ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเตปที่ 3

เซคเอมเร สอังค์ทาวี เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 อิย์เคอร์โนเฟรต (อังกฤษ: Neferhotep III) หรือเรียกว่า เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สามหรือสี่จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยพระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ริโฮลต์และดาร์เรลล์ เบเกอร์ ระบุไว้[1][2] ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์อยู่ที่ 1 ปี และปรากฏหลักฐานยืนยันที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เป็นหลักเพียงชิ้นเดียว คือ จารึกศิลาจากเมืองธีบส์[1] ในการศึกษาที่มีเก่ากว่าของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ ได้ระบุให้พระองค์อยู่ในช่วงสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[3]

พระราชอาณาเขตในการปกครอง

ในจารึกศิลาที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก (Cairo JE 59635 [CG 20799])[4][5] ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงเรียกเมืองธีบส์ว่า "เมืองของข้าพเจ้า" และยกย่องพระองค์เองว่าเป็น "ผู้ทรงนำทางแห่งชัยชนะของธีบส์"[6] โดยรีฮอล์ตเข้าใจการเน้นเกี่ยวกับเมืองธีบส์ของพระองค​์นั้น แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงปกครองและมีอำนาจครอบคลุมบริเวณธีบส์แต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ เบเกอร์ยังชี้ให้เห็นถึงการขาดหลักฐานยืนยันร่วมสมัยทั้งหมดของเหล่าฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบหก (ยกเว้นฟาโรห์เบบิอังค์ และฟาโรห์เนบิไรรอที่ 1) นอกหุบเขาแม่น้ำไนล์ที่ทอดยาว 200 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองธีบส์นับตั้งแต่เมืองฮู ซึ่งอยู่ทางเหนือ จรดเมืองเอ็ดฟู ซึ่งอยู่ทางใต้[2] การที่ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงปกครองมากกว่าบริเวณธีบส์เดิมเล็กน้อยนั้นได้รับการเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยปรากฏตามจารึกศิลของผู้สืบทอดพระราชบลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ ซึ่งพระองค์ไว้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าคือฟาโรห์ในเมืองธีบส์ นี่คือเมืองของข้าพเจ้า"

เหตุการณ์ภายในรัชสมัย

ในจารึกศิลาของดังกล่าว ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงเน้นบทบาทของพระองค์ในฐานะผู้จัดหาอาหารให้กับประชาชนของพระองค์โดยระบุว่า "พระองค์ ผู้ทรงหล่อเลี้ยงเมืองของพระองค์ให้รอดพ้นจากการกันดารอาหาร"[7] พร้อมกับพระนาม "เซคเอมเร สอังค์ทาวี พลานุภาพแห่งเทพรา พระองค์ ผู้ทรงหล่อเลี้ยงสองดินแดน" แสดงให้เห็นว่าเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าบริเวณอียิปต์บนต้องทนทุกข์ทรมานจากความอดอยากในสมัยช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหก และฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 4 ก็ทรงออกพระนามที่มีลักษณะคล้ายกับพระนามของพระองค์เช่นกัน

ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ทรงต้องเข้าไปพัวพันกับสงครามป้องกันจากการรุกรานของราชวงศ์ที่สิบห้าของชนชาวฮิกซอส ซึ่งท้ายที่สุดก็สามารถเข้ายึดครองเมืองธีบส์ของราชวงศ์ที่สิบหกในเวลาต่อมา โดยพระองค์ทรงยกย่องพระองค์เองในจารึกศิลาว่า "พระองค์ ผู้ซึ่งยกเมืองของพระองค์ขึ้น จากการจมอยู่ในความขัดแย้งกับชาวต่างชาติ"[1] และเชื่อกันว่าในจารึกศิลาดังกล่าวมีการกล่าวถึงมงกุฎเคเพรส ซึ่งเป็นการกล่าวถึงมงกุฏดังกล่าวครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ โดยพระองค์ทรงได้รับการกล่าวขานว่า "ทรงประดับด้วยมงกุฏเคเพรส ภาพที่มีพระชนม์ชีพของเทพรา เจ้าแห่งความหวาดกลัว"[8] ด้วยเหตุผลที่ยากจะเข้าใจจารึกศิลา ฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 ยังทรงถูกกล่าวถึงโดยฉายาว่า อิย์เคอร์โนเฟรต ที่จารึกไว้ในคาร์ทูธ:[4][9]

<
M18T28
r
nfrt
Z2
>

ภายหลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระองค์แล้ว ฟาโรห์เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ ก็ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็นระยะเวลาสั้นเช่นกัน

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร