ฟาโรห์วาคาเร เคติ

วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่เก้าหรือสิบในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1

การระบุตัวตน

การมีอยู่ของฟาโรห์วาคาเร เคติ นั้นยังคงโต้เถียงกัน ในขณะที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้า[2] คนอื่น ๆ อีกหลายคนจัดให้พระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์[3][4][5][6]

ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์

หากฟาโรห์วาคาเร เคติเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์อัคธอส์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้ตามบันทึกของมาเนโท ที่ได้กล่าวว่า:

[ฟาโรห์] พระองค์แรกของราชวงศ์นี้คือ อัคธอส์ ซึ่งประพฤติตนโหดร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ ผู้ก่อความวิบัติแก่ชาวอียิปต์ทั้งหลาย แต่ภายหลังพระองค์ถูกรุมเร้าด้วยความวิกลจริตและโดนจระเข้ปลงพระชนม์[1][7]

หากสมมติฐานนี้ถูกต้อง ฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นเขตเฮราคลีโอโพลิส ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ที่แปดที่ปกครอง ณ เมืองเมมฟิส เพื่อยึดบัลลังก์ของอียิปต์ตอนกลางและตอนล่างเมื่อประมาณ 2150 ปีก่อนคริสตกาล สมมติฐานนี้ได้รับการสนับสนุนโดยจารึกร่วมสมัยที่อ้างถึงแคว้นเฮราคลีโอโพลิสที่อยู่ทางเหนือในฐานะราชวงศ์ของเคติ[8] แม้ว่าจะพิสูจน์ได้เพียงว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าจะมีพระนามว่า เคติ แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นฟาโรห์วาคาเร เคติ

ข้อสันนิษฐานหากพระองค์อยู่ในราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์

นักวิชาการหลายคน เชื่อว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติ เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์แทน โดยให้พระองค์เป็นพระองค์เดียวกับ เคติ ซึ่งเป็นผู้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นทรงนิพนธ์หนังสือการสอนที่มีชื่อเสียงของฟาโรห์เมริคาเร ทำให้พระองค์จะต้องขึ้นครองราชย์อยู่ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 8 และฟาโรห์เมริคาเร และฟาโรห์วาคาเร เคติ จะเป็นฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสพระองค์สุดท้ายที่ใช้พระนาม เคติ และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์พระนามว่า อัคธอส์ ผู้เหี้ยมโหด จะกลายเป็นฟาโรห์เมริอิบเร เคติ และราชวงศ์แห่งเคติ ( House of Khety) จะอ้างถึงฟาโรห์เมริอิบเรแทนด้วย

เป็นที่ทราบกันว่า ฟาโรห์วาคาเร เคติได้เข้าเป็นพันธมิตรกับบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นอียิปต์ล่างที่สามารถขับไล่ "ชาวเอเชียเร่ร่อน" ที่เดินเตร่เร่ร่อนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์มาหลายชั่วอายุคน ผู้ปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น แม้จะรับรู้ถึงอำนาจของพระองค์ แต่ก็ยังปกครองโดยพฤตินัยอย่างอิสระไม่มากก็น้อย ซึ่งขับไล่ "ชาวเอเชีย" และอนุญาตให้มีการจัดตั้งการตั้งถิ่นฐานและสร้างแนวป้องกันใหม่บนพรมแดนตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับการค้าขายกับชายฝั่งเลวานไทน์[9] อย่างไรก็ตามพระองค์ยังเตือนฟาโรห์เมริคาเรว่า อย่าละเลยการปกป้องพรมแดนเหล่านี้ เนื่องจาก "ชาวเอเชีย" ยังคงถูกมองว่าเป็นอันตราย[10]

ในทางตอนใต้ พระองค์และผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งอัสยุตผู้ซื่อสัตย์นามว่า เทฟิบิ ได้ยึดไทนิส ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกฟาโรห์แห่งธีบส์ นำโดยฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2; อย่างไรก็ตาม กองทหารจากเฮราคลีโอโพลิสได้บุกรุกหลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งไทนิส ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงที่พระองค์ทราบด้วยพระองค์เอง การกระทำในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทันทีฝ่ายธีบส์ ซึ่งต่อมาได้เข้ายึดไทนิสคืนได้ในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นั้น ฟาโรห์วาคาเร เคติ ตัดสินพระทัยที่จะละทิ้งพระราโชบายที่รุนแรงนี้และเริ่มขั้นตอนของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับเขตปกครองทางใต้ ซึ่งคงอยู่จนกระทั่งช่วงหนึ่งของรัชสมัยของฟาโรห์เมริคาเร ซึ่งผู้ที่ขึ้นปกครองต่อจากพระองค์ ผู้ที่ครองราชย์ยาวนานถึงห้าทศวรรษ[11]

หลักฐานรับรอง

ไม่มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยที่มีพระนามของพระองค์ คาร์ทูธของฟาโรห์วาคาเรได้ปรากฏบนโลงศพไม้จากสมัยช่วงราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ซึ่งจารึกด้วยข้อความโลงศพและเดิมสร้างขึ้นสำหรับข้าราชบริพารนามว่า เนฟริ ถูกค้นพบใน เดียร์ เอล-เบอร์ชา (Dier el-Bersha) และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร (ซีจี 28088)[12][13] บนนั้นพระนามของพระองค์ถูกแทนที่ด้วยนามของเนฟริเพียงที่เดียว แต่ไม่ทราบว่าข้อความเดิมถูกจารึกไว้สำหรับฟาโรห์หรือไม่หรือเพียงแค่คัดลอกมาจากที่อื่นก่อนหน้านี้[14] พระนามของฟาโรห์วาคาเร เคติ อาจจะบันทึกรวมอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินด้วย[14]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Allen, James P. (1976). "The Funerary Texts of King Wahkare Akhtoy on a Middle Kingdom Coffin". ใน Johnson, J. H.; Wente, E. F. (บ.ก.). Studies in Honor of George R. Hughes, January 12, 1977. Studies in Ancient Oriental Civilization (SAOC). Vol. 39. Chicago: The Oriental Institute. ISBN 0-918986-01-X.


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร