มานูเอล เอเล. เกซอน

มานูเอล ลุยส์ เกซอน อี โมลีนา (สเปน: Manuel Luis Quezón y Molina) หรือ มานูเวล ลูวิส โมลีนา เคโซน (ฟิลิปปินส์: Manuel Luis Molina Quezon; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นรัฐบุรุษ ทหาร และนักการเมืองฟิลิปปินส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2478–2487 เกซอนเป็นคนฟิลิปปินส์คนแรกที่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลของฟิลิปปินส์ทั้งหมด[1] (เมื่อเทียบกับรัฐบาลของรัฐฟิลิปปินส์ก่อนหน้านี้) และถือว่าเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่สองหลังจากเอมิลิโอ อากินัลโด (พ.ศ. 2442–2444) เขาเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายสเปน โดยพ่อและแม่ของเขาเป็นเมสติโซ (ลูกครึ่งชาวพื้นเมืองกับชาวสเปน)

มานูเอล เอเล. เกซอน
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
ก่อนหน้าเอมิลิโอ อากินัลโด
ถัดไปโฮเซ ลอเรล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2421
เสียชีวิต1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (65 ปี)
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคนาซิโอนาลิสตา
คู่สมรสเอาโรรา เกซอน
ลายมือชื่อ

เกซอนเป็นประธานวุฒิสภาคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งระดับชาติ และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งในการเลือกตั้งใหม่ (เป็นวาระที่สองต่อเนื่องมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2478)[2] สำหรับการผลักดันรัฐบัญญัติฉบับที่ 184 เพื่อจัดตั้งสถาบันภาษาแห่งชาติและกำหนดภาษาประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ เกซอนได้รับการติดยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งภาษาประจำชาติ" ของประเทศ

ในช่วงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกซอนจัดการปัญหาของชาวนาไร้ที่ดินในชนบท การตัดสินใจที่สำคัญอื่น ๆ ของเขา ได้แก่ การปฏิรูปการป้องกันประเทศของหมู่เกาะ การอนุมัติข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของรัฐบาล การส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาในมินดาเนา[3] การจัดการกับการค้าประเวณีและการค้าแรงงานของฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปที่ดินและการต่อต้านการรับสินบน และการทุจริตภายในรัฐบาล เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในสหรัฐอเมริกาหลังการปะทุของสงครามและการรุกรานของญี่ปุ่น

ในช่วงที่เขาพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา เขาถึงแก่อสัญกรรมจากวัณโรคที่หมู่บ้านแซราแน็กเลก (Saranac Lake) ในนิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตันจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ศพของเขาจึงถูกย้ายไปที่กรุงมะนิลา สถานที่พักผ่อนสุดท้ายของเขาคือวงเวียนอนุสรณ์เกซอน (Quezon Memorial Circle)[4]

ในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการมูลนิธิราอูล วัลเลินแบร์ย นานาชาติ ได้มอบรางวัลเหรียญวัลเลินแบร์ยให้แก่ประธานาธิบดีเกซอนและประชาชนชาวฟิลิปปินส์จากความพยายามช่วยเหลือเหยื่อพันธุฆาตชาวยิวในช่วงปี พ.ศ. 2480–2484 ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 และมารีอา เซเนย์ดา เกซอน อาบันเซญญา ซึ่งมีอายุ 94 ปี และเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีได้รับมอบรางวัลแทน

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง