รถด่วนพิเศษนครพิงค์

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ (อังกฤษ: Nakhon Phing Special Express; เลขขบวน: 1/2) เป็นรถด่วนพิเศษในอดีตขบวนหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นหนึ่งและชั้นสอง (บนอ.ป. และ บนท.ป.) รถนั่งปรับอากาศชั้นที่2สำหรับผู้พิการ และรถเสบียงปรับอากาศ (บกข.ป) ปัจจุบันยุติการให้บริการและทดแทนด้วยรถด่วนพิเศษอุตราวิถีขบวนที่ 9/10 เดินรถเที่ยวสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) รวมระยะเวลาการใช้งานทั้งสิ้น 29 ปี 10 เดือน 30 วัน

รถด่วนพิเศษนครพิงค์
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะยกเลิกบริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, นครสวรรค์, พิจิตร, อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่
ให้บริการครั้งแรก13 เมษายน พ.ศ. 2530 (37 ปีก่อน)
สิ้นสุดให้บริการ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (7 ปีก่อน) [1]
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพ (หัวลำโพง)
เชียงใหม่
จอด18
ระยะทาง751.42 km (466.91 mi)
เวลาเดินทาง12 ชั่วโมง 35-50 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน1 (เที่ยวไป)
2 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ
บริการบนขบวน
ชั้นชั้น 1,2
ผู้พิการเข้าถึงได้มีบริการ
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 1
รถนั่งและนอนชั้น 2
บริการอาหารตู้เสบียง
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว90 km/h (56 mph)

ประวัติ

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ ในอดีตคือรถด่วนนครพิงค์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศล้วน เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 และเป็นขบวนรถด่วนที่วิ่งคู่กับรถด่วนขบวนที่ 13/14 ซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โดยใช้รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 รุ่นฮุนได 24 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 และรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 รุ่นแดวู 40 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 และมีรถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ที่รองรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ รวมทั้งห้องน้ำกว้างกว่ารถโดยสารปกติ โดยดัดแปลงมาจากรถนั่งปรับอากาศชั้น 3 เดิมจาก JR-west ประเทศญี่ปุ่น และมีตู้สำหรับสุภาพสตรีและเด็กอยู่ที่คันที่ 11 ในเที่ยวไป และคันที่ 3 ในเที่ยวกลับ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 รถด่วนพิเศษนครพิงค์ได้กลายมาเป็นขบวนรถตัวอย่างขบวนหนึ่งของการรถไฟฯ ควบคู่กับรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ รถด่วนพิเศษทักษิณ และรถด่วนพิเศษดีเซลรางขบวนที่ 21/22 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ยกเลิกการเดินรถตั้งแต่คืนวันที่ 11 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 1) และคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 2) พ.ศ. 2559[1] และทดแทนด้วยการเดินรถด่วนพิเศษอุตราวิถีขบวนที่ 9/10 โดยใช้รถไฟชุด 115 คันจาก ประเทศจีนชุดละ 13 คัน โดยใช้ชุดเวลาเดิมกับด่วนพิเศษนครพิงค์ นับเป็นการปิดฉากขบวนรถด่วนพิเศษยอดนิยมมาทุกยุคทุกสมัยขวัญใจชาวต่างประเทศ ซึ่งรับใช้คนไทยและต่างประเทศมานานเกือบ 30 ปี

สถานีรถไฟที่จอด

ภายในรถนอนปรับอากาศชั้น 2

ขบวน 1 กรุงเทพ - เชียงใหม่

ขบวน 2 เชียงใหม่ - กรุงเทพ

เหตุการณ์สำคัญ

  • ประมาณปลายปี พ.ศ. 2554 ซึ่งมีเหตุการณ์มหาอุทกภัยนั้น การรถไฟฯ ได้ปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถของขบวนนี้ออกไปยังทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านทางรถไฟสายพระพุทธฉาย ถึงสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จากนั้นจึงย้อนกลับไปที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี มุ่งหน้าทางรถไฟสายเหนือเป็นลำดับต่อไป
  • เนื่องจากเหตุการณ์รถไฟสายเหนือตกรางรายวันในปลายปี พ.ศ. 2556 การรถไฟฯ จึงปิดปรับปรุงเส้นทางช่วงศิลาอาสน์-เชียงใหม่ ทำให้ขบวนนี้งดเดินรถชั่วคราว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร