สปิริต (ยาน)

สปิริต เป็นโรเวอร์สำรวจดาวอังคาร ออกแบบมาให้เหมือนกับยานออปเพอร์จูนิที มีลักษณะคล้ายรถขนาดเล็ก 6 ล้อ สามารถถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารส่งมายังโลกได้

สปิริต
ยานสำรวจดาวอังคาร-2 (MER-2) ในระหว่างการทดสอบการเคลื่อนไหวและความคล่องแคล่ว
ประเภทภารกิจโรเวอร์
ผู้ดำเนินการNASA
COSPAR ID2003-027A
SATCAT no.27827แก้ไขบนวิกิสนเทศ
เว็บไซต์Mars Exploration Rover
ระยะภารกิจแผน: 90 วันบนดาวอังคาร (~92 วันบนโลก)
ดำเนินงาน: 2269 วันตั้งแต่ส่งถึงการติดต่อครั้งสุดท้าย (2208 วันบนดาวอังคาร)
รวม: 2695 วันตั้งแต่ลงจอดจนถึงสิ้นสุดภารกิจ (2623 วันบนดาวอังคาร)
รวมตั้งแต่ส่งถึงการติดต่อครั้งสุดท้าย: 6 ปี, 9 เดือน, 12 วัน
ข้อมูลยานอวกาศ
ชนิดยานอวกาศยานสำรวจดาวอังคาร
มวลขณะส่งยาน1,063 กก.: โรเวอร์ 185 กก., ที่เกาะ 348 กก., เปลือกหลัง/ร่มชูชีพ 209 กก., เกราะนำความร้อน 78 กก., ที่นำยาน 193 กก., เชื้อเพลิงยาน 50 กก.[1]
มวลแห้ง185 กิโลกรัม (408 ปอนด์) (ตัวยานเท่านั้น)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นJune 10, 2003 (2003-06-10)[2][3]
จรวดนำส่งDelta II 7925-9.5[3][4]
ฐานส่งCape Canaveral SLC-17A
สิ้นสุดภารกิจ
ประกาศเมื่อ25 พฤษภาคม ค.ศ.2011 [2]
ติดต่อครั้งสุดท้าย22 มีนาคม ค.ศ.2010
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงแถบเฮลิโอเซนตริก
ยานสำรวจดาวอังคาร (NASA)
← โซจัวเนียร์
 

ภารกิจ

ยานสปิริตมีกำหนดการสำรวจดาวอังคารเป็นเวลา 90 วันของดาวอังคาร (ประมาณ 92 วันบนโลก) ตั้งแต่ลงจอดในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ในบริเวณที่เรียกว่าแอ่งกูเซฟ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะเคยเป็นทะเลสาบมาก่อนหลังจากครบกำหนดการแรกแล้วจึงมีการขยายช่วงเวลาภารกิจออกไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันรวมเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้ว

การเปลี่ยนภารกิจ

วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ล้อของยานสปิริตเกิดการติดในพื้นทรายของดาวอังคาร ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ นาซาประกาศให้มีภารกิจช่วยเหลือยานออกจากพื้นทราย โดยพยายามที่จะใช้ยานจำลองจำลองสถานการณ์ล้อที่ติดอยู่เพื่อช่วยยานให้หลุดออกจากพื้น แต่ไม่สำเร็จอยู่หลายครั้ง จนในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553 นาซาจึงประกาศยกเลิกภารกิจช่วยเหลือแล้วกำหนดหน้าที่ใหม่ให้ยานสปิริตจากยานสำรวจแบบเคลื่อนที่เป็นสถานีวิจัยคงที่แทน

การสูญเสียการติดต่อ

เนื่องจากไม่สามารถปรับตำแหน่งยาน เมื่อถึงฤดูหนาวของดาวอังคาร ยานสปิริตจะไม่อยู่ในมุมที่รับแสงอาทิตย์มากพอให้เกิดพลังงานสำหรับปฏิบัติการได้ ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2010 ส่งสัญญาณสุดท้ายกลับมายังโลก ก่อนจะขาดหายไปทีมงานภาคพื้นเชื่อว่ายานอยู่ในสถานะ "หลับลึก" ซึ่งยานจะหยุดการทำงานทั้งหมด และรอให้พลังงานกลับมาจึงเปิดการทำงานอีกครั้ง หรือว่าได้รับคำสั่งปลุกที่ส่งมาจากโลก

หลังจากพ้นฤดูหนาวแล้ว ทีมงานยังไม่สามารถติดต่อกับยานได้ โดยมีความพยายามส่งคำสั่งเพื่อปลุกยานอยู่หลายครั้ง แต่ยังไม่สำเร็จ มีรายงานว่ามีความเป็นไปได้สูงที่อากาศหนาวในฤดูหนาวของดาวอังคารจะทำให้อุปกรณ์ยานเสียหายได้เนื่องจากระบบทำความร้อนถูกปิดทำงานระหว่างที่อยู่ในสถานะหลับลึก

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง