ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์[1] เป็นกลุ่มของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณกลุ่มแรกที่ปกครองอียิปต์ที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังจากการผนวกรวมกันของอียิปต์บนและอียิปต์ล่างโดยฟาโรห์นาร์เมอร์[2] และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงต้นยุคราชวงศ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อำนาจมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไทนิส

ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ (แม่แบบ:ราว–3000 ปีก่อนคริสตกาล)
แผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ (แม่แบบ:ราว–3000 ปีก่อนคริสตกาล)
เมืองหลวงไทนิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

การระบุช่วงเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับการถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ของอียิปต์ ซึ่งอยู่ในช่วงต้นสมัยสัมฤทธิ์และมีการคาดคะเนกันไปต่างๆ นานาว่าเริ่มขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 34 ถึง 30 ก่อนคริสตกาล ในการศึกษาปี ค.ศ. 2013 ตามช่วงเวลาตามเรดิโอคาร์บอน จุดเริ่มต้นของราชวงศ์ที่หนึ่ง กล่าวคือ การขึ้นมามีอำนาจของฟาโรห์นาร์เมอร์ (หรือที่รู้จักกันทั่วไปในพระนาม เมเนส) ถูกกำหนดไว้ที่ 3100 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงระหว่างเวลาหนึ่งศตวรรษ (3218 – 3035 โดยมีความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95)[3] การขึ้นครองราชสมบัติของฟาโรห์พระองค์ที่ห้าแห่งราชวงศ์พระนามว่า เดน ได้ถูกกำหนดให้เป็น 3011–2921 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 65[4]

ราชวงศ์ที่หนึ่ง

ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์ที่หนึ่งได้มาจากอนุสรณ์สถานสองสามแห่งและโบราณวัตถุอื่นๆ ที่ปรากฏพระนามของเหล่าฟาโรห์ ซึ่งมีวัตถุโบราณที่มีความสำคัญ ได้แก่ แผ่นศิลานาร์เมอร์และหัวคทานาร์เมอร์ ตลอดจนรายพระนามของฟาโรห์เดนและฟาโรห์กาอา[5][6][7] ไม่ปรากฏบันทึกโดยละเอียดของสองราชวงศ์แรกที่หลงเหลืออยู่เลย ยกเว้นบันทึกรายการสั้น ๆ บนหินปาแลร์โม เรื่องราวในแอจิปเทียกาของมาเนโธนั้นได้ขัดแย้งกับทั้งหลักฐานทางโบราณคดีและบันทึกทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ โดยมาเนโธได้ตั้งพระนามของผู้ปกครองจำนวนเก้าพระองค์ของราชวงศ์ที่หนึ่ง และมีเพียงพระนามเดียวเท่านั้นที่ปรากฏพระนามตรงกับแหล่งข้อมูลอื่น และให้ข้อมูลของฟาโรห์เพียงแค่สี่พระองค์เท่านั้น[8] อักษรอียิปต์โบราณได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงเวลานั้น และรูปร่างของตัวอักษรจะถูกใช้โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเป็นเวลากว่าสามพันปี[ต้องการอ้างอิง]

อาเลนา บูอิส ได้ตั้งข้ออธิบายว่า

"หลุมฝังพระบรมศพขนาดใหญ่ของฟาโรห์ที่อไบดอสและนะกอดะ นอกเหนือจากสุสานที่ซักกอเราะฮ์และเฮลวานใกล้เมืองเมมฟิส เผยให้เห็นโครงสร้างส่วนใหญ่ที่สร้างจากไม้และอิฐโคลน มีการใช้หินเล็กน้อยสำหรับผนังและพื้น หินถูกใช้ในปริมาณมากสำหรับการผลิต เครื่องประดับ ภาชนะ และบางครั้งสร้างรูปสลัก ทามาริสก์ ("ทามาริสก์" หรือ "ซีดาร์เกลือ") ถูกนำมาใช้ในการสร้างเรือ เช่น เรืออไบดอส เทคนิคงานไม้พื้นเมืองที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งคือร่องและข้อต่อเดือย เดือยตายตัวทำขึ้นโดยการดัดปลายไม้ท่อนหนึ่งให้พอดีกับร่อง (รู) ที่ตัดเป็นไม้ท่อนที่ 2 รูปแบบของข้อต่อนี้โดยใช้เดือยกลายเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการต่อเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอียิปต์ และสร้างความแข็งแรงให้กับไม้สองแผ่นหรือส่วนประกอบอื่น ๆ โดยการใส่เดือยแยกเข้าไปในโพรง (ร่อง) ที่มีขนาดที่สอดคล้องกันกับที่ตัดในแต่ละส่วนประกอบ"

— อาเลนา บูอิส[9]

เอส.โอ.วาย. เคย์ตา นักมานุษยวิทยาชีวภาพได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะจากช่วงราชวงศ์ที่หนึ่งในสุสานของราชวงศ์ที่อไบดอส และสังเกตว่ารูปแบบกะโหลกที่เด่นชัดคือ รูปแบบ "ทางใต้" หรือ "แอฟริกาเขตร้อน" (แม้ว่าจะมีการสังเกตกะโหลกรูปแบบอื่นด้วย) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเมืองคูร์มาแห่งราชอาณาจักรคุช โดยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มากขึ้นกับกลุ่มคนจากลุ่มแม่นำ้ไนล์ตอนบน แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากแนวโน้มของรูปแบบกะโหลกศีรษะก่อนหน้านี้ การไหลเวียนของยีนและการเคลื่อนไหวของขุนนางทางตอนเหนือไปยังเมืองทางตอนใต้ที่สำคัญอาจอธิบายการค้นพบนี้ได้[10]

การบูชายัญมนุษย์

ปรากฏการบูชายัญมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมพระบรมศพที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์ทุกพระองค์ในราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งถูกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีอยู่ในราชวงศ์นี้โดยการฝังคนไว้ใกล้กับหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์แต่ละแห่งตลอดจนสัตว์ที่สังเวยเพื่อการฝังพระบรมศพ หลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์มีการฝังศพของบุคคลจำนวน 338 คน[11] ผู้คนและสัตว์ที่สังเวย เช่น ลา ซึ่งคาดว่าจะไปรับใช้ฟาโรห์ในพระชนม์ชีพหลังการสวรรคต ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุนี้การปฏิบัติพิธีกรรมดังกล่าวสิ้นสุดลงในช่วงที่ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ล่มสลาย

รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่หนึ่ง

พระนามรูปภาพคำอธิบายรัชสมัย
นาร์เมอร์เชื่อกันว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับฟาโรห์เมเนส และได้ทรงรวมอียิปต์บนและล่างเข้าด้วยกัน อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางนิธโฮเทป
ราว 3100 ปีก่อนคริสตกาล
ฮอร์-อฮาพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Athotís ทรงส่งคณะสำรวจไปยังดินแดนนิวเบีย ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเบเนอร์อิบและพระนางเคนทัป
ราว 3050 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจอร์พระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Uenéphes (ตามพระนามทองคำ In-nebw) พระองค์และพระราชอิสริยยศของพระองค์ปรากฏบนศิลาแห่งปาแลร์โม หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ถูกคิดว่าเป็นหลุมฝังพระบรมศพในตำนานของเทพโอซิริส
54 ปี[12]
ดเจตพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Usapháis อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอฮานิธ
10 ปี[13]
เมอร์นิธ
อาจนะทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรก

(หรือปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของฟาโรห์เดน ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ หรือปกครองในฐานะทั้งฟาโรห์/พระราชินีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) พระนางเมอร์นิธทรงถูกฝังใกล้กับฟาโรห์ดเจตและฟาโรห์เดน หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์มีขนาดเท่ากับสุสานของฟาโรห์ (พระองค์อื่นๆ) ในเวลานั้น[14]

ราว 2950 ปีก่อนคริสตกาล[15]
เดนพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Kénkenes (ต่อมาพระนามประสูติของพระองค์ที่ถูกเขียนในยุครามเสสว่า Qenqen[16]) ทรงเป้นฟาโรห์ฟาโรห์พระองค์แรกที่ปรากฏภาพสลักทรงสวมมงกุฏคู่ของอียิปต์ และทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงมีพระนามเต็ม เนชุต-บิติ
42 ปี[13]
อเนดจ์อิบพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Miebidós เป็นที่รู้จักจากพระนามเนบวิอันไม่เป็นมงคล
10 ปี
เซเมอร์เคตพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Semempsés ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระนามแรกที่ทรงพระนามเนบติ ช่วงเวลาแห่งรัชสมัยของพระองค์ปรากฏบนศิลาแห่งไคโร
8 1/2 ปี[13]
กาอาพระนามในภาษากรีกโบราณ คือ Bienéches ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลายาวนาน สุสานของพระองค์เป็นสุสานสุดท้ายที่มีสุสานย่อยภายใน
34 ปี
สเนเฟอร์คารัชสมัยของพระองค์สั้นมาก ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล
ฮอรัส เบิร์ดรัชสมัยของพระองค์สั้นมาก ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
ราว 2900 ปีก่อนคริสตกาล

อ้างอิง

บรรณานุกรม

ก่อนหน้าราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ถัดไป
อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 3100 – 2890 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง