ราชวงศ์อุมัยยะฮ์

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (อาหรับ: بَنُو أُمَيَّةَ, อักษรโรมัน: Banū Umayya) หรือ อัลอุมะวียูน (อาหรับ: الأمويون, อักษรโรมัน: al-Umawiyyūn) เป็นตระกูลผู้ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์ในช่วง ค.ศ. 661 ถึง 750 และภายหลังในอัลอันดะลุสในช่วง ค.ศ. 756 ถึง 1031 ในสมัยก่อนอิสลาม ตระกูลนี้ถือเป็นตระกูลเด่นของเผ่ากุร็อยช์แห่งมักกะฮ์ ซึ่งสืบเชื้อสายจากอุมัยยะฮ์ อิบน์ อับด์ชัมส์ แม้ว่าในช่วงแรกจะต่อต้านศาสดามุฮัมมัดอย่างมาก แต่ภายหลังหันมาเข้ารับอิสลามก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 อุษมาน ผู้ติดตามช่วงแรกของมุฮัมมัดจากตระกูลอุมัยยะฮ์ เป็นเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนองค์ที่ 3 ซึ่งครองราชย์ใน ค.ศ. 644–656 ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ในตระกูลดำรงตำแหน่งผู้ว่าการหลายตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือมุอาวิยะฮ์ที่ 1 แห่งซีเรีย ผู้ต่อต้านเคาะลีฟะฮ์อะลีในสงครามกลางเมืองมุสลิมครั้งที่หนึ่ง (656–661) และหลังจากนั้นได้จัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ โดยมีดามัสกัสเป็นเมืองหลวง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ราชวงศ์แบบสืบสันตติวงศ์ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นราชวงศ์เดียวที่ปกครองโลกอิสลามทั้งหมดในเวลานั้น

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชอิสริยยศเคาะลีฟะฮ์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์)
เอมีร์ (เอมิเรตแห่งกอร์โดบา)
เคาะลีฟะฮ์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ)
ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
(661–750)
อัลอันดะลุส (สเปนสมัยอิสลาม)
(756–1031)
ประมุขพระองค์แรกมุอาวิยะฮ์ที่ 1
สถาปนาค.ศ. 661

มีการท้าทายอำนาจราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในสงครามกลางเมืองมุสลิมครั้งที่สอง ซึ่งจบลงที่สายซุฟยานถูกแทนที่โดยมัรวานที่ 1 ผู้ก่อตั้งสายมัรวานใน ค.ศ. 684 ซึ่งฟื้นฟูการปกครองของราชวงศ์ต่อ ฝ่ายอุมัยยะฮ์นำทางสู่การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม โดยพิชิตแอฟริกาเหนือ, ฮิสเปเนีย, เอเชียกลาง และแคว้นสินธ์ แต่การทำสงครามอย่างต่อเนื่องทำให้ทรัพยากรทางทหารของรัฐหมดไป ในขณะที่การก่อกบฏของตระกูลอะลีกับเคาะวาริจญ์และการชิงดีชิงเด่นระหว่างชนเผ่าทำให้รัฐอ่อนแอจากภายใน ท้ายที่สุด ใน ค.ศ. 750 ฝ่ายอับบาซียะฮ์โค่นล้มเคาะลีฟะฮ์มัรวานที่ 2 และสังหารเชื้อพระองค์ส่วนใหญ่ โดยอับดุรเราะห์มาน หนึ่งในผู้รอดชีวิต ผู้มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในเคาะลีฟะฮ์ ฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก อพยพหนีไปยังสเปนของมุสลิม โดยพระองค์จัดตั้งเอมิเรตแห่งกอร์โดบา ซึ่งภายหลังอับดุรเราะห์มานที่ 3 ยกสถานะเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ใน ค.ศ. 929 หลังผ่านยุคทองในช่วงสั้น ๆ รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะจึงแตกออกเป็นอาณาจักร ฏออิฟะฮ์ อิสระหลายอาณาจักรใน ค.ศ. 1031 ทำให้อำนาจทางการเมืองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์สิ้นสุดลง

ประวัติ

ต้นกำเนิดก่อนอิสลาม

ตระกูลอุมัยยะฮ์ หรือบะนูอุมัยยะฮ์ เป็นตระกูลของของเผ่ากุร็อยช์ที่ปกครองมักกะฮ์ในสมัยก่อนอิสลาม[1] เผ่ากุร็อยช์ได้รับเกียรติในกลุ่มชนเผ่าอาหรับผ่านการคุ้มครองและการบำรุงรักษากะอ์บะฮ์ ณ เวลานั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาหรับที่มีความเชื่อแบบพหุเทวนิยมส่วนใหญ่ทั่วคาบสมุทรอาหรับ[1] อับด์มะนาฟ อิบน์ กุศ็อย ผู้นำกุร็อยช์ที่น่าจะมีชีวิตในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 (ตามบันทึกในธรรมเนียมลำดับวงศ์ตระกูล) ทำหน้าที่บำรุงรักษาและป้องกันกะอ์บะฮ์กับผู้แสวงบุญ[2] ภายหลังมีการยกสถานะนี้ให้กับอับด์ชัมส์, ฮาชิม และคนอื่น ๆ[2] อับด์ชัมส์เป็นบิดาของอุมัยยะฮ์ บรรพบุรุษของตระกูลอุมัยยะฮ์[3]

อุมัยยะฮ์สืบทอดตำแหน่งกออิด (ผู้บัญชาการในช่วงสงคราม) แห่งมักกะฮ์ต่อจากอับด์ชัมส์[4] ตำแหน่งนี้น่าจะเป็นตำแหน่งทางการเมืองเป็นครั้งคราว โดยผู้ถือครองทำหน้าที่คุมทิศทางกิจการทางทหารของมักกะฮ์ในยามสงคราม แทนที่จะเป็นกองบัญชาการภาคสนามจริง ๆ[4] ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำทางทหารในช่วงต้นนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ เนื่องจากตระกูลอุมัยยะฮ์ภายหลังเป็นที่รู้จักจากการมีทักษะในการจัดองค์กรทางการเมืองและการทหารอย่างมาก[4] Giorgio Levi Della Vida นักประวัติศาสตร์ กล่าวแนะว่าข้อมูลภาษาอาหรับยุคแรกเกี่ยวกับอุมัยยะฮ์ กับบรรพบุรุษสมัยโบราณของชนเผ่าอาหรับ "ได้รับการยอมรับด้วยความระมัดระวัง"[3] เขายืนยันว่า เนื่องจากตระกูลอุมัยยะฮ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์อิสลามเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นลูกหลานของอุมัยยะฮ์ไม่เกิน 3 รุ่น ทำให้การมีตัวตนของลูกหลานมีความเป็นไปได้สูง[3]

เมื่อประมาณ ค.ศ. 600 เผ่ากุร็อยช์ได้พัฒนาเครือข่ายการค้าข้ามคาบสมุทรอาหรับ โดยจัดคาราวาทไปทางเหนือที่ซีเรีย และทางใต้ที่เยเมน[1] บะนูอุมัยยะฮ์กับบะนูมัคซูม ตระกูลสำคัญของกุร็อยช์อีกตระกูล เป็นผู้กุมเครือข่ายการค้านี้ ทั้งสองคระกูลำด้พัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารกับชนเผ่าอาหรับร่อนเร่ที่ควบคุมทะเลทรายอาหรับที่กว้างใหญ่ทางเหนือและตอนกลาง ทำให้พวกเขามีอำนาจทางการเมืองในอาระเบีย[5]

ต่อต้านและเข้ารับอิสลาม

เมื่อศาสดามุฮัมมัดจากบะนูฮาชิมเริ่มเผยแผ่ศาสนาในมักกะฮ์ สมาชิกเผ่ากุร็อยช์ส่วนใหญ่ปฏิเสธท่าน[6][7] ท่านได้รับการสนับสนุนจากผู้อยู่อาศัยในมะดีนะฮ์ และย้ายไปที่นั่นกับผู้ติดตามใน ค.ศ. 622[8] ลูกหลานของอับด์ชัมส์ (รวมตระกูลอุมัยยะฮ์) อยู่ในกลุ่มผู้นำหลักของฝ่ายกุร็อยช์ที่ต่อต้านมุฮัมมัด[9] ตระกูลอุมัยยะฮ์เข้ามาแทนที่บะนูมัคซูมที่นำโดยอะบูญะฮัล ซึ่งเป็นผลจากการสูญเสียอย่างหนักจากการสู้รบในยุทธการที่บะดัรที่นำโดยผู้นำของบะนูมัคซูมต่อชาวมุสลิมใน ค.ศ. 624[10] ภายหลัง อะบูซุฟยาน หัวหน้าตระกูลอุมัยยะฮ์ กลายเป็นผู้นำกองทัพมักกะฮ์ที่สู้รบต่อมุสลิมภายใต้การบัญชาของมุฮัมมัดที่อุฮุดกับสนามเพลาะ[9]

หลังการพิชิตมักกะฮ์ของมุสลิม อะบูซุฟยานกับบรรดาลูกชาย และสมาชิกตระกูลอุมัยยะฮ์ส่วนใหญ่ หันมาเข้ารับอิสลามในช่วงปลายชีวิตขิงมุฮัมมัด[9]เพื่อรักษาความจงรักภักดีของผู้นำอุมัยยะฮ์ที่มีชื่อเสียง (รวมถึงอะบูซุฟยาน) มุฮัมมัดมอบของขวัญและตำแหน่งสำคัญในรัฐมุสลิมที่เพิ่งเกิดใหม่แก่พวกเขา[9] ท่านแต่งตั้งให้อัตตาบ อิบน์ อะซีด สมาชิกตระกูลอุมัยยะฮ์อีกคน เป็นผู้ว่าการมักกะฮ์คนแรก[11] ถึงแม้ว่ามักกะฮ์จะรักษาความยิ่งใหญ่ในฐานะศูนย์กลางทางศาสนา แต่มะดีนะฮ์ยังคงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองของมุสลิม อะบูซุฟยานกับบะนูอุมัยยะฮ์ย้ายไปยังมะดีนะฮ์เพื่อรักษาอิทธิพลทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นของพวกเขา[12]

รายพระนามผู้ปกครอง

เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ฐานซีเรีย

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
เคาะลีฟะฮ์ครองราชย์
มุอาวิยะฮ์ที่ 1 อิบน์ อะบีซุฟยาน28 กรกฎาคม 661 – 27 เมษายน 680
ยะซีดที่ 1 อิบน์ มุอาวิยะฮ์27 เมษายน 680 – 11 พฤศจิกายน 683
มุอาวิยะฮ์ที่ 2 อิบน์ ยะซีด11 พฤศจิกายน 683 – มิถุนายน 684
มัรวานที่ 1 อิบน์ อัลฮะกัมมิถุนายน 684 – 12 เมษายน 685
อับดุลมะลิก อิบน์ มัรวาน12 เมษายน 685 – 8 ตุลาคม 705
อัลวะลีดที่ 1 อิบน์ อับดุลมะลิก8 ตุลาคม 705 – 23 กุมภาพันธ์ 715
สุลัยมาน อิบน์ อับดุลมะลิก23 กุมภาพันธ์ 715 – 22 กันยายน 717
อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ22 กันยายน 717 – 4 กุมภาพันธ์ 720
ยะซีดที่ 2 อิบน์ อับดุลมะลิก4 กุมภาพันธ์ 720 – 26 มกราคม 724
ฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก26 มกราคม 724 – 6 กุมภาพันธ์ 743
อัลวะลีดที่ 2 อิบน์ ยะซีด6 กุมภาพันธ์ 743 – 17 เมษายน 744
ยะซีดที่ 3 อิบน์ อัลวะลีด17 เมษายน 744 – 4 ตุลาคม 744
อิบรอฮีม อิบน์ อัลวะลีด4 ตุลาคม 744 – 4 ธันวาคม 744
มัรวานที่ 2 อิบน์ มุฮัมมัด4 ธันวาคม 744 – 25 มกราคม 750
ราชวงศ์สิ้นสุดหลังถูกโค่นล้มโดยฝ่ายอับบาซียะฮ์

เอมีร์และเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา

ผู้ปกครองอัลอันดะลุส
เอมิเรตแห่งกอร์โดบา
เอมีร์ครองราชย์
อับดุรเราะห์มานที่ 1 อิบน์ มุอาวิยะฮ์ อัลอุมะวี15 พฤษภาคม 756 – 30 กันยายน 788
ฮิชามที่ 1 อิบน์ อับดุรเราะห์มาน อัลอุมะวี6 ตุลาคม 788 – 16 เมษายน 796
อัลฮะกัมที่ 1 อิบน์ ฮิชาม อัลอุมะวี12 มิถุนายน 796 – 21 พฤษภาคม 822
อับดุรเราะห์มานที่ 2 อิบน์ อัลฮะกัม อัลอุมะวี21 พฤษภาคม 822 – 852
มุฮัมมัดที่ 1 อิบน์ อับดุรเราะห์มาน อัลอุมะวี852 – 886
อัลมุนษิร อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี886 – 888
อับกุลลอฮ์ อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี888 — 15 ตุลาคม 912
อับดุรเราะห์มานที่ 3 อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี16 ตุลาคม 912 – 16 มกราคม 929
เปลี่ยนชื่อหลังอับดุรเราะห์มานที่ 3 ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ
เคาะลีฟะฮ์ครองราชย์
อับดุรเราะห์มานที่ 3 อันนาศิร ลิดีนิลลาฮ์16 มกราคม 929 – 15 ตุลาคม 961
อัลฮะกัมที่ 2 อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์15 ตุลาคม 961 – 16 ตุลาคม 976
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์16 ตุลาคม 976 – 1009
มุฮัมมัดที่ 2 อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ์1009
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์1009 – 1010
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์1010 – 19 เมษายน 1013
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์1013 – 1016
อับดุรเราะห์มานที่ 4 อัลมุรตะฎอ บิลลาฮ์1017
ราชวงศ์สิ้นสุดโดยราชวงศ์ฮัมมูด (1017–1023)
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (ฟื้นฟู)
อับดุรเราะห์มานที่ 5 อัลมุสตัซฮิร บิลลาฮ์1023 – 1024
มุฮัมมัดที่ 3 อัลมุสตักฟี บิลลาฮ์1024 – 1025
ช่วงว่างระหว่างรัชกาลของราชวงศ์ฮัมมูด (1025–1026)
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (ฟื้นฟู)
ฮิชามที่ 3 อัลมัวะอ์ตัด บิลลาฮ์1026 – 1031
ราชวงศ์ถูกโค่นล้ม

ตารางพงศาวลี

พระราชพงศาวลีผู้นำอุมัยยะฮ์ และความสัมพันธ์กับบะนูฮาชิม ตระกูลของศาสดามุฮัมมัด, ตระกูลอะลี และเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
  เคาะลีฟะฮ์ อุษมาน (ไม่ได้อยู่ในราชวงศ์)
  เอมีร์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา
อับด์มะนาฟ
อับด์ชัมส์ฮาชิม
อุมัยยะฮ์อับดุลมุฏฏอลิบ
ฮัรบ์อะบูลอาศอับดุลลอฮ์อะบูฏอลิบอับบาส
อะบูซุฟยานอัฟฟานอัลฮะกัมศาสดามุฮัมมัดอะลี (ค. 656 – 661)อับดุลลอฮ์
มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (ค. 661 – 680)อุษมาน (ค. 644 – 656)มัรวานที่ 1 (ค. 684 – 685)ตระกูลอะลีอับบาซียะฮ์ (ค. 750 – 1258)
ยะซีดที่ 1 (ค. 680 – 683)อับดุลมะลิก (ค. 685 – 705)อับดุลอะซีซมุฮัมมัด
มุอาวิยะฮ์ที่ 2 (ค. 683 – 684)อัลวะลีดที่ 1 (ค. 705 – 715)สุลัยมาน (ค. 715 – 717)ยะซีดที่ 2 (ค. 720 – 724)ฮิชาม (ค. 724 – 743)อุมัรที่ 2 (ค. 717 – 720)มัรวานที่ 2 (ค. 744 – 750)
ยะซีดที่ 3 (ค. 744 – 744)อิบรอฮีม (ค. 744 – 744)อัลวะลีดที่ 2 (ค. 743 – 744)มุอาวิยะฮ์
อับดุรเราะห์มานที่ 1 (ค. 756 – 788)
ฮิชามที่ 1 (ค. 788 – 796)
อัลฮะกัมที่ 1 (ค. 796 – 822)
อับดุรเราะห์มานที่ 2 (ค. 822 – 852)
มุฮัมมัดที่ 1 (ค. 852 – 886)
อับดุลลอฮ์ (ค. 888 – 912)อัลมุนษิร (ค. 886 – 888)
มุฮัมมัด
อับดุรเราะห์มานที่ 3 (ค. 912 – 961)
อับดุลมะลิกสุลัยมานอัลฮะกัมที่ 2 (ค. 961 – 976)อับดุลญับบารอุบัยดุลลอฮ์
มุฮัมมัดอัลฮะกัมฮิชามที่ 2 (ค. 976 – 1009)ฮิชามอับดุรเราะห์มาน
อับดุรเราะห์มานที่ 4 (ค. 1018 – 1019)ฮิชามที่ 3 (ค. 1026 – 1031)สุลัยมาน (ค. 1009 – 1010)มุฮัมมัดที่ 2 (ค. 1009 – 1009)อับดุรเราะห์มานที่ 5 (ค. 1023 – 1024)มุฮัมมัดที่ 3 (ค. 1024 – 1025)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ข้อมูล

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง