ่มนำไปใช้ในนครรัฐคิวมี (Cumae) ยุคกรีกโบราณ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอิตาลี (มังนาไกรกิอา) และถูกนำไปปรับใช้โดยชาวอิทรัสคัน (Etruscans) รวมถึงชาวโรมัน หลังจากนั้นต่อมามีชุดอักษรละตินหลากหลายตัวที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของกราฟ การเรียบเรียงเสียง และคุณสมบัติออกเสียงที่ต่างไปจากอักษรละตินดั้งเดิม

อักษรละติน
ชนิดอักษรสระ-พยัญชนะ
ภาษาพูด

เป็นทางการใน:

132 รัฐอธิปไตย

กึ่งทางการใน:

ช่วงยุค~700 ปี ก่อนคริสตกาล – ปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบลูก
ระบบพี่น้อง
ช่วงยูนิโคดดู Latin characters in Unicode
ISO 15924Latn
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรละตินเป็นแม่แบบให้กับสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet) อันเป็นอักษร 26 ตัวซึ่งแพร่หลายมากที่สุด ประกอบไปด้วย ISO อักษรละตินพื้นฐาน (ISO basic Latin alphabet) ที่เป็นอักษรรูปแบบเดียวกับอักษรอังกฤษ (English Alphabet)

ชุดตัวอักษรละตินเป็นแม่แบบให้กับตัวอักษรจำนวนมากที่สุดของระบบการเขียนทั้งหมด[1] และยังเป็นระบบการเขียนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากที่สุด อักษรละตินเป็นระบบอักษรซึ่งเป็นมาตรฐานในการเขียนให้กับหลายภาษาในยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง ส่วนใหญ่ในภูมิภาคทะเลทรายซาฮาราทางแอฟริกาตอนใต้ อเมริกา และโอเชียเนีย รวมถึงภาษาต่าง ๆ ที่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของโลก

ชื่อและที่มา

อักษรชุดนี้เรียกกันว่าอักษรละตินหรืออักษรโรมัน มีแหล่งกำเนิดมาจากนครรัฐโรมโบราณ (แม้ว่าตัวพิมพ์ใหญ่บางตัวจะมีต้นแบบมาจากอักษรกรีกก็ตาม) การทับศัพท์ด้วยอักษรชุดนี้มักเรียกกันว่า "การถอดเป็นอักษรโรมัน" ("romanization")[2][3] ในผังยูนิโคดใช้ชื่อว่า "Latin"[4] เช่นเดียวกันกับหลักขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)[5]

ระบบตัวเลขในอักษรชุดนี้ใช้ระบบเลขโรมันรวมๆ แล้วเรียกว่าตัวเลขโรมัน ตัวเลข 1, 2, 3 ... เป็นตัวเลขอักษรละติน/โรมันซึ่งมีที่มาจากระบบเลขแบบฮินดู–อารบิก

ยูนิโคด

อ้างอิง

แหล่งอ้างอิง

แหล่งข้อมูล

  • Haarmann, Harald (2004). Geschichte der Schrift [History of Writing] (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). München: C. H. Beck. ISBN 978-3-406-47998-4.



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง