มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4 (อังกฤษ: George IV State Diadem) เป็นมงกุฎเพชรที่ไม่มีส่วนโค้งด้านบน เรียกว่า "เดียเด็ม" (Diadem) ซึ่งจัดเป็นประเภทหนึ่งของมงกุฎ สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในปีค.ศ. 1820 เพื่อใช้เป็นหนึ่งในมงกุฎสำคัญของพระองค์ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั้งในธนบัตร เหรียญกษาปน์ และแสตมป์ต่างๆ ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งนอกจากความสวยงามของมันแล้ว ยังมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลน์อีกด้วย ดังนั้นมงกุฎองค์นี้จะเป็นองค์ที่สมเด็จพระราชินีนาถฯ จะทรงค่อนข้างบ่อย และพบเห็นได้บ่อยที่สุดองค์หนึ่ง

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4
George IV State Diadem

สมเด็จพระราชินีนาถทรงมงกุฎองค์นี้ปรากฏอยู่บนแสตมป์แห่งไอร์แลนด์เหนือ
รายละเอียด
สำหรับ สหราชอาณาจักร
ผลิตเมื่อค.ศ. 1820
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
วัตถุดิบหลักเงิน และทองคำ
วัสดุซับในไม่มี
อัญมณีสำคัญเพชร 1,333 เม็ด (รวม 325.75 กะรัต), ไข่มุก รวม 169 เม็ด


การออกแบบ

โครงทำจากเงินตกแต่งขอบด้วยทองคำ และตกแต่งด้วยเพชรเม็ดแวววาว โดยฐานมงกุฎจะมีความแคบกว่ามงกุฎทั่วไป ประดับเพชรและขนาบบนล่างด้วยไข่มุก ถัดขึ้นไปจากฐาน เป็นกางเขนแพตตี สลับกับเฟลอร์ เดอ ลีส (อีกแล้ว) จำนวนอย่างละ 4 ดอก ซึ่งบริเวณดอกหน้านั้นประดับด้วยเพชรสีเหลืองส่องสว่าง จะสังเกตว่าเฟลอร์เดอลีสของมงกุฎนี้มีลักษณะสำคัญคือ ประกอบด้วยดอกและใบไม้รวมทั้งหมดสามชนิด ซึ่งหมายความถึงสัญลักษณ์ประจำชาติของอังกฤษ (กุหลาบ) สกอตแลนด์ (ดอกธิสเทิล) และไอร์แลนด์ (ใบโคลเวอร์สามแฉก หรือแชมร็อค)

มงกุฎองค์นี้ ประกอบด้วยเพชรถึง 1,333 เม็ด (ทั้งหมด 325.75 กะรัต) รวมถึงเพชรสีเหลืองขนาดสี่กะรัตด้านหน้ากางเขนกลาง และไข่มุกทั้งหมด 169 เม็ด มงกุฎองค์นี้ถูกทรง (และปรับเปลี่ยนตามพระราชวินิจฉัยอยู่เนืองๆ) โดยสมเด็จพระราชินี (มเหสี) และสมเด็จพระราชินีนาถ (กษัตริย์) ในอดีตหลายพระองค์ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีอเดลเลดเป็นต้นมา

โดยลักษณะอันอรชรสวยงามของมงกุฎองค์นี้ขัดกับที่มานัก เนื่องจากถูกสร้างขึ้นสำหรับบุรษ คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1821 ซึ่งในครั้งนั้น พระองค์ทรงมงกุฎองค์นี้ทับลงบนหมวกปีกแบบสเปนทำจากกำมะหยี่ขนาดใหญ่ ในระหว่างพิธีที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปยังมหาวิหารเวสมินสเตอร์[1]

ประวัติ

มงกุฎองค์นี้ทำขึ้นโดย ห้างรันเดลส์ แอนด์ บริดจ์ ในปีค.ศ. 1820 และเสร็จในปีเดียวกันนั้น ออกแบบโดยหัวหน้าผู้ออกแบบ ฟิลิปป์ ลีบาร์ท ซึ่งมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์ที่จะทรงไม่ใช้ มงกุฎอิมพิเรียลสเตต ในพระราชพิธี แต่จะเปลี่ยนเป็นอีกแบบหนึ่งที่มีสัญลักษณ์สำคัญของประเทศ นั่นคือ เฟลอร์เดอลิสแบบพิเศษ

มงกุฎองค์นี้ถูกทรงโดยสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา (ประทับนั่ง) พระบรมราชินีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ (ประทับยืน)

ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการทำมงกุฎนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 8,216 ปอนด์ รวมถึงค่าเช่าเพชร 800 ปอนด์ ซึ่งในอดีตนิยมกระทำกันจนกระทั่งปีค.ศ. 1837 โดยจะคิดค่าเช่าจากมูลค่ารวมทั้งหมดของเพชรที่ใช้ และเมื่อในครั้งนั้นงานพระราชพิธีได้ถูกยืดออกไปหนึ่งปีเนื่องจากติดพันกับคดีความเกี่ยวกับสมเด็จพระราชินีแคโรไลน์ ทำให้ค่าเช่านั้นสูงขึ้นไปอีกมาก ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังจากเสร็จพิธีลง จะต้องส่งเพชรคืนให้กับห้างรันเดลส์ แต่ในครั้งนั้นไม่พบการขนส่งใดๆคืนให้กับห้าง จึงได้สันนิษฐานกันว่า ด้วยความสวยและสง่างามของมงกุฎองค์นี้ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4ได้ทรงต่อรองซื้อไว้ โดยจ่ายเป็นเงินส่วนหนึ่ง และจ่ายเป็นการแลกกับเพชรส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง เพื่อเก็บรักษามงกุฎองค์นี้ไว้ เพียงแต่ยังไม่พบหลักฐานการซื้อใดๆจากห้าง[2]

ในอดีต มงกุฎองค์นี้ทรงใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับจากมหาวิหารเวสมินส์เตอร์ และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระราชินีอีกหลายพระองค์

ในปัจจุบัน มงกุฎองค์นี้จะทรงโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินไปและกลับจากรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร