วงศ์แพนด้าแดง

วงศ์แพนด้าแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ailuridae, /ไอ-เลอ-ริ-ดี/) เป็นวงศ์หนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ซึ่งมีเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ คือ แพนด้าแดง นอกจากนี้คือญาติที่สูญพันธ์แล้ว

วงศ์แพนด้าแดง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Oligocene–Recent
แพนด้าแดง (Ailurus fulgens)
หัวกะโหลกและภาพจำลองของ Simocyon
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ:อันดับสัตว์กินเนื้อ
วงศ์ใหญ่:Musteloidea
วงศ์:วงศ์แพนด้าแดง
Gray, 1843
วงศ์ย่อย
แผนที่การกระจายพันธุ์ของแพนด้าแดง

ฌอร์ฌ กูวีเยร์ได้จัดให้แพนด้าแดงอยู่ในวงศ์แรคคูนใน ค.ศ. 1825 การจัดอันดับแบบนี้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงนับแต่นั้นมา[1] สาเหตุเนื่องจากเห็นว่าแพนด้าแดง มีลักษณะทางกายภาพหลายอย่างที่เหมือนกับแรคคูน เช่น ลักษณะลำตัวสั้น มีหางยาว มีรูปหน้า และลวดลายคล้ายกับแรคคูน นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมการออกหากินในช่วงเวลากลางคืน และใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้คล้ายกับแรคคูนอีกด้วย หรือแม้แต่บางคนก็จัดให้อยู่วงศ์เดียวกันกับหมี[2]

การศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์ระดับโมเลกุลแสดงให้เห็นว่า แพนด้าแดง ในฐานะสัตว์ชนิดโบราณในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีความใกล้ชิดกับแรคคูนอเมริกัน และอาจเป็นวงศ์หรือวงศ์ย่อยชนิดเดียวในวงศ์ procyonid[1][3][4] การศึกษาวิเคราะห์ดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียของประชากรเชิงลึกระบุว่า: "ตามบันทึกฟอสซิล แพนด้าแดงแยกออกจากบรรพบุรุษร่วมกันกับหมีเมื่อประมาณ 40 ล้านปีก่อน"[1][5]

ปัจจุบันแพนด้าแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ Ailurus fulgens fulgens ซึ่งมีขนาดตัวเล็ก และขนที่ใบหน้ามีสีจาง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียในรัฐอัสสัมและสิขิม หรือประเทศภูฎาน, ประเทศเนปาล และบางส่วนของประเทศจีน ส่วนอีกชนิดย่อยหนึ่งคือ Ailurus fulgens styani มีขนาดตัวที่ใหญ่และมีลายที่หน้าสีเข้มกว่าชนิดย่อยแรก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน และเทือกเขาในมณฑลเสฉวน และทางตอนเหนือของประเทศพม่า อาหารหลักคือใบไผ่ บางครั้งอาจกินลูกสน, รากไม้, เห็ด , ไข่นก หรือลูกนก เป็นต้น ชอบออกหากินเวลาใกล้ค่ำ อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่[6]

การจำแนก

ความสัมพันธ์ในวงศ์แพนด้าแดงกับสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นแสดงให้เห็นในต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ ซึ่งอิงจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลจากยีน 6 ยีนใน Flynn, 2005.[7]

Carnivora

Feliformia


   Caniformia   

Canidae


   Arctoidea   
   

Ursidae




Pinnipedia


Musteloidea

Ailuridae




Mephitidae




Procyonidae



Mustelidae










นอกจาก Ailurus วงศ์แพนด้าแดงยังรวมสกุลที่สูญพันธ์แล้ว 7 สกุล ส่วนใหญ่จัดให้มี 3 วงศ์ย่อย: Amphictinae, Simocyoninae และ Ailurinae[8][9][10][11][12]

  • วงศ์ Ailuridae J.E. Gray, 1843
    • วงศ์ย่อย †Amphictinae ?Winge, 1896
      • Amphictis ?Pomel, 1853
        • Amphictis borbonica Viret, 1929
        • Amphictis ambigua (Gervais, 1872)
        • Amphictis milloquensis (Helbing, 1936)
        • Amphictis antiqua (de Blainville, 1842)
        • Amphictis schlosseri Heizmann & Morlo, 1994
        • Amphictis prolongata Morlo, 1996
        • Amphictis wintershofensis Roth, 1994
        • Amphictis cuspida Nagel, 2003
        • Amphictis timucua J.A. Baskin, 2017[13]
    • วงศ์ย่อย †Simocyoninae Dawkins, 1868
      • Actiocyon Stock, 1947
        • Actiocyon parverratis Smith et al., 2016[14]
        • Actiocyon leardi Stock, 1947
      • Alopecocyon Camp & Vanderhoof, 1940
        • Alopecocyon getti Mein, 1958
        • Alopecocyon goeriachensis (Toula, 1884)
      • Protursus Crusafont & Kurtén, 1976
        • Protursus simpsoni Crusafont & Kurtén, 1976
      • Simocyon Wagner, 1858
        • Simocyon primigenius (Roth & Wagner, 1854)
        • Simocyon diaphorus (Kaup, 1832)
        • Simocyon batalleri Viret, 1929
        • Simocyon hungaricus Kadic & Kretzoi, 1927
    • วงศ์ย่อย Ailurinae J.E. Gray, 1843
      • Magerictis Ginsburg et al., 1997
        • Magerictis imperialensis Ginsburg et al., 1997
      • Tribe Pristinailurini Wallace & Lyon, 2022
        • Pristinailurus Wallace & Wang, 2004
          • Pristinailurus bristoli Wallace & Wang, 2004
        • Parailurus Schlosser, 1899
          • Parailurus anglicus (Dawkins, 1888) [Parailurus hungaricus Kormos, 1935]
          • Parailurus tedfordi Wallace & Lyon, 2022
          • Parailurus baikalicus Sotnikova, 2008
      • เผ่า Ailurini
        • Ailurus F. Cuvier, 1825
          • Ailurus fulgens - แพนด้าแดง
            • Ailurus fulgens styani Thomas, 1902 – แพนด้าแดงตะวันออก
            • Ailurus fulgens fulgens F. Cuvier, 1825 – แพนด้าแดงตะวันตก

นอกจากนี้ หน่วยอนุกรมวิธานที่ไม่มีชื่อ แต่มีชื่อเรียกว่า "Ailurinae indet." ได้รับการระบุใน ค.ศ. 2001 โดยอิงจากฟันกรามส่วนบนจากสัตว์วงศ์แพนด้าแดง 4 ตัวในสมัยไมโอซีนตอนกลางใกล้อีแซร์ ประเทศฝรั่งเศส[15]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Davis D. Dwight (1964). "The Giant Panda: A Morphological Study of Evolutionary Mechanisms". Zoology Memoirs. 3: 1–339.
  • Decker D.M., Wozencraft W.C. (1991). "Phylogenetic Analysis of Recent Procyonid Genera". Journal of Mammalogy. 72 (1): 42–55. doi:10.2307/1381979. JSTOR 1381979.
  • Flynn, J.J. and G.D. Wesley Hunt. (2005a). "Carnivora." in The Rise of Placental Mammals: Origin, Timing and Relationships of the Major Extant Clades, by D. Archibold and K. Rose. Baltimore. ISBN 0-8018-8022-X
  • Flynn John J; และคณะ (2005b). "Molecular phylogeny of the Carnivora (Mammalia): ASS-ASS the impact of increased sampling to on resolving enigmatic relationships". Systematic Biology. 54 (2): 1–21. doi:10.1080/10635150590923326. PMID 16012099.
  • Flynn, John J. Flynn, Michael A. Nedbal, J.W. Dragoo, and R.L. Honeycutt. (1998) "Whence the Red Panda?" Molecular Phylogenetics and Evolution. Vol. 17, No. 2, November 2000, pp. 190–199. [1]
  • Glatston, A.R. (1989). Talk Panda Biology. The Hague. ISBN 90-5103-026-6
  • Glatston, A.R. (compiler) (1994). "The Red Panda, Olingos, Coatis, Raccoons, and their Relatives: Status survey and conservation action plan for Procyonids and Ailurids."
  • IUCN/SSC Mustelid, Viverrid, and Procyonid Specialist Group. IUCN/SSC, Gland, Switzerland.
  • Gregory W.K. (1936). "On the Phylogenetic Relationships of the Giant Panda (Ailuropoda) to other Arctoid Carnivores". American Museum Novitates (878): 1–29.
  • Hu, J.C. (1990). "Proceedings of studies of the red panda." Chinese Scientific Publishing, Beijing, China [in Chinese].
  • Wilson, Don E. and DeeAnn M. Reeder. (2005). Mammal of Species of the World. Johns Hopkins University press. ISBN 0-8018-8221-4.
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร