ฟาโรห์เซนุตเรสที่ 4

เซนุสเรตที่ 4 เซเนเฟอร์อิบเร (อังกฤษ: Senusret IV) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในช่วงปลายสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 ซึ่งปรากฏหลักฐานยืนยันที่ถูกค้นพบเพียงแค่ในพื้นที่อียิปต์บนเท่านั้น โดยมีความไม่ชัดเจนในตำแหน่งตามลำดับเวลา รวมถึงราชวงศ์ของพระองค์เช่นกัน

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

ตามการสันนิษฐานของเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ ได้ระบุให้ พระองค์เป็นฟาโรห์จากช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสาม[4][5] ในขณะที่ รีฮอล์ตได้จัดให้พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยมีตำแหน่งที่ไม่แน่นอนภายในราชวงศ์[6] อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง นอร์เบิร์ต เดาท์เซนเบิร์ก ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ด โดยข้อสมมติฐานของเดาท์เซนเบิร์กนี้มีพื้นฐานมาจากบันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 14 บรรทัดที่ 4 ซึ่งปรากฏพระนามที่เชื่อว่าเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 นอกจากนี้ เขายังระบุข้อความบนประตูของวิหารในเมดามุดที่กล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "เซนุสเรต" ซึ่อาจจะเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 เนื่องจากประตูดังกล่าวได้รับการตกแต่งโดยฟาโรห์โซเบคเอมซาฟที่ 1 ซึ่งทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[7] แต่รีฮอล์ตปฏิเสธข้อสันนิษฐานทั้งสองข้อ โดยในข้อแรก รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสังเกตว่า บันทึกพระนามแห่งตูรินในคอลัมน์ที่ 11 บรรทัดที่ 4 ไม่สอดคล้องกับพระนามครองพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 และข้อที่สอง เขาสังเกตว่าประตูของวิหารในเทดามุดถูกโปรดให้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ดังนั้น การกล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "เซนุสเรต" นั้นจึงน่าจะหมายถึง ฟาโรห์พระองค์นี้แทนที่จะเป็นฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ในการจัดเรียงตำแหน่งฟาโรห์ใหม่นั้น[8] ยังคงไม่ชัดเจนเกี่ยวกับราชวงศ์ของพระองค์ โดยจะจัดให้อยู่ในช่วงกว้างๆ คือช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสามจนถึงช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

หลักฐานยืนยัน

ปรากฏพระนามของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 บนบันทึกพระนามแห่งคาร์นักในพระนามครองพระราชบัลลังก์พระนามว่า "เซเนเฟอร์[...]เร" และค้นพบหลักฐานยืนยันร่วมสมัยที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือรูปสลักขนาดมหึมาขนาดสูง 2.75 เมตร แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีชมพู และค้นพบในคาร์นักเมื่อปี ค.ศ. 1901 โดยฌอร์ฌ เลอแยง[9] ทั้งนี้ ยังค้นพบหลักฐานยืนยันชิ้นอื่นๆ ได้แก่ บล็อกศิลาจากเอ็ฏโฏด และมุมขวาบนของจารึกศิลาที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1907 โดยเลอแยงในคาร์นัก โดยระบุช่วงเวลาในวันที่ 2 ฤดูเชมู เดือนที่ 1ของปีที่หนึ่งแห่งการครองราชย์ของพระองค์[6] ค้นพบทับหลังจากเอ็ดฟู และใบมีดขวาน ซึ่งปรากฏพระนาม เซนุสเรต ซึ่งอาจจะเป็นพระนามของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ตามการพิจารณาจากรูปแบบ[6] แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีของใบมีดขวาน บางคนอาจจะระบุว่าเป็นของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 แทน[10]

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร