ฟาโรห์สเนเฟคา

สเนเฟอร์คา เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้น ซึ่งอาจจะทรงปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่หนึ่ง ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในรัชสมัยของพระองค์ แต่สันนิษฐานว่าสั้นมาก และลำดับตำแหน่งตามเวลาของพระองค์ก็ไม่ชัดเจน

ที่มาของพระนาม

พระนามเซเรคของฟาโรห์สเนเฟอร์คาเป็นเป้าหมายของการถกเถียงในปัจจุบัน เนื่องจากลำดับการเขียนที่ผิดปกติของสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณในพระนามเซเรค ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการอ่านที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ คือ พระนามของพระองค์จะอ่านว่า เซเนเฟอร์คา, สเนเฟอร์คา, เนเฟอร์เซคา และเซคาเนเฟอร์[2] พระนามเซเรค "สเนเฟอร์คา" ไดปรากฏบนภาชนะหินซีสต์และหินอลาบาสเตอร์หลายชิ้น ซึ่งพบชิ้นแรกในมาสตาบาของเมอร์คา ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงที่รับใช้ในรัชสมัยของฟาโรห์กาอา ชิ้นที่สองพบในห้องใต้ดินของพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ดโจเซอร์ (ราชวงศ์ที่สาม) และชิ้นที่สามถูกพบในมาสตาบาที่ไม่ทราบเจ้าของเช่นกันที่ซักกอเราะฮ์ วัตถุโบราณชิ้นที่สี่ที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์สเนเฟอร์คาถูกพบในชุดสะสมส่วนตัวของจอร์จส์-มิคาอิลิดิส แต่นักโบราณคดีและนักไอย์คุปต์วิทยายังคงตั้งคำถามถึงความถูกต้อง เนื่องจากไม่ทราบแหล่งที่มา นอกจากนี้ คำจารึกบนวัตถุของมิคาอิลิดิสยังเป็นเซเรคที่ไม่มีสัญลักษณ์ของฮอรัส หรือนกฟอลคอนเลย ซึ่งถือว่าผิดปกติอย่างมากสำหรับวัตถุโบราณของชาวอียิปต์ในช่วงเวลานั้น[3][4][5]

การระบุตัวตน

นอกเหนือจากเซเรคของฟาโรห์สเนเฟอร์คาแล้ว ในคำจารึกยังกล่าวถึงสำนักและสถานที่ต่างๆ ซึ่งระบุช่วงเวลาในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์กาอา ที่เรียกว่า กาอู-เนทเจรู (แปลว่า "ความสูงส่งแห่งเทพเจ้า") และ อา-เนทเจรู (แปลว่า "พระราชวังอันศักดิ์สิทธิ์") และปรากฏในจารึกหินหลายชิ้นจากหลุมฝังศพระบรมศพของฟาโรห์กาอาที่อไบดอส นักไอยคุปต์วิทยา เช่น ปีเตอร์ คาพลอนี ได้กล่าวโดยสรุปว่าคำจารึกดังกล่าวได้ยืนยันเกี่ยวกับฟาโรห์กาอา หรือพระนาม "สเนเฟอร์คา" ซึ่งเป็นพระนามอีกพระนามของฟาโรห์กาอาที่ทรงใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ

คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาเชื่อว่า ฟาโรห์สเนเฟอร์คาทรงปกครองในช่วงกลางของราชวงศ์ที่สอง และจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เนเฟอร์คาราที่ 1 ซึ่งได้รับการยืนยันจากแหล่งข้อมูลจากสมัยรามเสส ซึ่งรีฮอล์ตได้ชี้ให้เห็นถึงกรณีที่อาลักษณ์ในช่วงรามเสส มักจะเพิ่มสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ในพระนามของฟาโรห์ในช่วงราชวงศ์ต้น ๆ โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ว่าดวงอาทิตย์ยังไม่ได้เป็นเป้าหมายของการเคารพบูชาจากสวรรค์ในตอนต้นนั้น เพื่อสนับสนุนมุมมองของเขา รีฮอล์ตก็ชี้ไปที่ชืพระนามคาร์ทูชของฟาโรห์ เช่น ฟาโรห์เนเฟอร์คาราที่ 2 และฟาโรห์เนบคาราที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์สองพระองค์ในช่วงต้นสมัยราชวงศ์และมีสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ในพระนามที่ขัดแย้งกัน[6] ส่วนนักไอย์คุปต์วิทยา ไอแดน ด็อดสัน ก็คิดเห็นเหมือนกันและชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่าเซเรคเกือบทั้งหมดของฟาโรห์สเนเฟอร์คาได้ถูกสร้างขึ้นมา "บนการลบ" จึงจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าฟาโรห์สเนเฟอร์คาทรงแย่งชิงภาชนะที่จารึกพระนามของฟาโรห์กาอา ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องปกติสำหรับฟาโรห์ที่ปกครองหลังจากผู้ปกตรองที่เป็นเจ้าของวัตถุโบราณเกล่านั้น ที่จะนำกลับมาใช้ใหม่และจะทรงปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น[7]

การที่อาจจะทรงรบกับฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ด

ค้นพบวัตถุโบราณสองชิ้นที่มีต้นกำเนิดต่างกันที่ปรากฏให้เห็นเซเรคของฟาโรห์ ซึ่งพระนามดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก เนื่องจากสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณที่ใช้เขียนพระนามของฟาโรห์นั้นแทบจะอ่านไม่ออก แต่เนื่องจากมีการระบุเป็นภาพนกได้ ฟาโรห์พระองค์นี้จึงถูกเรียกว่า "ฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ด" นักไอยคุปต์วิทยา เช่น ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค และปีเตอร์ คาพลอนีได้เชื่อว่า ฟาโรห์สเนเฟอร์คา และ "ฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ด" ทรงรบกันเพื่อให้ได้ซึ่งพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ การรบดังกล่าวถึงจุดสูงสุดในการปล้นสุสานหลวงในอไบดอส ซึ่งถูกทิ้งร้างไปแล้วนั้น การรบเพื่อชิงพระราชบัลลังก์อาจจะสิ้นสุดลงโดยสถาปนาราชวงศ์ที่สองพระนามว่า โฮเทปเซคเอมวี และปรากฏหลักฐานชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้คือ พระนามฮอรัสของฟาโรห์โฮเทปเซคเอมวีที่ซึ่งแปลว่า "พลังทั้งสองกลับมาประนีประนอมกัน" และอาจจะเกี่ยวข้องกับการรวมอาณาจักรอียิปต์อีกครั้งหลังจากช่วงเวลาแห่งความวุ่นวาย[8][9][10]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร