ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ถือว่าเป็นราชวงศ์ที่อยู่ช่วงเวลาจุดรุ่งเรืองที่สุดของสมัยราชอาณาจักรกลางโดยเหล่านักไอยคุปต์วิทยา ซึ่งมักจะรวมเข้ากับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด สิบสาม และสิบสี่ให้อยู่ในช่วงเวลาของสมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักวิชาการบางคนถือเพียงแค่ว่าราชวงศ์ที่สิบเอ็ดและราชวงศ์ที่สิบสองเป็นส่วนหนึ่งในสมัยราชอาณาจักรกลางเท่านั้น

ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

1991 ปีก่อนคริสตกาล – 1802 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักพระสรีระส่วนบนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 จากสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐ เมืองมิวนิค
รูปสลักพระสรีระส่วนบนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3
จากสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐ เมืองมิวนิค
เมืองหลวงทีบส์, อิทจ์-ทาวี
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
1991 ปีก่อนคริสตกาล 
• สิ้นสุด
 1802 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์

ประวัติราชวงศ์

ลำดับเหตุการณ์ภายในช่วงราชวงศ์ที่สิบสองนั้นคงที่ที่สุดในยุคใดๆ ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักรใหม่ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้บันทึกระยะเวลาที่ราชวงศ์นี้ปกครองพระราชอาณาจักรอยู่ที่ 213 ปี (ระหว่าง 1991–1778 ปีก่อนคริสตกาล) นักบวชมาเนโทได้ระบุว่าราชวงศ์มีศูนย์กลางปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ แต่จากบันทึกชั้นต้นร่วมสมัยเป็นที่ชัดเจนว่าฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์นี้พระนามว่า อเมนเอมฮัตที่ 1 ได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองใหม่ที่มีนามว่า "อเมนเอมฮัต-อิทจ์-ทาวี" ("อเมนเอมฮัต ผู้ทรงยึดครองทั้งสองดินแดน") หรือเรียกอย่างง่ายว่า อิทจ์ทาวี[1] ซึ่งยังไม่ทราบที่ตั้งเมืองโบราณแห่งนี้ แต่สันนิษฐานว่าจะอยู่ใกล้เมืองฟัยยูม ซึ่งอาจจะตั้งใกล้สุสานหลวงที่อัลลิชต์[2]

ลำดับของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสองนั้นเป็นที่ทราบอย่างดีจากหลายแหล่งหลักฐานคือ บันทึกพระนามกษัตริย์จำนวนสองรายการที่บันทึกไว้ในวิหารในเมืองอไบดอส และอีกหนึ่งบันทึกที่เมืองซัคคารา รวมถึงบันทึกพระนามที่ได้จากงานเขียนของมาเนโท ซึ่งบันทึกไว้ในรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรสที่ 3 สามารถสัมพันธ์กับวัฏจักรโซทิก[3] ดังนั้น เหตุการณ์มากมายภายในราชวงศ์นี้มักถูกกำหนดให้เป็นปีใดปีหนึ่ง

บันทึกทางประวัติศาสตร์จากช่วงเวลาดังกล่าวที่กล่าวถึงพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ว่ามาจาก[4]บริเวณแอลเลเฟนไทน์ หรือ ตา-เซติ[5][6][7] โดยนักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแย้งว่าพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 น่าจะมาจากดินแดนนิวเบีย[8][9][10][11][12][13][14]

รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์

ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสอง
พระนามพระนามฮอรัสรูปภาพรัชสมัยพีระมิดพระมเหสี
อเมนเอมฮัตที่ 1เซเฮเทปอิบเร 1991 – 1962 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1เนเฟริทาทเจเนน
เซนุสเรตที่ 1 (เซซอสทริสที่ 1)เคเปอร์คาเร 1971 – 1926 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1เนเฟรูที่ 3
อเมนเอมฮัตที่ 2นุบเคาเร 1929 – 1895 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดขาวคาเนเฟรู

เคมินุบ?

เซนุสเรตที่ 2 (เซซอสทริสที่ 2)คาเคเปอร์เร 1897 – 1878 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดที่อัลลาฮูนเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 1

โนเฟรตที่ 2อิตาเวเรต?คเนเมต

เซนุสเรตที่ 3 (เซซอสทริสที่ 3)คาเคาเร 1878 – 1839 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดที่ดาห์ชูร์เมเรตเซเกอร์

เนเฟิร์ตเฮนุทเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 2ซิตฮาธอร์ยูริเนต

อเมนเอมฮัตที่ 3นิมาอัตเร 1860 – 1814 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดดำที่ฮาวาราอาอัต

เฮเทปิเคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 3

อเมนเอมฮัตที่ 4มาอาเครูเร 1815 – 1806 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดแห่งมาซกูนาใต้ (สันนิษฐาน)
โซเบคเนเฟรูโซเบคคาเร 1806 – 1802 ปีก่อนคริสตกาลพีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือ (สันนิษฐาน)

ผู้ปกครองที่เป็นที่ทราบของราชวงศ์ที่สิบสอง มีดังนี้[15]

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1

ราชวงศ์ที่สิบสองสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งอาจจะเป็นราชมนตรีของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดพระนามว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 กองทัพของพระองค์เคลื่อนทัพไปทางใต้ไกลถึงแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์และถึงทางตอนใต้คานาอัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับดินแดนคานาอันแห่งไบบลอสและผู้ปกครองชาวกรีกในทะเลอีเจียน พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ทรงโปรดให้ส่งคณะสำรวจเดินทางลงใต้ไปยังแก่งน้ำตกที่สามของแม่น้ำไนล์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2

รูปสลักที่สวมมงกุฏสีแดงแห่งอียิปต์ล่างและใบหน้าที่สะท้อนถึงลักษณะของฟาโรห์ผู้ครองราชย์ น่าจะเป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 หรือฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 รูปสลักดังกล่าวทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์อันศักดิ์สิทธิ์สำหรับอิมิอุต และสวมกระโปรงสั้นศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปสลักไม่ได้เป็นเพียงตัวแทนของผู้ปกครองที่มีพระชนม์ชีพ

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 ทรงเป็นฟาโรห์ในช่วงเวลาที่สงบสุข

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2

รูปสลักส่วนพระเศียรของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ที่มีลักษณะอ่อนเยาว์ จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1870 ปีก่อนคริสตกาล พิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐที่มิวนิก
ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์
จารึกแห่งอับคาอู สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ก็ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะทรงอยู่อย่างสงบ

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3

เมื่อพบว่าดินแดนนิวเบียเกิดความมากขึ้นในรัชสมัยผู้ปกครองพระองค์ก่อน ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จึงทรงส่งคณะสำรวจไปยังดินแดนแห่งนิวเบีย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงส่งคณะสำรวจไปยังเลวานไทน์ การดำเนินการทางทหารของพระองค์ทำให้เกิดตำนานของนักรบผู้ยิ่งใหญ่นาม เซโซสทริส ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าขานโดยมาเนโธ, เฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส โดยที่มาเนโธกล่าวว่า เซโซสทริส ในตำนานนั้นไม่เพียงพิชิตดินแดนเช่นเดียวกับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เท่านั้น แต่ยังพิชิตบางส่วนของคานาอันและข้ามไปยังยุโรปเพื่อผนวกเธรซ อย่างไรก็ตาม ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งในอียิปต์หรืองานเขียนร่วมสมัยอื่นๆ ที่ยืนยันคำกล่าวอ้างเพิ่มเติมของมาเนโธ

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3

ฟาโรห์อเมนเอมเฮตที่ 3 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และยังทรงดำเนินการทางนโยบายต่างประเทศของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 พระราชอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสองก็ถูกใช้ไปอย่างมหาศาล และปัญหาที่เพิ่มขึ้นในการปกครองก็ตกเป็นของผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระนามว่า โซเบคเนเฟรู เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ทรงเป็นที่จดจำสำหรับวิหารพระบรมศพที่ฮาวาราที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ซึ่งเฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส และสตราโบรู้จักในนาม "เขาวงกต" นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ มีการใช้ประโยชน์กับที่ลุ่มฟัยยูมเป็นครั้งแรก

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4

ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดา และทรงปกครองอยู่ประมาณเก้าปี

ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู

ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 โดยที่พระองค์ทรงถูกทิ้งให้อยู่กับปัญหาทางราชการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเชษฐาของพระองค์หรือพระเชษฐาต่างพระราชมารดาหรือพระเชษฐาบุญธรรม[16] เมื่อฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 สวรรคต พระองค์ทรงกลายเป็นรัชทายาท เพราะพระภคินีของพระองค์พระนามว่า เนเฟรูพทาห์ ซึ่งทรงน่าจะเป็นรัชทายาทลำดับต่อไปในการปกครอง ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้าแล้วตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสอง ไม่มีบันทึกว่าพระองค์ทรงมีองค์รัชทายาท นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีรัชกาลที่ค่อนข้างสั้น และได้มีการเปลี่ยนแปลงในการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งพระราชบัลลังก์อาจจะตกเป็นของรัชทายาทที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[17]

วรรณกรรมอียิปต์โบราณ

ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง วรรณกรรมอียิปต์โบราณได้รับการพัฒนาอย่างมาก ผลงานบางชิ้นที่รู้จักกันดีในช่วงเวลาดังกล่าว คือ เรื่องราวแห่งซินูเฮ ซึ่งมีสำเนาของบันทึกปาปิรุสหลายร้อยเล่มยังคงหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ที่สิบสองยังมีตำราคำสอนอีกหลายเล่ม เช่น ตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮตและเรื่องเล่าของชาวนาฝีปากกล้า

นอกจากนี้ ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบแปดยังทรงการเก็บรักษาบันทึกปาปิรุสอียิปต์ที่โดดเด่นที่สุด และบางส่วนซึ่งหลงเหลือรอดมาจนถึงทุกปัจจุบัน ได้แก่

  • 1900 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสพริสส์
  • 1800 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเบอร์ลิน
  • 1800 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสคณิตศาสตร์มอสโก
  • 1650 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสคณิตศาสตร์ไรนด์
  • 1600 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเอ็ดวิน สมิธ
  • 1550 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเอเบอร์ส

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง