ยกสยามปี 1

ยกสยาม เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน ออกอากาศตั้งแต่ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.30 - 18.55 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 18.30 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล โดยปีสองของรายการ ดูที่ ยกสยามปี 2

ยกสยามปี 1

ยกสยาม
ยกสยาม
ออกอากาศ18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 7 มกราคม พ.ศ. 2552
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
ผู้ดำเนินรายการปัญญา นิรันดร์กุล
ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานแผ่นประกาศนียบัตรจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ม.ว.ก. [1] เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม

กติกาการแข่งขัน

กติกาทั่วไป

การแข่งขันแบ่งเป็น 19 สาย สายละ 4 ทีม แต่ละรอบ จะแข่งรอบละ 2 จังหวัด จังหวัดหนึ่งจะมีตัวแทน 10 ท่าน ซึ่งมีอาชีพแตกต่างกัน โดยมีหัวหน้าทีมเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนั้นๆ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยเป็นคำถามแบบตัวเลือกสองข้อ (ก และ ข) โดยพิธีกรจะให้เวลาปรึกษาในทีม 1 นาที เมื่อหมดเวลา หัวหน้าทีมจะยกป้ายคำตอบก่อน แล้วลูกทีมจึงยกป้ายคำตอบพร้อมกัน ทีมใดทำคะแนนได้ถึง 5 ข้อก่อน (สายที่ 1-9) หรือ 3 ข้อก่อน (สายที่ 10 เป็นต้นไป) จะเป็นผู้ชนะ เจอ กับอีก 2 จังหวัดที่แข่งขันกัน ชนะ พบกับทีมชนะ เพื่อหาทีมชนะของแต่ละสาย เข้ารอบที่ 1 รอบชิงสาย จนกระทั่งมีทีมชนะเพียงทีมเดียวเข้าชิงเงินรางวัล 10 ล้านบาท

การยกป้ายคำตอบ

การยกป้ายคำตอบในเกมจะมีสองลักษณะ คือ การยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีม คือการที่ทีมจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีมทั้งจังหวัด หากปรากฏว่าเป็นคำตอบที่ผิดจะต้องตกรอบไปทั้งทีมทั้งจังหวัด แต่ตั้งแต่คู่ระหว่างสุโขทัยและนนทบุรีในรอบที่ 2 เป็นต้นไป ถ้าตอบเหมือนกันหมดทั้ง 20 คน และตอบถูกก็จะเข้ารอบไปทั้ง 2 จังหวัด และการยกป้ายคำตอบแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการยกป้ายคำตอบคละกันระหว่าง ก และ ข หากทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกมากที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะได้คะแนนไป และทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกน้อยที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะไม่ได้คะแนนไป หรือถ้าจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบของทีมจังหวัดตัวเองต่างกันซึ่งป้ายคำตอบเหมือนกันทั้ง 2 จังหวัดด้วย จะได้คะแนนทีมละ 1 คะแนน ถือว่าเสมอเท่ากัน ไม่ว่าทีมจังหวัดจะยกป้ายคำตอบถูกมากหรือน้อย แต่ถ้าทั้ง 2 ทีมจังหวัดมีคะแนน 5 คะแนน (สายที่ 1-9) หรือ 3 คะแนน (สายที่ 10 เป็นต้นไป) เท่ากันทั้ง 2 ทีมจังหวัด จะต้องเล่นเกมตอบคำถามตัดสินในข้อต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทีมจังหวัดที่ชนะเข้ารอบต่อไปได้ หรือตกรอบทั้ง 2 จังหวัด หรือเข้ารอบทั้ง 2 จังหวัด

รอบที่ 3

จะใช้การแข่งขันทั้งหมด 3 ชุด โดยกติกาอื่นๆ ยังคงเดิม ถ้าจังหวัดใดทำคะแนนได้ 2 ชุดใน 3 ชุดก่อนก็จะเข้าสู่รอบที่ 4 ในกรณีที่ต้องเล่นชุดตัดสิน จะต้องเล่นเกมตอบคำถามตัดสินทีละข้อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทีมจังหวัดที่ชนะเข้ารอบต่อไปได้

รอบที่ 4

มีทีมเข้ารอบทั้งหมด 5 ทีม โดยจะแข่งแบบพบกันหมด ทีมละ 4 นัด โดยกติกาทีมใดได้ 5 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะจะได้ 1 คะแนน ส่วนผู้แพ้จะไม่มีคะแนน เมื่อแข่งครบทีมละ 4 นัด ทีมที่มีคะแนนรวมมากเป็นอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 จะเข้าไปชิงชนะเลิศ

รอบชิงชนะเลิศ

จะมีทั้งหมด 3 ยก แต่ละยกจะมีกติกาที่แตกต่างกัน โดยยกที่ 1 และยกที่ 2 ผู้ชนะจะได้ 1 คะแนน ส่วนในยกที่ 3 ผู้ชนะจะได้ 2 คะแนน เมื่อแข่งครบ 3 ยกจังหวัดที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ในกรณีที่เสมอกัน 2 ต่อ 2 คะแนนจะมียกตัดสิน

ยกที่ 1

ยกที่ 1 เป็นการแข่งแบบเล่นเดี่ยว โดยเริ่มแรกพิธีกรจะเกริ่นนำก่อนเข้าสู่คำถาม จากนั้นจังหวัดจะต้องส่งตัวแทนมาตอบคำถามทีละคนภายในเวลา 30 วินาที จากนั้นจึงเข้าสู่คำถาม โดยตัวแทนจะมีเวลา 30 วินาทีในการตัดสินใจตอบ ใครตอบผิดก็จะโดนคัดออก จนเหลือคนสุดท้ายคือหัวหน้าทีม จังหวัดใดที่สมาชิกในทีมต้องออกจากการแข่งขันหมดก่อนจะเป็นผู้แพ้

ยกที่ 2

ยกที่ 2 เป็นการแข่งระหว่างหัวหน้าทีมกับลูกทีม 1 ต่อ 9 การตอบคำถามเหมือนยกที่ 1 โดยหัวหน้าทีมเป็นผู้เลือกลูกทีมฝั่งตรงข้ามขึ้นมาตอบคำถาม ถ้าหัวหน้าทีมตอบถูก และลูกทีมฝั่งตรงข้ามตอบผิด จะถือว่าหัวหน้าสามารถปราบได้ แต่ถ้าหัวหน้าทีมตอบผิดเกมจะยุติทันที และนับจำนวนคนที่หัวหน้าทีมปราบได้ ทีมไหนที่หัวหน้าทีมปราบได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะในยกนี้

ยกที่ 3

ยกที่ 3 ใช้กติกาแบบดั้งเดิมของรายการ แข่งขันแบบ 10 ต่อ 10 แต่รูปแบบที่แตกต่างออกไปคือ จะปรึกษาหารือกันไม่ได้ พิธีกรให้เวลา 10 วินาที เมื่อพิธีกรสั่งยกจะยกพร้อมกันทั้งหมด ทีมใดทำถึง 10 คะแนนก่อนจะเป็นผู้ชนะในยกนี้


แผนภาพแสดงผลการแข่งขันโดยสีจากแผนที่ประเทศไทย

ผลการแข่งขัน

รอบแรก

รอบที่ 1 รอบแรก รอบที่ 1 รอบชิงสาย ทีมที่ผ่านเข้ารอบรอบที่ 2
          
  ปราจีนบุรี6 
  ขอนแก่น5    ปราจีนบุรีbye    ปราจีนบุรี
  พิษณุโลก (7) x  ----
  ตาก (7) x 
  นครสวรรค์ (0) x 
  ศรีสะเกษ4    ศรีสะเกษ5    ศรีสะเกษ
  สิงห์บุรี5   สิงห์บุรี (4) x
  ราชบุรี4 
  สงขลา (2) x 
  ยโสธร5    ยโสธร7    ยโสธร
  นครปฐม (3) x   สุพรรณบุรี6
  สุพรรณบุรี5 
  เชียงใหม่ (3) x 
  นครราชสีมา5    นครราชสีมา5    นครราชสีมา
  สุรินทร์ (1) x   สมุทรสงคราม2
  สมุทรสงคราม5 
  สระแก้ว (3) x 
  กระบี่5    กระบี่ (4) x    เพชรบุรี
  ฉะเชิงเทรา (2) x   เพชรบุรี5
  เพชรบุรี5 
  มหาสารคาม5 
  อ่างทอง6    อ่างทอง5    อ่างทอง
  นราธิวาส (1) x   ระยอง (3) x
  ระยอง4 
  ชัยภูมิ4 
  เพชรบูรณ์5    เพชรบูรณ์ (4) x    จันทบุรี
  จันทบุรี5   จันทบุรี5
  ตรัง4 
  ชลบุรี (3) x 
  พิจิตร (1) x   ----    หนองคาย
  หนองคาย4   หนองคายbye
  พระนครศรีอยุธยา (2) x 
  เชียงราย5 
  ร้อยเอ็ด (1) x    เชียงราย3    เชียงราย
  สตูล (2) x   กำแพงเพชร (1) x
  กำแพงเพชร4 
  ลำพูน (1) x 
  ประจวบคีรีขันธ์3    ประจวบคีรีขันธ์3    ประจวบคีรีขันธ์
  เลย3   เลย (1) x
  อุตรดิตถ์2 
  กาญจนบุรี3 
  นครศรีธรรมราช (0) x    กาญจนบุรี4    กาญจนบุรี
  ตราด (1) x   ปทุมธานี (3) x
  ปทุมธานี1 
  นนทบุรี3 
  น่าน (0) x    นนทบุรี3    นนทบุรี
  นครพนม2   ชัยนาท2
  ชัยนาท3 
  สระบุรี (2) x 
  ยะลา3    ยะลา2    ยะลา
  สกลนคร3   สกลนคร (1) x
  สุราษฎร์ธานี2 
  มุกดาหาร3 
  ปัตตานี (1) x    มุกดาหาร2    สมุทรปราการ
  สมุทรปราการ3   สมุทรปราการ3
  กาฬสินธุ์ (0) x 
  สุโขทัย3 
  พังงา2    สุโขทัยbye    สุโขทัย
  อุบลราชธานี (3) x  ------
  ลำปาง (3) x 
  แพร่2 
  นครนายก3    นครนายก (3) x   ---
  สมุทรสาคร4   สมุทรสาคร (3) x
  อุดรธานี3 
  พัทลุง2 
  แม่ฮ่องสอน3    แม่ฮ่องสอน2    แม่ฮ่องสอน
  บุรีรัมย์ (1) x   อุทัยธานี (1) x
  อุทัยธานี3 
 อำนาจเจริญ3 
  ภูเก็ต2   อำนาจเจริญ (5) x    ระนอง
  ระนอง3   ระนอง6
  หนองบัวลำภู2 
  พะเยา2 
  ชุมพร3    ชุมพรbye    ชุมพร
  กรุงเทพมหานคร (4) x  ------
  ลพบุรี (4) x 

หมายเหตุ: x ตอบผิดทั้งหมด 10 คน ตกรอบ

รอบที่ 2

หมายเหตุ: x ตอบผิดทั้งหมด 10 คน ตกรอบ

รอบที่ 3

หมายเหตุ :
x หมายถึง ตอบผิดทั้งหมด 10 คน ตกรอบ

รอบที่ 4

ลำดับจังหวัดแข่งชนะแพ้คะแนน
1 ระนอง4404
2 นนทบุรี4313
3 อ่างทอง4131
เชียงราย4131
5 ปราจีนบุรี4040
 ปราจีนบุรีนนทบุรีระนองเชียงรายอ่างทอง
ปราจีนบุรี-3x-52x-23x-44x-2x
นนทบุรี5-3x-4-55-35-3
ระนอง2-2x5-4-4-2x5-2x
เชียงราย4-3x3-52x-4-3-5
อ่างทอง2x-4x3-52x-55-3-

หมายเหตุ : x หมายถึง ตอบผิดทั้งหมด 10 คน

โปรแกรมพิเศษยกสยามเกร็ดความรู้

ลำดับวันที่ออกอากาศเกร็ดความรู้เรื่อง
112 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
213 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551ชื่อ...นี้มีที่มา แต่คนไทยไม่เคยรู้
318 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
419 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551เมนูไข่ จากอาหารที่พระพี่นางฯ โปรดเสวย ถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์
520 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551ไกลปืนเที่ยง, ชื่อเสียง, ตีตราจอง
621 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551นรก- สวรรค์ที่คนไทยไม่เคยรู้
724 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551ความเชื่อ และโชคลางไทยๆ
825 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551คำว่าถั่วดำ มีที่มาจากอะไร
926 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551หมูๆ
1027 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551รวม 10 คำถามสุดอึ้ง
1128 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551รวม 10 คำถามสุดอึ้ง ตอน 2

รอบชิงชนะเลิศ

กรรชัย กำเนิดพลอย (ภาพในปี 2564) หัวหน้าทีมระนอง ผู้พาทีมชนะเลิศยกสยามปี 1

รอบชิงชนะเลิศ จะแบ่งออกเป็น 3 ยก โดยยกที่ 1 และ 2 มียกละ 1 คะแนน และยกที่ 3 มี 2 คะแนน ทีมที่มีคะแนนสะสมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ


ยกที่ 1

หมายเหตุ
หมายถึง ตอบถูก
หมายถึง ตอบผิด

ยกที่ 2

หัวหน้าทีมระนอง VS ลูกทีมนนทบุรี (คำถามข้อที่1-5)
หัวหน้าทีมนนทบุรี VS ลูกทีมระนอง (คำถามข้อที่6)
หมายเหตุ
หมายถึง ตอบถูก
หมายถึง ตอบผิด

ยกที่ 3

หมายเหตุ
หมายถึง ได้คะแนนในข้อนี้
หมายถึง ตอบผิดทั้ง 10 คน

10 ยกกับความประทับใจตลอดการแข่งขัน

ยกที่เรื่องรายละเอียด
1ยกผิดคิดจนตัวตายเป็นเหตุการณ์ที่คุณต๊อก ศุภกรณ์ หนึ่งในลูกทีมของจังหวัดอุทัยธานี ยกป้ายคำตอบผิดจากที่วางแผนเอาไว้ กลายเป็นว่าทั้งจังหวัดตอบเหมือนกันหมด และผลสุดท้ายคือตอบผิด ทำให้จังหวัดอุทัยธานี ตกรอบทั้งจังหวัด
2ถ้าผมแพ้ ผมขอคลานไปขึ้นรถเป็นเหตุการณ์ที่คุณหม่ำ จ๊กมก หนึ่งในลูกทีมของจังหวัดยโสธร ประกาศตัวเองว่าถ้าแพ้ คุณหม่ำจะขอคลานไปขึ้นรถ และผลสุดท้ายคือจังหวัดยโสธรแพ้ คุณหม่ำจึงต้องคลานไปขึ้นรถตามที่พูดไว้แต่โดยดี
3ศิษย์ล้างครูเป็นการแข่งขันระหว่าง อ่างทอง กับ ระยอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ครูลิลลี่ หัวหน้าทีมจังหวัดระยอง ต้องเจอกับคำถามที่เกี่ยวกับสำนวนไทย ซึ่งเป็นคำถามที่ครูลิลลี่ถนัด แต่ผลสุดท้ายก็คือครูลิลลี่ตอบผิด แต่ในขณะที่จังหวัดอ่างทอง ได้คะแนนนี้ไป และหนึ่งสมาชิกของทีมจังหวัดอ่างทอง เป็นลูกศิษย์ของครูลิลลี่ และที่ทราบคำตอบนี้ได้เพราะเคยเรียนกับครูลิลลี่มาก่อน
4ไม่เคยรักใครเท่าเมย์แม้ว่าคุณเมย์ เฟื่องอารมย์ จะไม่ได้เป็นผู้เข้าแข่งขัน แต่ว่าคุณเมย์ เฟื่องอารมย์ก็เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดตลอดการแข่งขัน โดยเฉพาะทุกครั้งที่คุณหนุ่ม กรรชัย หัวหน้าทีมจังหวัดระนอง แข่งขัน ก็มักจะเจอเหตุการณ์อย่างนี้ตลอด
5เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดเป็นการแข่งขันระหว่าง ระนอง ซึ่งนำทีมโดยคุณหนุ่ม กรรชัย กับ อำนาจเจริญ ซึ่งนำทีมโดยคุณกอล์ฟ เบญจพล และด้วยความบังเอิญที่หัวหน้าทีมของทั้งสองจังหวัดเป็นเพื่อนที่สนิทกันมาก แต่เมื่อต้องมาประชันกัน ทั้งสองก็สู้ไม่ถอย
6ศึกร้องระหว่างรบเป็นการแข่งขันระหว่าง เชียงใหม่ ซึ่งนำทีมโดยน้าเน็ก กับ นครราชสีมา ซึ่งนำทีมโดยคุณติ๊ก ชีโร่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแข่งขันที่ครึกครื้นที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะนอกจากจะสู้ด้วยความรู้ ตลอดการแข่งขันก็ยังสู้กันด้วยเสียงเพลงอีกด้วย โดยเฉพาะฝั่งของนครราชสีมา มี อ.กำปัด ยอดศิลปินภาคอีสานอยู่ด้วย และทุกครั้งที่ท่านตอบ ก็มักจะต้องร้องเป็นเพลงทุกครั้ง
7นกกระจอกไม่ทันกินน้ำนับตั้งแต่การแข่งขันในรอบแรกจนถึงรอบสุดท้าย ก็มีอยู่หลายครั้งที่ต้องต่อสู้กันอย่างยืดเยื้อ แต่ก็มีบางครั้งที่แข่งขันกันอย่างรวดเร็วชนิดที่เรียกได้ว่า "นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ" อย่างเช่นเป็นการแข่งขันระหว่าง ตราด ซึ่งนำทีมโดยฝันดี-ฝันเด่น จรรยาธนากร กับ ปทุมธานี ซึ่งนำทีมโดย อ.วันชัย สอนศิริ โดยหลังจากที่ตราดนำไปก่อน 1 คะแนน จังหวัดตราดเกิดพลาดท่าตอบผิดทั้งจังหวัด ส่งผลให้ตกรอบแรก ในขณะที่ปทุมธานีก็เป็นจังหวัดแรกที่ชนะโดยไม่มีคะแนนเลย ถือได้ว่าเป็นการแข่งขันที่รวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา
8สาย 16 หัวหายในรอบแรกได้มีการแบ่งสายออกเป็น 19 สาย โดยจะแข่งขันเพื่อหาตัวแทนของแต่ละสาย แต่มีเพียงสายเดียวเท่านั้นที่ไม่มีตัวแทนสายเลย นั่นคือสายที่ 16 เนื่องจากในรอบชิงสาย ทั้งจังหวัดนครนายกและจังหวัดสมุทรสาคร ต่างก็ตอบผิดทั้ง 10 คน ทำให้ตกรอบไปทั้งคู่
9เล่นทีเผลอแต่ละคำถามที่ถามกันในรายการ พิธีกรจะเกริ่นนำด้วยหลากหลายวิธี แต่ในบางคำถามก็มาโดยที่ผู้เข้าแข่งขันไม่รู้ตัว เรียกว่า "เล่นทีเผลอ" ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้เข้าแข่งขันหลายคน เช่น คุณยิ่งยง ยอดบัวงาม กับเพลง "สมศรี 1992" คุณติ๊ก ชีโร่ กับเพลง "ไชโย" คุณไชยา มิตรชัย กับเพลง "กระทงหลงทาง" และคุณแจ๊ค ธนพล กับเซอร์ไพรส์วันเกิดของตัวเอง
10ไดโนเสาร์กินไข่ตลอดการแข่งขันที่ผ่านมา ก็มีอยู่หลายจังหวัดที่พ่ายแพ้โดยไม่มีคะแนนกลับไป และหนึ่งในนั้นก็คือทีมเมืองไดโนเสาร์อย่างจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งนำทีมโดยคุณอี๊ด ลาล่า และลูลู่ แห่งโปงลางสะออน ซึ่งพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ไม่ได้สักคะแนนเดียว แต่ถึงกาฬสินธุ์จะพ่ายแพ้ไป ก็ยังร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน

เหตุการณ์สำคัญในการแข่งขันและข้อสังเกต

  • ปราจีนบุรี กับ ขอนแก่น เป็นคู่แรกของรายการนี้
  • พิษณุโลก กับ ตาก เป็นคู่ที่มีการแข่งขันยาวนานที่สุดในรอบคัดเลือกถึง 11 ข้อ และมีคะแนนรวมมากที่สุดคือทีมละ 7 คะแนน
  • ยโสธร ขอนแก่น และกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีหัวหน้าทีมเป็นนักการเมือง
  • ทีมที่ไม่มีคะแนนจากการแข่งขันในรายการนี้ ได้แก่ นครสวรรค์ (แพ้ ศรีสะเกษ 0-4) นครศรีธรรมราช (แพ้ กาญจนบุรี 0-3) น่าน (แพ้ นนทบุรี 0-3) และ กาฬสินธุ์ (แพ้ สมุทรปราการ 0-3) ซึ่งทุกทีมที่ชนะ ด้วยคะแนน 0 นี้ จะเข้ารอบเป็นตัวแทนของสายด้วย
    ส่วนในรอบที่ 2 ทีมที่ไม่มีคะแนนได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (แพ้ ระนอง 0-3)
    และในรอบที่ 3 ทีมที่ไม่มีคะแนนได้แก่ เชียงราย ในคำถามชุดที่ 2 (แพ้ สุโขทัย 0-3)
  • เพชรบุรี เป็นจังหวัดที่ทำคะแนน 3 ข้อติดต่อกัน จึงทำให้พลิกสถานการณ์จากที่มีคะแนนเท่ากับ ฉะเชิงเทรา 2 ต่อ 2 กลายเป็นชนะด้วยคะแนน 5 ต่อ 2
  • อ่างทอง เป็นทีมที่ตอบข้อเดียวกันหมด ถึง 10 คน มากที่สุด ถึง 5 ครั้ง ในรอบที่ 1 รอบแรก และในรอบที่ 1 รอบชิงสาย อีก ถึง 2 ครั้ง รอบ 2 อีก 1 ครั้งในข้อแรก
  • ระนอง เป็นทีมที่ตอบข้อเดียวกันหมด 10 คน 3 ข้อติดต่อกัน จึงทำให้เอาชนะประจวบคีรีขันธ์ด้วยคะแนน 3-0
  • เพชรบูรณ์ เป็นทีมที่ตอบข้อเดียวกันหมด ถึง 10 คนแล้วตอบถูก 3 ข้อติดต่อกัน จึงทำให้พลิกสถานการณ์จากที่มีคะแนนตามหลัง ชัยภูมิ 2 ต่อ 4 กลับมาชนะด้วยคะแนน 5 ต่อ 4
  • ชลบุรี เป็นทีมแรกที่มีคะแนนนำ 3 ต่อ 1 แล้วตกรอบเนื่องจากตอบผิดทั้ง 10 คน
  • ตราด กับ ปทุมธานี
    ยะลา กับ สกลนคร และ
    แม่ฮ่องสอน กับ อุทัยธานี เป็นคู่ที่มีการแข่งขันสั้นที่สุดเพียง 2 ข้อ ซึ่งคู่ระหว่าง ตราด และ ปทุมธานี เป็นคู่ที่มีคะแนนรวมน้อยที่สุดคือทีมละ 1 คะแนน
  • สกลนคร เป็นทีมที่ตอบถูก 4 ข้อติดต่อกัน ตั้งแต่ข้อแรก แต่ผิดข้อที่ 5 ทำให้ทีมตกรอบ
  • สายที่ 16 (แพร่ นครนายก สมุทรสาคร และอุดรธานี) เป็นสายเดียวที่ตกรอบทั้งสายตั้งแต่รอบที่ 1
  • อำนาจเจริญ กับ ระนอง และ
    กรุงเทพมหานคร กับ ลพบุรี เป็นคู่ที่ตอบข้อเดียวกันหมด ถึง 20 คน 3 ข้อติดต่อกัน
    ส่วนคู่ระหว่าง พิษณุโลก กับ ตาก เป็นคู่ที่ตอบข้อเดียวกันหมด 20 คน ถึง 4 ข้อติดต่อกัน และข้อสุดท้ายทำให้ทั้ง 2 จังหวัดตกรอบ
  • การตกรอบทั้ง 2 ทีม เกิดขึ้นทั้งหมด 7 ครั้ง
    โดยแบ่งเป็น
    รอบที่1:รอบแรก 4 ครั้งได้แก่
    สายที่ 1 พิษณุโลก (7 คะแนน) กับ ตาก (7 คะแนน)
    สายที่ 8 ชลบุรี (3 คะแนน) กับ พิจิตร (1 คะแนน)
    สายที่ 15 อุบลราชธานี (3 คะแนน) กับ ลำปาง (3 คะแนน)
    สายที่ 19 กรุงเทพมหานคร (4 คะแนน) กับ ลพบุรี (4 คะแนน)
    รอบที่1:รอบชิงสาย 1 ครั้งได้แก่
    สายที่ 16 สมุทรสาคร (3 คะแนน) กับ นครนายก (3 คะแนน) ซึ่งการตกรอบนี้ส่งผลให้สายที่ 16 ไม่มีตัวแทนของสาย
    รอบที่ 2 มี 1 ครั้งได้แก่
    คู่ที่ 8 กาญจนบุรี (2 คะแนน) กับ นครราชสีมา (2 คะแนน)
    รอบที่ 4 มี 1 ครั้งได้แก่
    คู่ที่ 5 ปราจีนบุรี (4 คะแนน) กับ อ่างทอง (2 คะแนน)
  • เกิดความผิดพลาดในการแข่งขันระหว่าง จันทบุรี กับ หนองคาย โดยคำถามได้ถามว่า การกระทำได้ที่ถือว่าผิดกฎหมาย และต้องเสียค่าปรับ 100 บาท (ก) ถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ (ข) ตะโกนคำหยาบในที่สาธารณะ ซึ่งทางจังหวัด จันทบุรี ได้ตอบ ข ทั้ง 10 คน ส่วนทาง หนองคาย ได้ตอบ ก ทั้ง 10 คนเช่นกัน ผลเฉลย ออกมาว่า ก. ถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ ทำให้ หนองคาย เข้ารอบ แต่พอเบรกโฆษณา ทางรายการได้เชิญตัวแทนของทั้งสองจังหวัด ให้มารับทราบถึงข้อผิดพลาดของรายการว่าคำตอบของข้อนี้ถูกทั้งสองข้อ แล้วประกาศให้ หนองคาย และ จันทบุรี เข้ารอบทั้งสองจังหวัด
  • ในรอบที่ 2 คู่ที่ 3 ระหว่าง สุโขทัย กับ นนทบุรี ในระหว่างที่มีคะแนนอยู่ 4-4 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาว่า ถ้าตอบเหมือนกันทั้งหมด 20 คน (จากทั้ง 2 จังหวัด) แล้วถูก ก็จะเข้ารอบไปทั้งสองจังหวัด
  • สุโขทัย เป็นทีมแรกที่ตอบข้อเดียวกันหมด ถึง 5 ครั้งติดต่อกัน จึงทำให้ได้คะแนน 5 ข้อติดต่อกัน ทำให้พลิกสถานการณ์จากที่มีคะแนนตาม นนทบุรี 0 ต่อ 2 กลายเป็นเข้ารอบไปทั้งสองจังหวัดด้วย 5 ต่อ 5 คะแนน
  • ในรอบที่ 4 นี้ หากจังหวัดใดมีการเทเกิดขึ้น คือ ตอบคำตอบเหมือนกันทั้ง 10 คน แล้วผิด จะไม่มีการตกรอบทั้งจังหวัดเหมือนในรอบที่1-3 แต่จะถือว่าเป็นการแพ้ในเกมนั้นแทน ซึ่งได้เกิดขึ้นในคู่ระหว่าง ปราจีนบุรี กับ อ่างทอง
  • ระนอง นัดที่เจอกับ นนทบุรี เป็นจังหวัดที่สามารถตอบถูก 5 ข้อติดต่อกัน โดยการตอบเหมือนกันทั้ง 10 คน ทำให้เป็นจังหวัดแรกที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และเป็นจังหวัดเดียวที่ชนะรวดทั้ง4นัด
  • ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดเดียวในรอบ 4 ที่แข่งทั้งหมด4นัด แพ้ทั้งหมด แล้วยังเป็นการแพ้แบบตอบผิดทั้ง10คนทุกนัดที่ลงแข่งขัน
  • ฉากหลังของรายการ ยกสยาม มี 3 ฉากดังนี้ ฉากแรก เป็นชื่อรายการ "ทศกัณฐ์ยกสยาม" ฉากที่ 2 "หน้าทศกัณฐ์" ฉากที่3 "ระเบียงวัด"
  • ในการตอบของผู้เข้าแข่งขันแต่ละครั้ง ทำให้มีศัพท์ที่ใช้บ่อยอยู่ 2 คำ นั่นคือ
    • เท หมายถึง การที่ทั้งจังหวัดตอบเหมือนกันทั้งหมด
    • ติ่ง หมายถึง การที่สมาชิกของทีมบางส่วนตอบแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีม โดยมากจะมี 1-2 คน
  • อ.อัญชัญ จากทีมระนองเป็นผู้ที่พลิกสถานการณ์ของจังหวัด โดยสามารถตอบถูก 8 ข้อติดต่อกัน ทำให้จากเดิมที่ระนองเหลือผู้เล่น 2 คน แต่นนทบุรีเหลือผู้เล่น 5 คน กลายมาเป็นทั้งสองจังหวัดเหลือผู้เล่นจังหวัดละ 2 คน และสุดท้ายก็พลาด ตอบผิดพร้อมกับคุณน้ำเพชร จากทีมนนทบุรี ส่งผลให้หัวหน้าทีมของทั้งสองจังหวัดต้องมาเจอกัน ก่อนที่ ระนอง จะตอบถูกและชนะในยกที่หนึ่ง
  • ระนอง เป็นจังหวัดเดียวที่ไม่เคยแพ้จังหวัดใดเลยตลอดการแข่งขัน (รวมทั้ง 2 ชุดในรอบที่ 3, 4 นัดในรอบที่ 4 และ 3 ยกในรอบชิงชนะเลิศ) และได้เป็นจังหวัดที่ชนะเลิศในที่สุด

ฉาก

ฉากหลังของรายการ ยกสยาม มี 3 ฉากดังนี้ ฉากแรก เป็นชื่อรายการ "ทศกัณฐ์ยกสยาม" ฉากที่ 2 "หน้าทศกัณฐ์" ฉากที่ 3 "ระเบียงวัด"

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


ยกสยาม
แชมป์ ระนอง
รองแชมป์ นนทบุรี
ตกรอบที่ 4 ปราจีนบุรีเชียงรายอ่างทอง
ตกรอบที่ 3 หนองคายศรีสะเกษจันทบุรีสุโขทัยเพชรบุรี
ตกรอบที่ 2 ยะลาชุมพรแม่ฮ่องสอนยโสธรสมุทรปราการนครราชสีมากาญจนบุรีประจวบคีรีขันธ์
ตกรอบที่ 1 (รอบชิงสาย) สิงห์บุรีสุพรรณบุรีสมุทรสงครามกระบี่ระยองเพชรบูรณ์กำแพงเพชรเลยปทุมธานีชัยนาทสกลนครมุกดาหารนครนายกสมุทรสาครอุทัยธานีอำนาจเจริญ
ตกรอบที่ 1 (รอบแรก) ขอนแก่นพิษณุโลกตากนครสวรรค์ราชบุรีสงขลานครปฐมเชียงใหม่สุรินทร์สระแก้วฉะเชิงเทรามหาสารคามนราธิวาสชัยภูมิตรังชลบุรีพิจิตรพระนครศรีอยุธยาร้อยเอ็ดสตูลลำพูนอุตรดิตถ์นครศรีธรรมราชตราดน่านนครพนมสระบุรีสุราษฎร์ธานีปัตตานีกาฬสินธุ์พังงาลำปางอุบลราชธานีแพร่อุดรธานีพัทลุงบุรีรัมย์ภูเก็ตหนองบัวลำภูพะเยากรุงเทพมหานครลพบุรี
ก่อนหน้ายกสยามปี 1ถัดไป
ทศกัณฐ์ช่วยครูใต้ ยกสยามปี 1
(18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 7 มกราคม พ.ศ. 2552)
ยกสยามปี 2
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร