มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์ (อังกฤษ: Oxford Brookes University) เป็นมหาวิทยาลัยแบบไม่มีคณะอาศัย ตั้งในบริเวนชานเมืองออกซฟอร์ด โดยแปรสภาพจากวิทยาลัยศิลปะออกซฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2535 ชื่อของมหาวิทยาลัยมาจากการผนวกชื่อเมืองเข้ากับชื่อของจอห์น เฮนรี บรูกส์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2408 (วิทยาลัยศิลปะออกซฟอร์ด)
พ.ศ. 2434 (วิทยาลัยเทคนิคนครออกซฟอร์ด)
พ.ศ. 2499 (วิทยาลัยเทคโนโลยีออกซฟอร์ด)
พ.ศ. 2513 (วิทยาลัยสารพัดช่างออกซฟอร์ด)
พ.ศ. 2535 (มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์)
ที่ตั้ง,
อังกฤษ สหราชอาณาจักร

51°45′15.36″N 1°13′21.72″W / 51.7542667°N 1.2227000°W / 51.7542667; -1.2227000
วิทยาเขตชานเมืองและนอกเมือง
สี
          
เครือข่ายยูนิเวอร์ซิตีอัลไลอันซ์
ยูนิเวอร์ซิตียูเค
สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ
เว็บไซต์http://www.brookes.ac.uk
ระวังสับสนกับ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยมีคณะอาศัยและตั้งในตัวเมืองที่มีชื่อเดียวกัน

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์ เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ติดอันดับ 50 ตามการจัดอันดับของ QS[1] มีชื่อเสียงทางด้านการออกแบบและการโรงแรม และถือเป็นนายจ้างรายใหญ่รายหนึ่งในเมืองออกซฟอร์ด[2]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดบรูกส์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2408 ในชื่อวิทยาลัยศิลปะออกซฟอร์ด ตัววิทยาลัยในขณะนั้นเป็นห้องชั้นล่างของสถาบันเทย์เลอร์ ในบริเวณคณะเซนต์ไจลส์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (St Giles', Oxford)[3] ห้าปีถัดมา ได้มีการเพิ่มคณะวิชาช่างเข้าไป เป็นผลให้วิทยาลัยเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครออกซฟอร์ด (Oxford City Technical School) ครั้นปี พ.ศ. 2477 จอห์น เฮนรี บรูกส์ (John Henry Brookes) คณบดีคณะศิลปะและรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดการรวมคณะวิชาช่างและคณะศืลปะเข้าด้วยกัน ก่อนขึ้นเป็นอธิการบดีสถาบันที่ควบรวมเข้าด้วยกัน[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 วิทยาลัยมีนักศึกษาทั้งสิ้น 4,000 คน เป็นผลให้มีการย้ายที่ตั้งของวิทยาลัยจากที่เดิมตั้งที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดออกมายังที่ดินซึ่งตระกูลมอร์เรลล์ (Morrell) อุทิศให้ ครั้นย้ายที่ตั้งแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีออกซฟอร์ด (Oxford College of Technology) ในปี พ.ศ. 2499 และใช้ชื่อวิทยาลัยสารพัดช่างออกซฟอร์ด (Oxford Polytechnic) ในปี พ.ศ. 2513 หกปีต่อมา วิทยาลัยท่านผู้หญิงสเปนเซอร์ เชอร์ชิลล์ ถูกควบรวมเข้ากับวิทยาลัยสารพัดช่างฯ ในที่สุดเมื่อมีการตราพระราชบัญญีติการศึกษาต่อเนื่องและอุดมศึกษา จึงได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยได้รับสถานะแฟร์เทรด เป็นมหาวิทยาลัยแรกของโลก[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยฉลองการกำเนิดครบรอบ 150 ปี[6]

ส่วนงาน

มหาวิทยาลัยมีคณะทั้งสิ้น 4 คณะ ซึ่งปรับจากเดิมที่มี 8 สำนักวิชา ดังนี้[7]

  คณะบริหารธุรกิจออกซฟอร์ดบรูกส์

  • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
  • ภาควิชาการจัดการโรงแรม

  คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและชีวภาพ

  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์
  • ภาควิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
  • ภาควิชาจิตวิทยา สุขภาพ และการพัฒนาอาชีพ
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬาและสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • ภาควิชาศึกษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาสมัยใหม่
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวัฒนธรรม
  • ภาควิชานิติศาสตร์
  • สถาบันบริการสาธารณะ
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์

  คณะเทคโนโลยี การออกแบบ และสิ่งแวดล้อม

  • ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์
  • ภาควิชาสิ่งแวดล้อมการก่อสร้าง
  • ภาควิชาเทคโนโลยีการคณนาและการสื่อสาร
  • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและคณิตศาสตร์

ที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตสี่แห่ง โดยสามแห่งอยู่ที่เมืองออกซฟอร์ด ส่วนอีกแห่งอยู่ที่เมืองสวินดอน

วิทยาเขตเฮดดิงตัน (Headington Campus) ตั้งอยู่ที่ด้านทิศตะวันออกของเมืองออกซฟอร์ด ห่างจากคณะมอดลิน (Magdalen College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของภาควิชาส่วนใหญ่ อาคารอำนวยการ (อาคารจอห์น เฮนรี บรูกส์)[8] และหอพักนักศึกษา อาทิ เครสเซนต์ เชอนีย์ คลีฟ วอร์นฟอร์ด และพอลเคนต์

วิทยาเขตวีตลีย์ (Wheatley Campus) ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านวีตลีย์ ห่างจากเมืองออกซฟอร์ดไปทางตะวันออกประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นสถานที่ตั้งแผนกวิชาธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรม

วิท่ยาเขตฮาร์คอร์ตฮิลล์ (Harcourt Hill Campus) ตั้งที่เนินฮาร์คอร์ตฮิลล์ ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเบาและพาณิชยกรรมของเมือง เป็นสถานที่ตั้งแผนกวิชาครุศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา สื่อสารมวลชน และยังเป็นที่ตั้งหอพักนักศึกษาอีกด้วย

วิทยาเขตสวินดอน (Swindon Campus) ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2559[9]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร