อนันต์ ภักดิ์ประไพ

อนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 2 สมัย

อนันต์ ภักดิ์ประไพ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2480
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
เสียชีวิต7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (74 ปี)
อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
พรรคการเมืองไท

ประวัติ

อนันต์ ภักดิ์ประไพ เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็นบุตรของนายอรุณ กับนางชวนชื่น ภักดิ์ประไพ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนศิริศาสตร์ และจบการศึกษาสาขาวิชาช่างกลโรงงาน จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม

การทำงาน

นายอนันต์ เป็นผู้ก่อตั้งกิจการรถเมล์ประเทศไทย ที่เปิดบริการรถเมล์รอบเมืองพิษณุโลก ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ได้รับเลือกตั้งสมัยแรก จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคไท

นายอนันต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[1] และลาออกในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 ไม่นาน นายอนันต์ ร่วมกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน ส.ส.จังหวัดชลบุรี ของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ส.ส.จังหวัดชัยภูมิ คือ นายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความ และทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และสั่งให้จำคุกนายอุทัย เป็นเวลา 10 ปี และนายบุญเกิด กับนายอนันต์ คนละ 7 ปี ซึ่งทั้งหมดได้ถูกปล่อยตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ในสมัยรัฐบาลที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2] [3][4] เขาจำคุกระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 และออกจากคุกวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517 ตามพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2515 พ.ศ. 2517[5]

หลังจากวางมือทางการเมือง นายอนันต์ ได้ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดพิษณุโลก

ถึงแก่อนิจกรรม

นายอนันต์ ถูกฆาตกรรมเพื่อชิงทรัพย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ในโรงแรมของตนเอง[4][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร