สึจิงูโมะ

สึจิงูโมะ (ญี่ปุ่น: 土蜘蛛โรมาจิTsuchigumo; แปลว่า แมงมุมดิน) เป็นคำดูถูกหนึ่งของญี่ปุ่น ใช้เรียกกลุ่มกบฏหรือนอกรีต และยังใช้เรียกโยไกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแมงมุม ปรากฏในนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก คือ ยัตสึกาฮางิ (八握脛) และ โอกูโมะ (大蜘蛛)[1] ส่วนใน โคจิกิ และ นิฮงโชกิ จะเขียนด้วยตัวคันจิสี่ตัว คือ 都知久母 (โมราเอ็ตสึ-จิ-งู-โมะ)[2] ซึ่งมักปรากฏอยู่ใน ฟูโดกิ (風土記) อันเป็นเอกสารรายงานข้อมูลในแต่ละจังหวัดสำหรับเสนอแก่องค์จักรพรรดิ โดยปรากฏในรายงานของจังหวัดมุตสึ เอจิโงะ ฮิตาจิ เซ็ตสึ บุงโงะ และฮิเซ็ง

ภาพปีศาจสึจิงูโมะ
ฉากมินาโมโตะ โนะ โยริมิตสึ กำลังจะสังหารปีศาจสึจิงูโมะ

สันนิษฐานว่า สึจิงูโมะ มาจากคำว่า ทูจิโงโมริ (土隠) โดยประกอบจากคำว่า ทูจิ () แปลว่า "ดิน" กับคำว่า โกโมริ () แปลว่า "หลบซ่อน" คาดว่าสำหรับเรียกผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่ปฏิเสธคำสั่งจากราชสำนักแล้วไปอาศัยอยู่ในถ้ำแทน มีรายงานว่าสึจิงูโมะ มีรูปพรรณเตี้ยหากแต่มีแขนขายาว มีสันดานดั่งหมาป่า มีใจนกฮูก และดำรงชีวิตอย่างคนเถื่อนไร้อารยธรรม[3][4]

โซกิจิ สึดะ (津田左右吉) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า สึจิงูโมะแตกต่างไปจากชาวคูมาโซ (熊襲) และเอมิชิ (蝦夷) ซึ่งเป็นชื่อชนเผ่าที่ปรากฏอยู่ในฟูโดกิด้วยเช่นกัน โดยระบุว่าสึจิงูโมะไม่ใช่กลุ่มชน หากแต่เป็นชื่อเฉพาะ ส่วนโยชิยูกิ ทากิโอโตะ (瀧音能之) สันนิษฐานว่า สึจิงูโมะเป็นทั้งหัวหน้าเผ่าและเป็นคนทรง เพราะในฟูโดกิจากคีวชู ระบุว่า สึจิงูโมะเป็นหมอผีประกอบพิธีกรรมเอาใจคามิแห่งความโกรธเกรี้ยว ด้วยหวังให้ผลทางการเกษตรเฟื่องฟู[5]

ส่วนสึจิงูโมะที่มีรูปร่างคล้ายแมงมุมยักษ์ ปรากฏครั้งแรกในวรรณกรรมยุคกลาง โดยจัดเป็นโอนิ () วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งคือ ตำนานเฮเกะ (平家物語) ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในยุคคามากูระ (ค.ศ. 1185–1333) อีกเรื่องคือ ยามางูโมะ (山蜘蛛; แปลว่า แมงมุมภูเขา) ซึ่งปรากฏใน สึจิงูโมะโซชิ (土蜘蛛草紙) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 พรรณนาว่าเป็นโยไกขนาดใหญ่ เมื่อกาลเวลาผ่านไป สึจิงูโมะก็กลายเป็นโยไกที่มีลักษณะที่แปลกประหลาดเพิ่มขึ้น[6] มีความยาวถึง 60 เมตร แต่ถูกมินาโมโตะ โนะ โยริมิตสึ และวาตานาเบะ โนะ สึนะ กำจัดสึจิงูโมะ และเมื่อมันถูกกำจัด ศีรษะคนตายก็ปรากฏออกมาจากท้องของมัน ซึ่งมีมากถึง 1,990 หัว และยังปรากฏเรื่องราวของสึจิงูโมะในตำนานของชูเต็งโดจิ[7] นอกจากนี้สึจิงูโมะยังเป็นโยไกที่ปรากฏอยู่ชุดการแสดงละครโน โจรูริ และคาบูกิ[4]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย