วิมล วิริยะวิทย์

นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตสมาชิกเสรีไทย[1]

วิมล วิริยะวิทย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2464
เสียชีวิต16 มกราคม พ.ศ. 2545 (80 ปี)

ประวัติ

วิมล เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2464 เป็นบุตรของนายตุ่ย วิริยะวิทย์ และนางจิ๋ว จบจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2480 จากนั้นได้เข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนยังไม่ทันจบในขณะที่เรียนอยู่ชั้นปีที่สอง ได้สอบชิงทุนของกองทัพอากาศได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี พ.ศ. 2483 แต่ยังไม่ทันบการศึกษา

วิมล สมรสกับ ร.อ.หญิง ปยงค์ วิริยะวิทย์ มีบุตรชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ วิริยะวิทย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ ธิดา ชื่อ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

น.อ.วิมล วิริยะวิทย์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545

เสรีไทย

นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นสมาชิกเสรีไทยที่เป็นตัวจักรสำคัญในการติดต่อของเสรีไทยสายอเมริกากับขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทั้งนี้เพราะภายหลังที่ไทย โดยรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ในตอนต้นปี พ.ศ. 2485 แล้ว ที่สหรัฐอเมริกานั้น ตัวทูตคือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช โดยวิมล เป็น 1 ใน 2 คนไทยที่กระโดดร่มลงที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2487 จนถูกส่งตัวเข้ามากรุงเทพฯ ให้พบกับอธิบดีกรมตำรวจ โดยวิมลบอกเจ้าหน้าที่ว่าต้องรายงานข้อราชการลับ กับอธิบดีกรมตำรวจ คือ หลวงอดุลยเดชจรัส จนได้ไปพบกับหลวงประดิษฐ์มนูธรรมที่บ้านนายดิเรก ชัยนาม ที่ถนนรองเมือง

รับราชการ

หลังสงครามสงบ วิมล ได้รับยศทหารชั่วคราวเป็นร้อยเอก แล้วจึงได้กลับไปเรียนต่อที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์จนจบปริญญาตรีและปริญญาโท ในปี พ.ศ. 2490 จากนั้นจึงกลับมารับราชการใช้ทุนที่กองทัพอากาศ ติดยศเป็นนาวาอากาศเอก (พิเศษ) เมื่อปี พ.ศ. 2501 ตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิทยาการกรมช่างอากาศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2504 จึงย้ายออกจากกองทัพอากาศไปเป็นอาจารย์ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาก็ได้ย้ายจากการเป็นอาจารย์ไปรับราชการพลเรือนที่กระทรวงอุตสาหกรรม จนเป็นนายช่างใหญ่ รองปลัดกระทรวง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

การเมือง

ในสมัยที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2522 วิมลได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[2] หลังจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปี พ.ศ. 2529

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2493 - เหรียญออฟฟรีดอม ประดับใบปาร์มสีบรอนซ์[7]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร