ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน

หน้าที่ของราชบัณฑิต

ราชบัณฑิตมีหน้าที่ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชาการให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ แลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่นๆ เป็นที่ปรึกษาของรัฐ งานหลักที่สำคัญเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือการแต่งหนังสือตำราประเภทอ้างอิงและหลักเกณฑ์ในวิทยาการสาขาต่างๆ รวมทั้งการสร้างแหล่งรวบรวมความรู้ในหลายสาขาวิชา ในชื่อ "คลังความรู้" เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป

ผู้เข้าข่ายได้รับการคัดเลือกเป็นราชบัณฑิตจะต้องเป็นภาคีสมาชิกของราชบัณฑิตยสภามาเป็นระยะเวลาหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ปีและได้แสดงผลงานการค้นคว้าวิจัยหรือส่งเสริมความก้าวหน้าในวิทยาการสาขาตนเป็นที่ประจักษ์อย่างสม่ำเสมอจึงจะได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมของสำนักตน ให้สภาราชบัณฑิตเห็นชอบ

ราชบัณฑิตจะอยู่ในตำแหน่งไปจนเสียชีวิตหรือลาออกหรือที่ประชุมสภาราชบัณฑิตเห็นควรให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำความเสื่อมเสียร้ายแรง

ปัจจบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ รวม 110 คน[1]

ราชบัณฑิตในประเทศอื่น

คำว่า "ราช-" นำหน้าหมายถึงความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ราชบัณฑิตจึงหมายเฉพาะของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข องค์การวิทยาการของราชอาณาจักรที่อาจนับว่าเก่าแก่ที่สุดของโลกได้แก่ "ราชสมาคมแห่งลอนดอน" (Royal Society of London) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2205 "เพื่อยกระดับความรู้ด้านธรรมชาติ" โดยบรมราชานุญาตของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) จำกัดสมาชิกเฉพาะสาขาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แรกเริ่มมีสมาชิก 150 คนในจำนวนนี้ได้รับเลือกในปีถัดมาให้เป็น "Fellows" ที่อาจเรียกได้ว่า "ราชบัณฑิต" 10 คน ไอแซก นิวตันนับเป็นสมาชิกลำดับที่ 15 ที่ได้รับเลือก ในเวลา 9 ปีต่อมา ในช่วงเวลา 336 ปี (พ.ศ. 2206-2542) ราชสมาคมแห่งลอนดอนมีผู้ได้รับเลือกเป็นราชบัณฑิต 381 คน หรือเฉลี่ยปีละ 1.134 คน [2]

ข้อแตกต่างระหว่างราชสมาคมแห่งลอนดอน และราชบัณฑิตยสภาได้แก่การเน้นสาขาวิทยาการ ราชสมาคมแห่งลอนดอนจำกัดสมาชิกเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในขณะที่ราชบัณฑิตยสภาของประเทศไทยเป็นสถาบันสหวิทยาการ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง