ฟาโรห์ฮาคอร์

ฮาคอร์ หรือ ฮาการ์[3] หรือที่รู้จักกันอีกพระนามในภาษากรีกว่า อาคอริส หรือ ฮากอริส เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นจุดรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ที่อ่อนแอและมีระยะเวลาปกครองอันสั้นนี้ โดยพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 13 ปี ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของระยะเวลาทั้งหมดที่ราชวงศ์นี้ปกครองอียิปต์[4]

รัชสมัย

ความพยายามขึ้นมาสู่พระราชบัลลังก์

มีการถกเถียงมาเป็นระยะเวลายาวนานเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์ฮาคอร์และความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างพระองค์กับฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ และดูเหมือนว่าจะมีแก่งแย่งอำนาจภายในราชวงศ์ขึ้นภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1[5] โดยพระราชบัลลังก์ที่ว่างลงนั้นก็ถูกอ้างสิทธิ์โดยผู้อ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์จำนวนสองพระองค์หรืออาจจะสามพระองค์คือ ฟาโรห์คาฮอร์, ฟาโรห์พซัมมูเธส และฟาโรห์ปริศนานามว่า มูธิส ซึ่งถูกกล่าวถึงเฉพาะในบทสรุปงานเขียนแอจิปเทียกาของยูเซเบียสแห่งซีซาเรีย ด้วยเหตุนี้ ฟาโรห์ฮาคอร์จึงถูกมองว่าเป็นผู้สืบสันตติวงศ์ที่ถูกต้องและชอบธรรมของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 หรืออาจจะเป็นผู้ที่เข้ามาแย่งชิงพระราชบัลลังก์ที่มีไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายโลหิต

ในปี ค.ศ. 1986 จอห์น ดี. เรย์ ได้เสนอความเห็นว่า ฟาโรห์ฮาคอร์เป็นองค์รัชทายาทของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์อย่างราบรื่นจนถึงปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ พระองค์ทรงถูกฟาโรห์พซัมมูธิสขัออกจากพระราชบัลลังก์ แต่หลังจากผ่านไปอีกหนึ่งปี ฟาโรห์ฮาคอร์ก็ทรงสามารถยึดพระราชบัลลังก์อันชอบธรรมของพระองค์กลับคืนมาได้ด้วยการโค่นล้มพระราชอำนาจผู้แย่งชิงบัลลังก์ และพระองค์ยังคงทรงครองราชย์ต่อไปนับตั้งแต่วันบรมราชาภิเษกครั้งแรกของพระองค์ เพียงทรงแสร้งทำเป็นว่าการที่พระองค์ทรงขับออกจากพระราชบัลลังก์นั้นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ส่วนฟาโรห์มูธิส มีส่วนเป็นบุคคลที่สามที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแย่งชิงพระราชบัลลังก์นี้ แต่ไม่ทราบถึงว่าพระองค์ทรงทำอะไรในช่วงเวลาดังกล่าว ถ้าหากพระองค์ทรงมีตัวตนอยู่จริง[6] โดยข้อสมมติฐานของเรย์ได้เป็นที่ยอมรับโดยนักไอยคุปต์วิทยาคนอื่นๆ เช่น อลัน บี. ลอยด์[7] และโทบี วิลกินสัน[3]

เพียงระยะเวลาไม่นานหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ ฟาโรห์ฮาคอร์ก็ทรงถูกเรียกว่าเป็น "ผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์" โดยผู้สถาปนาราชวงศ์ต่อมาคือ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 แต่อย่างไรก็ตาม มีคนเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์ฮาคอร์และฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 อาจจะทรงเป็นพระญาติกันไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ที่กลับตั้งตนเป็นปรปักษ์ต่อกัน[5]

กิจกรรมภายในพระราชอาณาจักร

เมื่อพระองค์กลับขึ้นมาสู่พระราชบัลลังก์ได้อีกครั้ง ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงได้ใช้ความพยายามอย่างมาก เพื่อยืนยันความถูกต้องและชอบธรรมในพระราชอำนาจของพระองค์[4] โดยมุ่งเน้นไปการที่พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1[5][8] ซึ่งยังไม่ทราบเป็นเรื่องจริงหรือเท็จแต่อย่างใด โดยพระองค์โปรดให้มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่โดดเด่นและพระองค์ยังโปรดให้มีบูรณะปฏิสังขรณ์อนุสรณ์สถานซึ่งมากกว่าการบูรณะในช่วงรัชสมัยของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์อีกด้วย[8]

ฟาโรห์ฮาคอร์โปรดให้สร้างวิหารสำหรับเรือศักด์สิทธิ์แห่งอามุน-ราขึ้นในเมืองคาร์นัก ใกล้กับบริเวณเสาแรก ซึ่งเริ่มสร้างโดยฟาโรห์พซัมมูธิส หรืออาจเป็นไปได้ว่าโดยฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1[9] พระองค์อาจโปรดให้สร้างศาสนวิหารในส่วนเหนือของซัคคารา ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณะเพิ่มเติมภายหลังในรัชสมัยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2[10] โดยกิจกรรมการสร้างของพระองค์ได้รับการพิสูจน์อย่างดีในสถานที่ต่างๆ ในบริเวณอียิปต์บน (เช่น ลักซอร์, เมดิเนต ฮาบู, อัลคับ, เอ็ฏฏ็อด, เมดามุด, แอลเลเฟนไทน์) ในวิหารแห่งฮิบิสในโอเอซิสคัรเคาะ รวมถึงสถานที่อื่นๆ ในบริเวณอียิปต์กลาง[11]

ความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนภายนอก

เห็นได้ชัดว่า ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงสานต่อพระราชนโยบายกับต่างดินแดนของฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ในสุขนาฏกรรมเรื่องพลูตุสของอริสโตฟาเนส ซึ่งได้จัดการแสดงขึ้นในช่วง 388 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการกล่าวถึงพันธมิตรระหว่างชาวเอเธนส์กับชาวอียิปต์ ถึงแม้ว่าจะตั้งใจจะอ้างถึงการสนับสนุนของเอเธนส์ในการก่อกบฏของกษัตริย์อีวากอรัสที่ 1 แห่งไซปรัส ซึ่งตัวของกษัตริย์อีวากอรัสเองก็เป็นพันธมิตรกับฟาโรห์ฮาคอร์ ในการต่อต้านจักรวรรดิอะคีเมนิด และธีโอปอมปุสก็ยังกล่าวถึงการเป็นพันธมิตรระหว่างฟาโรห์ฮาคอร์และชาวพิซิเดีย การทำพันธสัญญาสงบศึกแห่งอันตัลซิดัสระหว่างชาวเปอร์เซียและชาวกรีก (ในช่วง 387 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ หลังจากนั้นอียิปต์และไซปรัสยังคงเป็นคู่ต่อสู้เพียงฝ่ายเดียวของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ตามที่กล่าวโดยธีโอปอมปุสและออโรซิอุส หลังจากนั้นอีกหลายปีกลับมีความคลุมเครือ แต่ดูเหมือนว่าชาวเปอร์เซียโจมตีจะอียิปต์ครั้งแรกใน 385 ปีก่อนคริสตกาลและหลังจากระยะเวลาสามปีแห่งสงคราม ชาวอียิปต์ก็สามารถเอาชนะผู้รุกรานได้[12][13][14]

ในช่วง 381 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงส่งความช่วยเหลือ เงิน และกองเรือจำนวนห้าสิบลำ (แต่เห็นได้ชัดว่าไม่มีการส่งลูกเรือไปด้วย) ไปยังกษัตริย์อีวากอรัส เพื่อมีส่วนร่วมในการต่อต้านกษัตริย์จากจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งหลังจากการดำเนินการทางทหารที่ไม่ประสบความสำเร็จในอียิปต์ และในช่วงเวลาดังกล่าวกำลังมุ่งความสนใจไปที่เกาะไซปรัส อย่างไรก็ตาม ในช่วง 380 ปีก่อนคริสตกาลหรือในอีกหนึ่งปีต่อมา กษัตริย์อีวากอรัสได้เสด็จมายังอียิปต์เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม แต่ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องให้การสนับสนุนพระองค์อีกต่อไปและส่งพระองค์กลับไปที่ไซปรัสด้วยเงินเพียงบางส่วน[15][16] ไม่นานหลังจากนั้น กษัตริย์อีวากอรัสก็ได้พ่ายแแพ้ต่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 แต่ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสปาร์ตาและกลอส ในขณะที่บุตรชายของนายพลชาวอียิปต์นามว่า ทาโมส ซึ่งเป็นผู้สวามิภักดิ์และสนับสนุนไซรัส ผู้เยาว์ ผู้ซึ่งอ้างสิทธ์ในพระราชบัลลังก์จักรวรรดิอะคีเมนิด ต่อต้านกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 ฟาโรห์ฮาคอร์ก็ทรงนำแม่ทัพชาบริอุสแห่งอาเธนส์เข้ามารับราชการภายในราชสำนักของพระองค์ แต่นายพลชาวเปอร์เซียนามว่า ฟาร์นาบาซูสที่ 2 ได้โน้มน้าวให้ชาวเอเธนส์เรียกตัวเขากลับมายังดินแดนกรีกดังเดิม[15]

การสวรรคตและการสืบสันตติวงศ์

ฟาโรห์ฮาคอร์เสด็จสวรรคตในช่วง 379 หรือ 378 ปีก่อนคริสตกาล[2] พระองค์ได้ทรงมอบพระราชบัลลังก์ของพระองค์ไว้กับฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรส อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 ทรงสามารถครองพระราชบัลลังก์ไว้ได้เพียงสีเดือนเท่านั้นก่อนที่จะทรงโดนโค่นล้มพระราชบัลลังก์ โดยนายพลกองทัพจากเมืองเซเบนนิโตส ซึ่งในภายหลังก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นฟาโรห์พระนามว่า เนคทาเนโบที่ 1[3]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Clayton, Peter (1994). Chronicle of the Pharaohs. London: Thames & Hudson Ltd. ISBN 9780500050743.
  • Depuydt, Leo (2006). "Saite and Persian Egypt, 664 BC - 332 BC". ใน Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. Brill, Leiden/Boston. pp. 265–283. ISBN 978-90-04-11385-5.
  • Fine, John V. A. (1983). The Ancient Greeks: A critical history. Harvard University Press.
  • Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. p. 512. ISBN 9780631174721.
  • Lloyd, Alan B. (1994). "Egypt, 404–322 B.C.". ใน Lewis, D.M.; Boardman, John; Hornblower, Simon; และคณะ (บ.ก.). The Cambridge Ancient History (2nd ed.), vol. VI – The Fourth Century B.C. Cambridge University Press. pp. 337–360. ISBN 0-521-23348-8.
  • Ray, John D. (1986). "Psammuthis and Hakoris". The Journal of Egyptian Archaeology. 72: 149–158. doi:10.1177/030751338607200112. S2CID 192348366.
  • Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. p. 672. ISBN 978-1-4088-10026.

แหล่งที่มาอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร