พรรคประชาธิปัตย์

พรรคการเมืองไทย

พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม[10][12] และสนับสนุนกลไกตลาด[7][22]

พรรคประชาธิปัตย์
ผู้ก่อตั้งควง อภัยวงศ์
หัวหน้าเฉลิมชัย ศรีอ่อน
รองหัวหน้า
เลขาธิการเดชอิศม์ ขาวทอง
รองเลขาธิการ
เหรัญญิกเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
นายทะเบียนสมาชิกวิรัช ร่มเย็น
โฆษกราเมศ รัตนะเชวง
รองโฆษก
กรรมการบริหาร
  • ประกอบ รัตนพันธ์
  • เมฆินทร์ เอี่ยมสอาด
  • สงกรานต์ จิตสุทธิภากร
  • สมชาติ ประดิษฐพร
  • ยูนัยดี วาบา
  • ปุณณ์สิริ บุณยเกียรติ
  • เจนจิรา รัตนเพียร
  • พลอยทะเล ลักษณมีแสงจันทร์
  • ตัวแทนพรรคจากผู้บริหารท้องถิ่น
  • ไพเจน มากสุวรรณ์
  • ตัวแทนพรรคจากผู้แทนสภาท้องถิ่น
  • ภิญโญ ป้อมสถิตย์
  • วงศ์วชิระ ขาวทอง
  • ตัวแทนพรรคภาคเหนือ
  • ขนิษฐา นิภาเกษม
  • ตัวแทนพรรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • น้ำฝน หอมชาลี
  • ตัวแทนพรรคภาคกลาง
  • ชวลิต รัตนสุทธิกุล
  • ตัวแทนพรรคภาคใต้
  • สุรศักดิ์ วงศ์วนิช
  • ตัวแทนพรรคกรุงเทพมหานคร
  • ชยิน พึ่งสาย
  • กรรมการบริหารพรรคสำรอง
  • รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชวน หลีกภัย
ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรครัชดา ธนาดิเรก
รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
ผู้อำนวยการพรรคสุธรรม ระหงษ์
ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคนริศ ขำนุรักษ์
นายกรัฐมนตรี
(นับเฉพาะการได้รับตำแหน่งขณะเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์)
ควง อภัยวงศ์
(2490–2491)
เสนีย์ ปราโมช
(กุมภาพันธ์–มีนาคม 2518, เมษายน–ตุลาคม 2519)
ชวน หลีกภัย
(2535–2538, 2540–2544)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(2551–2554)
คำขวัญสจฺจํ เว อมตา วาจา
(คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย)[1]
คติพจน์อุดมการณ์ ทันสมัย[2]
ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2489 (78 ปี)
รวมตัวกับพรรคประชาธิปไตย
พรรคก้าวหน้า[3]
ที่ทำการ67 ถนนเศรษฐศิริ 2 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร[4]
ฝ่ายเยาวชนยุวประชาธิปัตย์[5]
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)89,699 คน [6]
อุดมการณ์
จุดยืนกลาง[13][14][15] ถึงขวากลาง[21]
สี  สีฟ้า
เพลงประชาธิปัตย์มาแล้ว (2562)
เช้าวันใหม่ (2566)
สภาผู้แทนราษฎร
25 / 500
สภากรุงเทพมหานคร
9 / 50
นายก อบจ.
1 / 76
เว็บไซต์
democrat.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2491, พ.ศ. 2519, กันยายน พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2540, และ ธันวาคม พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นก็ไม่เคยได้เสียงข้างมากในสภาอีกเลย โดยฐานเสียงของพรรคส่วนใหญ่คือภาคใต้และกรุงเทพฯ แม้ว่าผลการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ จะผันผวนมากก็ตาม

ประวัติ

พรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งโดย ควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 แต่พรรคถือว่าวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรีเป็นวันก่อตั้งพรรค โดยเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยม หลังการเลือกตั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 โดยสมาชิกในยุคแรกๆ ได้แก่ กลุ่มกษัตริย์นิยมที่ต่อต้าน ปรีดี พนมยงค์ และอดีตขบวนการเสรีไทย ซึ่งพรรคต้องแข่งขันกับพรรคที่สนับสนุนนายปรีดี เช่น พรรคสหชีพ และ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ

โดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์นำพรรคก้าวหน้าของตนมารวมกับพรรคประชาธิปไตยของโชติ คุ้มพันธ์ แล้วให้ชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นจึงเดินทางไปพบ ควง อภัยวงศ์ ที่บ้านหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ เพื่อให้ควงรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[23]


ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค

บทบาททางการเมือง

พ.ศ. 2489

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 กลุ่มพันธมิตรที่นำโดยปรีดีได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ปรีดีปฏิเสธการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐสภาได้แต่งตั้งพันตรีควงเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 และภายหลังการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมี สส. จำนวนทั้งสิ้น 46 คน

ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 พันตรีควงลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ หลังจากแพ้โหวตในร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดย ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส. อุบลราชธานี ด้วยคะแนน 65–63 เสียง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 ภายหลังจากที่ยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้น โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ สส. เพิ่มเพียง 16 คน แต่ สส. ในสภาโดยรวมมีทั้งสิ้น 62 คน ซึ่งถือว่ามีมากที่สุด แต่ก็ต้องสูญเสีย สส. นับสิบในปีถัดมา เนื่องจาก เลียง ไชยกาล นำ สส. จากพรรคไปจัดตั้ง พรรคประชาชน

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492

เมื่อถึงการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล, พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล), เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา), พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) และนายศรีเสนา สมบัติศิริ ยกเว้นหม่อมเจ้าอุปาลีสาณ ทั้ง 4 คนกลายเป็นองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยพรรคที่ร่วมกับนายปรีดียังคงได้รับเสียงข้างมากในสภา นายปรีดีได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายหลังลาออก รัฐสภาจึงเลือก พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ด้วยปัญหาหลายประการทำให้คณะนายทหารที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการทำรัฐประหารยึดอำนาจและโค่นล้มรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

คณะรัฐประหารจึงได้เชิญพันตรีควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือน[24] ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงข้างมากเป็นครั้งแรก และรัฐสภาเลือกพันตรีควงกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ต่อมาทหารกลุ่มเดิมทำรัฐประหารอีกครั้งโดยบังคับให้พันตรีควงลาออกจากตำแหน่งและเชิญจอมพลแปลก พิบูลสงครามกลับคืนสู่อำนาจและเป็นนายกรัฐมนตรี

เสียสิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาล

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ชนะการเลือกตั้งด้วยจำนวน สส. 72 คน ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และพรรคแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน) โดยรัฐธรรมนูญสมัยนั้น กำหนดว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาลของเสนีย์ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนผู้แทนราษฎร เสนีย์และพรรคจึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมในขณะนั้น ซึ่งมี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวม ส.ส.พรรคต่าง ๆ รวม 8 พรรค ได้ 135 เสียง กลายเป็นเสียงข้างมากของสภา และคึกฤทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นฝ่ายค้าน[25] [26][27]


การชนะเลือกตั้งของชวน หลีกภัย

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส. 44 คน ประกาศเป็นพรรคฝ่ายค้านร่วมกับ พรรคความหวังใหม่, พรรคพลังธรรม, พรรคเอกภาพ, พรรคปวงชนชาวไทย, และพรรคมวลชน จนสื่อมวลชนให้ฉายาว่า พรรคเทพ เพราะต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

หลังจากเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ตามมาด้วยการยุบสภา มีการจัด การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 โดยกระแสต่อต้านระบอบเผด็จการนั้นยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์ของพลตรี จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรมถูกเปลี่ยนจากผู้นำในการสู้กับเผด็จการ กลายเป็นการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่นำพาคนไปเสียชีวิตในการชุมนุมประท้วง ด้วยวาทะกรรม จำลองพาคนไปตาย โดยพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น มีชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรค ได้ออกวาทกรรม “ผมเชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา” ประกาศไม่เอาการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ รสช. และไม่เอาท่าทีแข็งกร้าวแบบจำลอง ศรีเมือง[28]

ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์มี สส. 79 คน กลายมาเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งในรอบ 16 ปี โดยมีการเชิญอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านมาจัดตั้งรัฐบาลด้วย และชัยชนะในครั้งนััน เป็นครั้งล่าสุดที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง

ได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 พรรคประชาธิปัตย์ได้ สส. 123 เสียง แพ้ พรรคความหวังใหม่ ไปเพียง 2 เสียง ชวนประกาศตัวเป็นพรรคฝ่ายค้านทันที ถึงแม้จะมีสมาชิกในพรรคไม่เห็นด้วยก็ตาม[29]

แต่ภายหลังการลาออกของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จากวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็ได้มีการลงคะแนนอีกครั้ง ซึ่งรอบนี้มีผู้เสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 คน คือ ชวน หลีกภัย และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และด้วยความช่วยเหลือจากพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคในขณะนั้นทำให้สามารถได้เสียงจาก สส. กลุ่มงูเห่า จากพรรคประชากรไทยลงคะแนนให้ จนทำให้ชวนได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย และได้กลายมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พรรคชาติไทย, พรรคกิจสังคม, พรรคประชากรไทย (กลุ่มงูเห่า), พรรคเอกภาพ​, พรรคเสรีธรรม, พรรคพลังธรรม, และพรรคไท ร่วมรัฐบาล และได้ทาบทาม พรรคชาติพัฒนา มาร่วมรัฐบาลในปี พ.ศ. 2541

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้แนวทางการหาเสียงว่า "เลือกให้ถึง 201 ที่นั่ง" และ "ทวงคืนประเทศไทย" อันเนื่องจากต้องการสัดส่วนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรให้ถึง 200 ที่นั่ง เพื่อที่ต้องการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[30]

แต่ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนที่นั่ง 96 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง) มีฐานเสียงใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ โดยพรรคได้เสียงจากภาคใต้ถึง 52 ที่นั่งจาก 54 ที่นั่ง ได้รับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ 7,210,742 เสียง อย่างไรก็ตามพรรคไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่คะแนนเสียงแปรผันไปตามสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พรรคฯ ได้เสียงจากกรุงเทพเพียง 4 ที่นั่ง จาก 37 ที่นั่ง โดยที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง) ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับพรรคเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรที่ผู้สนับสนุนอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จะอยู่ในแคว้นสก็อตแลนด์ คือเป็นลักษณะภูมิภาคนิยม ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนสูงถึง 136 ที่นั่ง แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่งเท่านั้น

ใน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 พรรคประชาธิปัตย์ได้ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ 6 คณะ ดังต่อไปนี้

  1. คณะกรรมาธิการการตำรวจ มี นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง เป็นประธาน
  2. คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง มี นคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก เป็นประธาน
  3. คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ มี ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา เป็นประธาน
  4. คณะกรรมาธิการติดตามมติสภา มี วินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา เป็นประธาน
  5. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มี สุวโรช พะลัง ส.ส.ชุมพร เป็นประธาน
  6. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มี ธีระ สลักเพชร ส.ส.ตราด เป็นประธาน

คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลว่ารัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา โดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจาก กกต. จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ

ในช่วงเวลาเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการฟ้องร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ให้ดำเนินคดียุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ร้อยละ 20 ตามกฎหมาย และพรรคประชาธิปัตย์มีพยานบุคคลจากพรรคเล็กยืนยัน แต่ต่อมาพยานดังกล่าวได้กลับคำให้การกลางคัน และพรรคไทยรักไทยที่เป็นผู้ต้องหาในคดีกลับฟ้องร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยกล่าวหาว่ามีการจ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และมีพฤติกรรมที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงมีการนำคดีขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อมาภายหลังการ รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คปค. ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายตุลาการคือ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น รับโอนอรรถคดีจากศาลรัฐธรรมนูญมาดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จนกระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และมีมติให้ยุบ พรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กที่ถูกฟ้องร่วมในคดี และวินิจฉัยให้ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กทั้งหมด เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งจริง และขณะเดียวกันไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยหรือมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองตามฟ้องแต่อย่างใด

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และรัฐบาลเงา

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ถูกงดกิจกรรมทางการเมืองชั่วคราว จนกระทั่งได้มีกำหนดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอนโยบายบริหารประเทศชื่อว่า "วาระประชาชน" ใจความสำคัญว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" ในการรณรงค์เลือกตั้ง โดยได้เสนอต่อสาธารณะนับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีกลุ่มนโยบาย 4 หัวข้อใหญ่

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับ 2 รวม 165 ที่นั่ง รองจากพลังประชาชนได้คะแนนอันดับ 1 ที่ได้ 232 ที่นั่ง โดยพรรคประชาธิปัตย์แบ่งตามภาคได้ดังนี้

เขตพื้นที่จำนวนที่นั่งได้
กรุงเทพมหานคร3627
กลาง9835
ตะวันออกเฉียงเหนือ1355
ใต้5649
เหนือ7516
สัดส่วน8033
รวม480165

พรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลเงา" หรือ "ครม.เงา" เพื่อตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบ "คณะรัฐมนตรีเงา" ใน "ระบบเวสมินสเตอร์" ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[31] โดยมีเว็บไซต์ www.shadowdp.com เก็บถาวร 2019-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในการเผยแพร่การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.เงา

พลิกจัดตั้งรัฐบาล

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย, และพรรคมัชฌิมาธิปไตย) และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งส่งผลให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา, พรรคภูมิใจไทย, และพรรคกิจสังคม (ภายหลังพรรคมาตุภูมิได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน) พร้อมกับสนับสนุนให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ชนะพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 เสียง ในการลงมติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้จัดตั้งรัฐบาลผสม เป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 59 ของไทย

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2553

อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า ใน พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แต่ไม่แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98[32][33]

คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ ทว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง[34]

หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554

หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้จัดตั้งการเลือกตั้งทั่วไป และหลังจากที่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และเป็นเหตุให้คณะเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด หลังจากนั้นได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ และผลออกมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังนายอภิสิทธิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งพ.ศ. 2556

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต่อรัฐประหารเมื่อปี 2557 แม้เขาโพสต์ลงเฟซบุ๊กขออภัยที่ไม่สามารถผลักดันแผนปฏิรูปประเทศและปกป้องประชาธิปไตยได้[35] และพร้อมร่วมคัดค้านรัฐประหาร หาก คสช. ไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะปฏิรูปอะไรและประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร และมีผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริงเสนอประชาธิปไตยที่ดีกว่า[36] แต่เขาก็โพสต์สนับสนุนให้ คสช. ใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นเพื่อรับมือกับการต่อต้านรัฐประหาร[37] ขณะที่นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ประยุทธ์ควรเป็นนายกรัฐมนตรี ควรใช้อำนาจเด็ดขาด อย่าเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนสุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่าสนใจคำครหานินทาว่ามาจากรัฐประหาร หากทำดี แก้ปัญหาได้ ทำประเทศปรองดองได้ ทุกคนจะสรรเสริญ[38]

ในปี 2561 พรรคประชาธิปัตย์จัดการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย[39]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ย้ำว่าจะไม่สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเขาไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[40][41] ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมหาชน 3.9 ล้านเสียง ส.ส. 52 ที่นั่ง ซึ่งน้อยกว่าพรรคเกิดใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ ในคืนเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังค่อนข้างแน่ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส. ไม่ถึง 100 ที่นั่ง[42] หลายคนคาดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[43]

จะมีการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 มีผู้สมัคร 4 คน ได้แก่ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[44] หนังสือพิมพ์ มติชน เขียนว่า จุรินทร์และกรณ์เป็นตัวเต็ง โดยจุรินทร์มีโอกาสมากกว่าเนืองจากชวน หลีกภัย ผู้มีบารมีในพรรค สนับสนุน เป็นนักการเมืองจากภาคใต้และเลือกเลขาธิการพรรคจากภาคตะวันออก ซึ่งจะมาเชื่อมระหว่างภาคใต้และภาคกลาง[45] ทั้งนี้ กรณ์, อภิรักษ์ และพีระพันธุ์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่พรรคจะร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[46] ผลปรากฏว่า จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[47]

ต่อมามีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เจรจาได้ที่นั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์[48] และมีมติร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[49] ผลของมติทำให้สมาชิกบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เช่น สมชัย ศรีสุทธิยากร รวมถึงสมาชิกกลุ่ม "นิวเด็ม" (New Dem) ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวในพรรค ลาออกหลายคน[50] ต่อมา นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม[51] และนายอุเทน ชาติภิญโญ ลาออกจากสมาชิกพรรค[52]

เมื่อจุรินทร์เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว เกิดความเห็นแตกแยกกันในพรรคจนทำให้มีสมาชิกพรรคเก่าแก่แยกตัวออกไปหลายกลุ่ม เช่น กรณ์ จาติกวาณิช ที่แยกออกไปตั้งพรรคกล้าซึ่งคาดว่ามาจากการตั้งปริญญ์ พานิชภักดิ์มาคุมทีมเศรษฐกิจ[53]

จากนั้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยยกเลิกข้อบังคับพรรคฉบับปี 2561 ทั้งฉบับและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่[54]

ต่อมาก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ได้มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากประกาศลาออก เช่น นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู, นางสาวรังสิมา รอดรัศมี, นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล, นายเจือ ราชสีห์, นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์, นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ พร้อมกันในวันที่ 27 กุมภาพันธ์[55] นายจุติ ไกรฤกษ์ ในวันที่ 7 มีนาคม[56] และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ในวันที่ 14 มีนาคม[57] โดยทั้งหมดย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2566

หลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคประชาปัตย์ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 25 คน ส่งผลให้จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง[58] ต่อมามีสมาชิกพรรคหลายคนถูกกล่าวถึงว่าอาจจะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ อาทิ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[59], เดชอิศม์ ขาวทอง[60] แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากเจ้าตัว ส่วนผู้ช่วยศาสตราจารย์อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ[61] ปฏิเสธว่าไม่มีความประสงค์จะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[62] มีเพียงอลงกรณ์ พลบุตร[63] ที่ประกาศตัวก่อนถึงวันประชุมใหญ่ว่ามีความประสงค์จะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จนกระทั่งวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่ของพรรคได้มีการประชุมตามระเบียบวาระเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยบุคคลที่คาดว่าจะได้รับการเสนอชื่อและแสดงความประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 4 คน คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งคาดว่าชวน หลีกภัย จะเป็นผู้เสนอชื่อ, นราพัฒน์ แก้วทอง ซึ่งคาดว่ากลุ่มของเฉลิมชัย ศรีอ่อน จะเป็นผู้เสนอชื่อ, พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล[64] และ มัลลิกา บุญมีตระกูล[65] ซึ่งเป็น 2 ผู้ประสงค์จะลงสมัคร แต่ในที่สุดการประชุมต้องยุติลงเนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม[66]

ต่อมาในวันที่ 6 สิงหาคม ได้มีการจัดการเลือกตั้งหัวหน้าพรรครอบสองขึ้นอีกครั้งที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น แต่เหตุการณ์ก็ซ้ำรอยเมื่อการประชุมล่มเพราะมีสมาชิกบางส่วนไม่เข้าร่วมการประชุม โดยในคราวนี้เฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำ สส.พรรคทั้ง 21 คน ออกจากห้องประชุมพร้อมกล่าวประณามว่านี่คือ "การกระทำที่เลวร้าย" และ “เล่นเกมการเมืองเพื่อหวังตอบสนองความต้องการของใครบางคน” [67] ท่ามกลางข่าวลือว่า มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางส่วนต้องการที่จะไปเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย และได้มีดีลกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ฮ่องกงไว้แล้ว [68]

ต่อมาในช่วงบ่ายวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จุรินทร์ได้ตัดสินใจลาออกจากรักษาการหัวหน้าพรรค เพื่อหวังให้ที่ประชุมใหญ่วิสามัญเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ได้อย่างราบรื่น[69] จากนั้นในช่วงเย็นวันเดียวกัน ณ ที่ทำการพรรค ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการ ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการเลขาธิการพรรค ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคควบอีกตำแหน่งหนึ่ง พร้อมกับกำหนดวันจัดประชุมใหญ่วิสามัญเป็นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และให้เพิ่มองค์ประชุมอีก 150 คน มาจากตัวแทนภาค ภาคละ 30 คน เพื่อสำรองไว้ในกรณีองค์ประชุมไม่ครบ โดยให้สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์สมัครเข้ามาด้วยตนเอง หากสมัครเกินจำนวนให้ใช้วิธีจับสลาก[70]

และในการประชุมใหญ่ในวันที่ 9 ธันวาคม ชวน หลีกภัย ได้เสนอชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง อภิสิทธิ์จึงขอพูดคุยกับเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการหัวหน้าพรรคเป็นการส่วนตัวด้านนอกห้องประชุม เฉลิมชัยจึงสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที ภายหลังพูดคุยเสร็จสิ้น อภิสิทธิ์จึงเดินกลับมาในห้องประชุม แล้วประกาศถอนตัวจากการเป็นแคนดิเดตหัวหน้าพรรค และลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[71] และขณะเดียวกัน สาธิต ปิตุเตชะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรักษาการรองหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอภิสิทธิ์ ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตามไปด้วย ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค นอกจากนี้ เนื่องจากวทันยา บุนนาค ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกพรรคนี้ยังไม่ถึงกำหนด 5 ปี และยังไม่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องให้ที่ประชุมรับรองคุณสมบัติในการเป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคด้วยมติ 3 ใน 4 ก่อน แต่ที่ประชุมมีมติรับรองเพียง 139 คน ทำให้วทันยาขาดคุณสมบัติในการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกับพันโทหญิงฐิฏา ส่งผลให้ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีเพียงคนเดียวคือ เฉลิมชัย ศรีอ่อน[72] และที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้เฉลิมชัยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 88.5[73][74] โดยคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นอกจากเฉลิมชัยที่เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว ยังมี เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค, สมบัติ ยะสินธุ์ รองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ, ไชยยศ จิระเมธากร รองหัวหน้าพรรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ประมวล พงษ์ถาวราเดช รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง, ชัยชนะ เดชเดโช รองหัวหน้าพรรคภาคใต้, สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคกรุงเทพมหานคร[75]

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

คณะกรรมการบริหารพรรค

คณะกรรมการบริหารพรรค พ.ศ. 2566
ลำดับรายนามตำแหน่ง
1.เฉลิมชัย ศรีอ่อนหัวหน้าพรรค
2.สมบัติ ยะสินธุ์รองหัวหน้าพรรค
3.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์รองหัวหน้าพรรค
4.ประมวล พงศ์ถาวราเดชรองหัวหน้าพรรค
5.ไชยยศ จิรเมธากรรองหัวหน้าพรรค
6.ชัยชนะ เดชเดโชรองหัวหน้าพรรค
7.นริศ ขำนุรักษ์รองหัวหน้าพรรค
8.จิตภัสร์ กฤดากรรองหัวหน้าพรรค
9.สุรินทร์ ปาลาเร่รองหัวหน้าพรรค
10.นราพัฒน์ แก้วทองรองหัวหน้าพรรค
11.ธารา ปิตุเตชะรองหัวหน้าพรรค
12.สุธรรม ระหงษ์รองหัวหน้าพรรค
13.มนตรี ปาน้อยนนท์รองหัวหน้าพรรค
14.อภิชาต ศักดิเศรษฐ์รองหัวหน้าพรรค
15.เดชอิศม์ ขาวทองเลขาธิการพรรค
16.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธรองเลขาธิการพรรค
17.จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์รองเลขาธิการพรรค
18.สุพัชรี ธรรมเพชรรองเลขาธิการพรรค
19.ชนินทร์ รุ่งแสงรองเลขาธิการพรรค
20.สมยศ พลายด้วงรองเลขาธิการพรรค
21.กันตวรรณ ตันเถียรรองเลขาธิการพรรค
22.เจิมมาศ จึงเลิศศิริเหรัญญิกพรรค
23.วิรัช ร่มเย็นนายทะเบียนพรรค
24.ราเมศ รัตนะเชวงโฆษกพรรค
25.ร่มธรรม ขำนุรักษ์รองโฆษกพรรค
26.พิทักษ์เดช เดชเดโชรองโฆษกพรรค
27.ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทองรองโฆษกพรรค
28.เจนจิรา รัตนเพียรรองโฆษกพรรค
29.พลอยทะเล ลักษณมีแสงจันทร์รองโฆษกพรรค
30.ประกอบ รัตนพันธ์กรรมการบริหารพรรค
30.เมฆินทร์ เอี่ยมสอาดกรรมการบริหารพรรค
31.สงกรานต์ จิตสุทธิภากรกรรมการบริหารพรรค
32.สมชาติ ประดิษฐพรกรรมการบริหารพรรค
33.ยูนัยดี วาบากรรมการบริหารพรรค
34.ปุณณ์สิริ บุณยเกียรติกรรมการบริหารพรรค
35.เจนจิรา รัตนเพียรกรรมการบริหารพรรค
36.พลอยทะเล ลักษณมีแสงจันทร์กรรมการบริหารพรรค
37.ไพเจน มากสุวรรณ์กรรมการบริหารพรรค
38.ภิญโญ ป้อมสถิตย์กรรมการบริหารพรรค
39.วงศ์วชิระ ขาวทองกรรมการบริหารพรรค
40.ขนิษฐา นิภาเกษมกรรมการบริหารพรรค
41.น้ำฝน หอมชาลีกรรมการบริหารพรรค
42.ชวลิต รัตนสุทธิกุลกรรมการบริหารพรรค
43.สุรศักดิ์ วงศ์วนิชกรรมการบริหารพรรค
44.ชยิน พึ่งสายกรรมการบริหารพรรค
45.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิทกรรมการบริหารพรรค
46.ชวน หลีกภัยประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค
47.รัชดา ธนาดิเรกที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค
48.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิทที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค
49.สุธรรม ระหงษ์ผู้อำนวยการพรรค
50.นริศ ขำนุรักษ์ผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรค

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

ลำดับรูป ชื่อเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุ
1 พันตรี ควง อภัยวงศ์พ.ศ. 248915 มีนาคม พ.ศ. 2511
(ถึงแก่อสัญกรรม)
2 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชพ.ศ. 251126 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
3 พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์26 พฤษภาคม พ.ศ. 25223 เมษายน พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2522
  • ถนัด คอมันตร์ - 62
  • อุทัย พิมพ์ใจชน - 52
  • ชวน หลีกภัย - 51
4 พิชัย รัตตกุล3 เมษายน พ.ศ. 252526 มกราคม พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2530
  • พิชัย รัตตกุล - 101
  • เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ - 87
5 ชวน หลีกภัย26 มกราคม พ.ศ. 253420 เมษายน พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2534
  • ชวน หลีกภัย - 85
  • มารุต บุนนาค - 72
6 บัญญัติ บรรทัดฐาน20 เมษายน พ.ศ. 25468 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2546
  • บัญญัติ บรรทัดฐาน - 163
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - 150
  • อาทิตย์ อุไรรัตน์ - 17
7 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ5 มีนาคม พ.ศ. 254824 มีนาคม พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2561
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - 67,505
  • วรงค์ เดชกิจวิกรม - 57,689
  • อลงกรณ์ พลบุตร - 2,285
8 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[76]14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2562
  • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ - 160
  • พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - 102
  • กรณ์ จาติกวณิช - 19
  • อภิรักษ์ โกษะโยธิน - 10
9 เฉลิมชัย ศรีอ่อน9 ธันวาคม พ.ศ. 2566ปัจจุบัน
พ.ศ. 2566
  • เฉลิมชัย ศรีอ่อน - 230
    (คำนวณจากสักส่วน 88.5% ของ
    องค์ประชุมในขณะนั้น 260 คน)

เลขาธิการพรรค

ลำดับรูปชื่อเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1 พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช6 เมษายน พ.ศ. 248916 กันยายน พ.ศ. 2491
2 เทพ โชตินุชิต17 กันยายน พ.ศ. 249125 มิถุนายน พ.ศ. 2492
3 ชวลิต อภัยวงศ์1 มิถุนายน พ.ศ. 249229 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
4 ใหญ่ ศวิตชาติ30 กันยายน พ.ศ. 249826 กันยายน พ.ศ. 2513
5 ธรรมนูญ เทียนเงิน26 กันยายน พ.ศ. 25136 ตุลาคม พ.ศ. 2518
6 ดำรง ลัทธพิพัฒน์13 พฤศจิกายน พ.ศ. 25186 ตุลาคม พ.ศ. 2521
7 เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 252226 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
8 มารุต บุนนาค26 พฤษภาคม พ.ศ. 25223 เมษายน พ.ศ. 2525
9 เล็ก นานา3 เมษายน พ.ศ. 25255 เมษายน พ.ศ. 2529
10

วีระ มุสิกพงศ์5 เมษายน พ.ศ. 2529[77]10 มกราคม พ.ศ. 2530
11 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์10 มกราคม พ.ศ. 2530[78]17 กันยายน พ.ศ. 2543
12 อนันต์ อนันตกูล17 กันยายน พ.ศ. 2543[79]20 เมษายน พ.ศ. 2546
13 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ 20 เมษายน พ.ศ. 2546[80]10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
14 สุเทพ เทือกสุบรรณ5 มีนาคม พ.ศ. 2548[81]4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
15
(ครั้งที่ 1)
เฉลิมชัย ศรีอ่อน6 สิงหาคม พ.ศ. 2554[82]16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
16 จุติ ไกรฤกษ์17 ธันวาคม พ.ศ. 255615 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
15
(ครั้งที่ 2)
เฉลิมชัย ศรีอ่อน15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[76]9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
17 เดชอิศม์ ขาวทอง9 ธันวาคม พ.ศ. 2566ปัจจุบัน


ผลการเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนสถานภาพพรรคผู้นำเลือกตั้ง
ส.ค. 2489[a]
16 / 82
16ฝ่ายค้านควง อภัยวงศ์
2491
53 / 99
37พรรคจัดตั้งรัฐบาล (2491)
ฝ่ายค้าน (2491-2494)
2495คว่ำบาตรการเลือกตั้ง (ไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)
ก.พ. 2500
31 / 283
22ฝ่ายค้าน
ธ.ค. 2500
39 / 160
9
2512
57 / 219
18หม่อมราชวงศ์
เสนีย์ ปราโมช
2518
72 / 269
3,176,39817.2% 15แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
(2518)
ฝ่ายค้าน (2518-2519)
2519
114 / 279
4,745,99025.3% 43แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
2522
33 / 301
2,865,24814.6% 81ฝ่ายค้านพันเอก (พิเศษ)
ถนัด คอมันตร์
2526
56 / 324
4,144,41415.6% 23ร่วมรัฐบาลพิชัย รัตตกุล
2529
100 / 347
8,477,70122.5% 44แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
2531
48 / 357
4,456,07719.3% 52ร่วมรัฐบาล (2531-2533)
ฝ่ายค้าน (2533-2534)
มี.ค. 2535
44 / 360
4,705,37610.6% 4ฝ่ายค้านชวน หลีกภัย
ก.ย. 2535
79 / 360
9,703,67221.0% 35แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
2538
86 / 391
12,325,42322.3% 7ฝ่ายค้าน
2539
123 / 393
18,087,00631.8% 37ฝ่ายค้าน (2539-2540)
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
(2540-2544)
2544
128 / 500
7,610,78926.6% 5ฝ่ายค้าน
2548
96 / 500
4,018,28616.1% 32บัญญัติ บรรทัดฐาน
2549คว่ำบาตรการเลือกตั้ง - การเลือกตั้งเป็นโมฆะ (ไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2550
165 / 480
14,084,26539.63% 69ฝ่ายค้าน (2551)
แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
(2551-2554)
2554
159 / 500
11,435,64035.15% 14ฝ่ายค้าน
2557คว่ำบาตรการเลือกตั้ง - การเลือกตั้งเป็นโมฆะ (ไม่มีการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)
2562
53 / 500
3,947,72611.11% 106ร่วมรัฐบาล
2566
25 / 500
925,3492.34% 28ฝ่ายค้านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งผู้สมัครคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงผลการเลือกตั้ง
2518ธรรมนูญ เทียนเงิน99,247  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2528ชนะ รุ่งแสง241,00125.35% พ่ายแพ้
2533ประวิทย์ รุจิรวงศ์60,9475.50% พ่ายแพ้
2535พิจิตต รัตตกุล305,74040.39% พ่ายแพ้
2539ไม่ส่งผู้สมัคร (ให้การสนับสนุน พิจิตต รัตตกุล ลงสมัครในนามกลุ่มมดงานแทน)
2543ธวัชชัย สัจจกุล247,65011.17% พ่ายแพ้
2547อภิรักษ์ โกษะโยธิน911,44138.20%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2551991,01845.93%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2552หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร934,60245.41%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
25561,256,34947.75%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2565สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์254,7239.52% พ่ายแพ้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง
2545
29 / 61
29เสียงข้างมาก
2549
34 / 57
5
2553
45 / 61
11
2565
9 / 50
348,85215.06% 36เสียงข้างน้อย

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (สข.)

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง
2553
289 / 361
289เสียงข้างมาก

ข้อวิจารณ์

ภาพลักษณ์

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีฐานเสียงเหนียวแน่นในภาคใต้ จนมีเรื่องเล่าว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ชนะ" ซึ่งมีนักวิชาการอธิบายว่าเป็นเพราะผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์มีเครือข่ายอยู่แล้วทำให้แทบไม่ต้องหาเสียง ซึ่งไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ และยังรวมถึงกระแส "ชวนฟีเวอร์" หรือนายกฯ คนใต้ ทำให้นักการเมืองในภาคใต้ที่อยากเลือกตั้งชนะต่างพากันเข้าพรรคประชาธิปัตย์กันหมด อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง ๆ ประชาชนบางส่วนเริ่มเบื่อหน่ายกับความไม่พัฒนาของภูมิภาคทำให้พรรคอื่นเริ่มเจาะฐานเสียงได้บ้าง[83]

หลังการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 ทำให้มีการค้นคำว่า "พรรคแมลงสาบ" ในเสิร์ชเอนจินปริมาณเพิ่มขึ้น คำนี้มีการใช้เพื่อหมายถึงอายุยืนยาวและการรั้งอำนาจอย่างยาวนานของพรรค และมีการใช้เพื่อล้อเลียนพรรคเมื่อใดที่ปรากฏการกระทำที่ไร้เกียรติของพรรค ทั้งนี้ คำดังกล่าวมีที่มาจากศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน สมาชิกพรรค ในการประชุมประจำปี 2545 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์[84] ที่เสนอ "ทฤษฎีแมลงสาบ" เพื่อให้พรรคอยู่รอดในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเวลานั้น[85] อีกทั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคในเวลานั้น ได้กล่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเสมือนแมลงสาบที่ฆ่าไม่ตาย[86]

การสนับสนุนการชุมนุมของ กปปส.

27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กล่าวแนะนำให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น นำ ส.ส.ทั้งพรรคลาออกจากการเป็น ส.ส. ไปต่อสู้เคียงข้าง สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำชุมนุม กปปส. ชี้ว่าไม่ควรปล่อยให้สุเทพโดดเดี่ยว ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์ลาออกจากการเป็น ส.ส.ทั้งพรรค ตนและสมาชิกพรรคจะร่วมลาออก เพื่อไปต่อสู้นอกสภากับนายสุเทพด้วย[87]

8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติให้สมาชิกลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด[88] ชูวิทย์รักษาคำพูดโดยการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทันที[89]

หลังจากนั้น มีการขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวปราศรัยไว้ว่า

"นายกฯ หลบเลี่ยงแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ผลดูไม่ออกว่าที่อยู่ในประเทศหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา ไปทำอะไรบ้าง เมื่อเช้าเห็นข่าวว่าไปทำโครงการ สมาร์ทเลดี้ มันแปลว่าอะไร ผมจึงไปถาม ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ซึ่งแปลว่า ผู้หญิงฉลาด แต่ทำไมต้องทำโครงการนี้ ทำไมต้องหาผู้หญิงฉลาด ทำไมต้องประกวด เพราะเขาบอกว่า ถ้าแข่งขันหา 'อีโง่' ไม่มีใครไปแข่งได้"

ภายหลังจากการกล่าวปราศรัยดังกล่าว เป็นเหตุทำให้อภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดย จะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยว่า คำปราศรัยดังกล่าวดูถูกผู้หญิงจนเกินไป นายอภิสิทธิ์ไม่ควรพูดเช่นนี้ ทำให้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของนายอภิสิทธิ์เอง เนื่องจากที่ผ่านมาการวิจารณ์โจมตีนางสาวยิ่งลักษณ์ มักจะถูกมองเป็นการดูถูกผู้หญิงทั้งหมด ดังนั้นควรต้องระมัดระวัง[90]

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นแกนนำการชุมนุม กปปส. ประกอบด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณ, ชุมพล จุลใส, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์, อิสสระ สมชัย, ถาวร เสนเนียม และ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ถูกศาลตัดสินให้จำคุก ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ล้มล้างระบอบการปกครอง มั่วสุมชุมนุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ และข้อหาอื่น ๆ ทำให้พุทธิพงษ์, ถาวร, และณัฏฐพล ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องสิ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีในทันที ตามมาตรา 160(7) และมาตรา 170(4) ของรัฐธรรมนูญ[91] และสิ้นสภาพการเป็น สส. ร่วมกับชุมพล และอิสสระ

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[92] โดยพรรคประชาธิปัตย์ถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 3 คน ดังนี้

ลำดับรายชื่อ สส.เขตที่ลงเลือกตั้งข้อกล่าวหาสถานะปัจจุบัน
1อวยพรศรี เชาวลิตนครศรีธรรมราช เขต 9ยังดำรงตำแหน่ง
2สุพัชรี ธรรมเพชรพัทลุง เขต 1ยังดำรงตำแหน่ง
3เดชอิศม์ ขาวทองสงขลา เขต 5โฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพ หรือการรื่นเริงต่างๆยังดำรงตำแหน่ง
(ยกคำร้อง)[93]

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ความขัดแย้งของสมาชิกพรรค

แยกออกไปจัดตั้งพรรค

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490 เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง เลียง ไชยกาล กับ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รองหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ส่งผลให้เลียงและสมาชิกพรรคอีก 16 คนลาออกจากพรรค ก่อนนำไปสู่การจัดตั้ง พรรคประชาชน

ในปี พ.ศ. 2491 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ลาออกจากพรรค เนื่องจากไม่พอใจที่สมาชิกพรรคสนับสนุนให้เพิ่มเงินเดือนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[94] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2518 คึกฤทธิ์ได้ชวนสมาชิกจากพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมจัดตั้ง พรรคกิจสังคม

ในปี พ.ศ. 2519 เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มของ สมัคร สุนทรเวช และกลุ่มของ พิชัย รัตตกุล ส่งผลให้สมัครลาออกจากพรรค ไปอยู่ฝ่ายปฏิรูปการปกครองอยู่ขณะหนึ่ง ก่อนจะจัดตั้ง พรรคประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2522 และในปีเดียวกันนั้น หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง อุทัย พิมพ์ใจชน ได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป กับ ชวน หลีกภัย เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกัน และ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก ธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค ด้วยความเป็นคนชลบุรีเหมือนกัน ปรากฏว่าที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นานอุทัยก็ได้ลาออกจากพรรค จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 อุทัยได้จัดตั้งพรรคการเมืองของตัวเองในนาม พรรคก้าวหน้า

กลุ่ม 10 มกรา

กลุ่ม 10 มกรา ก่อตั้งโดย เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เลขาธิการพรรคในปี พ.ศ. 2522 และ วีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคในปี พ.ศ. 2530 โดยที่มาของชื่อกลุ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2530 ณ โรงแรมเอเชีย ที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค ซึ่งกลุ่มของนายวีระได้เสนอชื่อนายเฉลิมพันธ์ ส่วนกลุ่มของ ชวน หลีกภัย ได้เสนอชื่อ พิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ส่วนตัวนายวีระได้ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแข่งกับ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ปรากฏว่าทั้งนายเฉลิมพันธ์และนายวีระพ่ายแพ้ต่อพิชัยและพล.ต.สนั่น

ทั้งนี้ กลุ่ม 10 มกรานี้มีความไม่พอใจในการบริหารงานของพิชัย หัวหน้าพรรคมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยต้นเหตุของความขัดแย้งในครั้งนั้น แบ่งได้ 5 ประเด็น กล่าวคือ

  1. ความขัดแย้งในการคัดเลือกตัวบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งพิชัยเป็นผู้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว
  2. พิชัยไม่ได้นำรายชื่อผู้ที่เหมาะสมโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีทั้ง 25 คนตามมติในที่ประชุมของพรรค ไปมอบให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่กลับเสนอเพียง 15 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มของพิชัย พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่งรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงไว้ด้วย ทำให้สมาชิกในกลุ่ม 10 มกราที่อยู่ในรายชื่อที่ไม่ได้ถูกเสนอหลายคนไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
  3. ผู้บริหารระดับสูงของพรรคไม่สามารถแสดงบัญชีรายจ่ายให้เกิดความโปร่งใสในการจัดการเรื่องเงินให้สมาชิกพรรคทราบได้ ภายหลังได้รับเงินจากผู้สนับสนุนพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
  4. ไม่พอใจในผลเจรจากับพรรคการเมืองอื่นในการร่วมจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำ ไม่ได้รับการจัดสรรกระทรวงที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจและบริหาร
  5. พิชัยได้เสนอให้ พิจิตต รัตตกุล บุตรชายของตน ซึ่งได้รับเลือกตั้งซ่อมเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร แทนที่ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ ที่ถึงแก่กรรมไปด้วยการกระทำอัตวินิบาตกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน (ชื่อกระทรวงในขณะนั้น) ทั้งที่อาวุโสทางการเมืองของพิจิตตมีน้อยกว่าคนอื่นในพรรค ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบ และนำเอาระบบสืบตำแหน่งในครอบครัวมาใช้ ซึ่งไม่ควรมีในพรรค

และจาก 5 สาเหตุดังกล่าว นำมาซึ่งการเผชิญหน้ากันระหว่าง 2 ขั้วภายในพรรค และจากความขัดแย้งครั้งนั้น ส่งผลให้การทำหน้าของพรรคประชาธิปัตย์ในรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และการแสดงออกทางการเมืองต่อสาธารณชนไม่เป็นเอกภาพนับแต่นั้น มีการแสดงออกของสมาชิกพรรคในทางที่ขัดแย้งกับมติหรือนโยบายพรรค[95]

ต่อมากลุ่ม 10 มกรา ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับ กลุ่มวาดะห์ ภายหลังจากการที่ทั้งสองกลุ่มไม่ยกมือสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรจนทำให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภา เมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งกลุ่ม 10 มกราบางส่วนและทางกลุ่มวาดะห์ได้ร่วมมือกันจัดตั้งพรรคการเมืองโดยใช้ชื่อว่า พรรคประชาชน[96]

กลุ่มงูเห่า

ก่อนการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2566 รอบที่ 3 สื่อรายงานว่าที่ประชุมพรรคมีมติงดออกเสียง[97] แต่เมื่อถึงวันจริงกลับมี ส.ส. จำนวน 16 คน ลงมติ "เห็นชอบ" ให้เศรษฐา ทวีสิน บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อจากพรรคเพื่อไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนี้[98]

  1. พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สส.สงขลา
  2. อวยพรศรี เชาวลิต สส.นครศรีธรรมราช
  3. เดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา
  4. ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สส.สงขลา
  5. สุภาพร กำเนิดผล สส.สงขลา
  6. ยูนัยดี วาบา สส.ปัตตานี
  7. ชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช
  8. พิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช
  9. ทรงศักดิ์ มุสิกอง สส.นครศรีธรรมราช
  10. ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สส.นครศรีธรรมราช
  11. สุพัชรี ธรรมเพชร สส.พัทลุง
  12. กาญจน์ ตั้งปอง สส.ตรัง
  13. สมบัติ ยะสินธุ์ สส.แม่ฮ่องสอน
  14. วุฒิพงษ์ นามบุตร สส.อุบลราชธานี
  15. ชาตรี หล้าพรหม สส.สกลนคร
  16. จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ สส.ประจวบคีรีขันธ์

ชัยชนะ เดชเดโช หนึ่งในกลุ่ม ส.ส. ดังกล่าว ระบุว่าได้ตัดสินใจไม่นานก่อนเริ่มการประชุมรัฐสภา และพร้อมรับกับผลที่ตามมา[99] ด้าน เดชอิศม์ ขาวทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรค ระบุว่าพรรคไม่มีเอกภาพตั้งแต่การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่ล่มถึงสองครั้ง และมติพรรคก่อนการประชุมร่วมของรัฐสภาไม่ชัดเจน เขายังอ้างว่าแม้แต่อดีตสมาชิกกลุ่ม กปปส. และพรรคภูมิใจไทย ก็ยังลงมติเห็นชอบ ดังนั้นกลุ่มของตนซึ่งเป็นคนยุคใหม่จึงไม่ควรรับมรดกความขัดแย้งต่อจากคนรุ่นเก่า ทั้งนี้ เขากล่าวว่าแม้จะลงมติเห็นชอบ แต่ก็พร้อมทำหน้าที่ฝ่ายค้าน และพรรคยังไม่ถึงจุดแตกหัก[100] ด้านชวน หลีกภัย ยืนยันว่าในวันประชุมพรรคมีมติให้งดออกเสียง และกล่าวถึงเดชอิศม์ว่า "ยอมรับว่าตอนที่เรา (พรรคประชาธิปัตย์) สู้กับพรรคเพื่อไทย และนายทักษิณ ชินวัตร นายเดชอิศม์ ก็อยู่ในพรรคนั้น"[101]

การลาออกจากสมาชิกพรรคของกลุ่มอภิสิทธิ์

ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้ประกาศว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่ำกว่า 52 คน ตนจะวางมือทางการเมืองตลอดชีวิต แต่ในที่สุดก็กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคตามคำเชิญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคจำนวน 21 คน ส่งผลให้เฉลิมชัยถูกวิจารณ์อย่างหนักว่ากระทำขัดต่อคำประกาศของตนก่อนหน้า และขัดต่อคำขวัญของพรรคบนตราสัญลักษณ์ของพรรคที่ระบุว่า "สจฺจํ เว อมตา วาจา"[102]

การกระทำของเฉลิมชัยส่งผลให้มีสมาชิกพรรคที่เป็นกลุ่มผู้สนับสนุนของอภิสิทธิ์ประกาศลาออกเป็นจำนวนมาก ดังนี้

ลำดับที่ชื่อตำแหน่งทางการเมืองในอดีตวันที่ลาออกอ้างอิง
1อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
9 ธันวาคม[71]
2สาธิต ปิตุเตชะ[103]
3สุรันต์ จันทร์พิทักษ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย[104]
4อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย11 ธันวาคม[105]
5สาทิตย์ วงศ์หนองเตย[106]
6อัญชลี วานิช เทพบุตรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต[107]
7อานิก อัมระนันทน์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ12 ธันวาคม[108]
8บุญเลิศ ไพรินทร์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา[109]

การแยกตัวของสมาชิกพรรค

พรรคประชาธิปัตย์เคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค[110] โดยมีดังนี้

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง