อวตังสกสูตร

หนึ่งในคัมภีร์พุทธศาสนานิกายมหายาน

อวตังสกสูตร (IAST, สันสกฤต: आवतंसक सूत्र) หรือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร (สันสกฤต: महावैपुल्य बुद्धावतंसक सूत्र) เป็นพระสูตรสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และถือเป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวที่สุดสูตรหนึ่ง นิกายหัวเหยียนถือพระสูตรนี้เป็นหลัก มีคณาจารย์อธิบายหลักการอันลึกซึ้งมากมาย ทุกวันนี้ นักวิชาการยกย่องเป็นเป็นหนึ่งในพระสูตรที่มีความลึกซึ้งที่สุดสูตรหนึ่งของพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกภาษาจีน จัดอยู่ในหมวดอวตังสกะ (華嚴部) ครอบคลุมหมวดเดียวทั้งหมด เนื่องจากมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก

ปกรงควัตถุสีทองของอวตังสกสูตรฉบับภาษาเกาหลี ค.ศ. 1400.

ที่มา

ในระยะกาลระหว่างพุทธปรินิพพานแล้ว 500 ปี พระสูตรอันลึกซึ้งนี้ยังไม่ถึงอันจะแพร่หลายได้ถูกประดิษฐานซ่อนเร้นอยู่ในนาคมณเฑียร ณ เมืองใต้บาดาล จนถึงสมัยท่านคุรุนาคารชุนท่านลงไปเมืองพญานาคท่องพระสูตรนั้นจนจำได้คล่องแคล้วแล้วขึ้นมาแพร่หลายแก่มนุษย์ เชื่อกันว่าพระสูตรนี้มีด้วยกัน 3 ฉบับที่แพร่หลายเป็นฉบับเล็ก ส่วนฉบับใหญ่นั้นมีโศลกนับด้วยอสงไขยโกฏิ [1]

ก่อนแสดงพระสูตรนี้ ณ สถานที่ต่าง ๆ พระพุทธองค์จะทรงเข้าฌานสมาบัติ เรียกว่า "สาครมุทราสมาธิ" (海印三昧) อุปมาดังวายวายุจักสงบนิ่ง หมู่คลื่นเงียบงัน วารีในมหาสาครนิ่งสนิทราวกับผืนกระจก แล้วบัดนั้นสรรพสิ่งทั่วสากลจักรวาลจักสะท้อนลงบนผืนน้ำนิ่งใส เสมือนดั่งพระพุทธองค์ทรงกอปรด้วยคุณอันประเสริฐคือความอันสงบรำงับ แลใสกระจ่างสะท้อนสรรพสิ่งทั้งมวลให้เป็นหนึ่งในพุทธภาวะ และยังทรงปราศจากคลื่นคือปรากฏการณ์แห่งจิตอันความแบ่งเขาแบ่งเรา แบ่งนั่นแบ่งนี่ ด้วยเหตุนี้จึงขนานนามฌานสมาบัตินี้ว่า สาครมุทราสมาธิ เป็นหัวใจแห่งอวตังสกสูตร กล่าวคือ เมื่อจิตสงบรำงับ ก็เหมือนมหาสาครไร้คลื่น จักทราบว่าปรากฏการณ์ทั้งมวลล้วนไม่ผิดอะไรกับคลื่นไหวระลอก แม้นคลื่นน้อยใหญ่จะผิดแผกกันไป แต่ล้วนมีธรรมชาติเดียวกัน คือน้ำทะเลในมหาสาคร [2]

อนึ่ง สัปตสถาน-นวสันนิบาต (七處九會) คือสถานที่ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าฌานสมาบัติสาครมุทราสมาธิ แล้วทรงแสดงอวตังสกสูตรแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่โลกมนุษย์จนถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ การแสดงพระธรรมครั้งต่างๆ นั้น ได้กลายมาเป็นอวตังสกสูตร พระสูตรที่ยาวที่สุดสูตรหนึ่งของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน [3]

เนื้อหา

อักษรอวตังสกะ 42 ตัว

ต่อไปนี้เป็นเนื้หาโดยสังเขปของอวตังสกสูตร โดยอิงกับ 7สัปตสถาน-9นวสันนิบาต อันเป็นสถานที่แสดงพระสูตรนี้ ต่อไปนี้คือสถานที่และคณะสันนิบาต ซึ่งทรงแสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งถือเป็นสังเขปสารบัญของพระสูตรๆ นี้ด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ว่าด้วยอลังการแห่งพระโลกนาถ ว่าด้วยการปรากฏของพระตถาคต ว่าด้วยสมันตภัทรสมาธิ ว่าการปรากฏของสรรพโลก ว่าด้วยพุทธเกษตรของพระไวโรจนะ ว่าด้วยพระไวโรจนะ [4]

2. ณ โพธิรังสีธรรมาคาร ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ว่าด้วยพระนามของพระตถาคต ว่าด้วยจตุราริยสัจจ์ ว่าด้วยรังสีแห่งการบรรลุธรรม ว่าด้วยพระโพธิสัตว์อาราธนาให้ทรงแสดงธรรมเพื่อความแจ่มแจ้ง ว่าด้วยวิสุทธิจริต ว่าด้วยประมุขธรรม [5]

3. ณ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่าด้วยการเสด็จสู่เขาพระสุเมรุ ว่าด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา ณ ยอดเขาพระสุเมรุ ว่าด้วยทศภูมิกแห่งโพธิสัตว์ ว่าด้วยพรหมจรรย์ ว่าด้วยคุณแห่งการปลูกโพธิจิตตามจริยาพระโพธิสัตว์ ว่าด้วยการรู้แจ้งพระธรรม [6]

4. ณ สรวงสวรรค์ชั้นยามา ว่าด้วยการเสด็จสู่สวรรค์ชั้นยามา ว่าด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา ณ วิมานแห่งแห่งท้าวสุยามะเทวราช ว่าด้วยกุศลจริยาโพธิสัตว์ 10 ประการ ว่าด้วยคุณอันไม่ผันแปรของพระโพธิสัตว์ 10 ประการ [7]

5. ณ สรวงสวรรค์ชั้นดุสิต ว่าด้วยการเสด็จสู่สวรรค์ชั้นดุสิต ว่าด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา ณ วิมานแห่งท้าวดุสิตเทวราช ว่าด้วยทศปริณามนา หรือกระบวนจริยา 10 ขั้นตอนแห่งวัชรเกตุโพธิสัตว์ [8]

6. ณ สรวงสวรรค์ชั้นปรนิมมิสวัตสวัตี ว่าด้วยทศภูมิ [9]

7. ณ โพธิรังสีธรรมาคารอีกคราว่าด้วยสมาธิทั้ง 10 ว่าด้วยการรู้แจ้ง 10 ประการ ว่าด้วยขันติพระโพธิสัตว์ 10 ประการ ว่าด้วยอสงไขย ว่าด้วยช่วงชีวิต ว่าด้วยโพธิสัตว์ภูมิ ว่าด้วยพระธรรมอันโอฬาริกแห่งพระพุทธองค์ ว่าด้วยสาครแห่งพระกายทั้ง 10 แห่งพระตถาคต ว่าด้วยอนุพยัญชนะแห่งกุศลจริยาพระตถาคต ว่าด้วยสมันตภัทรจริยา ว่าด้วยพระรูปแห่งพระตถาคต [10]

8. ณ โพธิรังสีธรรมาคารอีกคราว่าการพ้นโลก [11]

9. ณ เชตวัน เมืองสาวัตถีว่าการเข้าสู่ธรรมธาตุ ส่วนนี้ลักษณะเป็นเอกเทศ เสมือนแยกเป็นพระสูตรต่างหาก เรียกว่า คัณฑวยูหสูตร [12] [13]

ต้นฉบับ

1. คัมภีร์ต้นฉบับ ปกรณ์ที่ถือเป็นต้นฉบับ กล่าวกันว่ามีปริมาณมหาศาล มิอาจจะรวบรวมได้หมดสิ้นเป็นอจิณไตย [14]

2. คัมภีร์ใหญ่ กล่าวกันว่าหากนำเขาพระสุเมรุมาทำพู่กัน นำน้ำหมึกทั้ง 4 มหาสมุทรมาแทนน้ำหมึก ก็ยังเขียนอธิบายได้ไม่หมดสิ้น [15]

ในกาลต่อมาพระคุรุนาคารชุนโพธิสัตว์ หรือนาคารชุนะเดินทางจาริกพบกับภิกษุชราที่ภูเขาหิมาลัย (?) ภิกษุนั้นพาพระนาคารชุนไปยังนาคมณเฑียร เพื่อชมพระสูตรมหายานจำนวนมาก และพบอวตังสกสูตร 3 ฉบับ คือ[16]

1. ฉบับแรก มีจำนวนโศลกเท่ากับละอองธุลีในตรีสหัสมหาโลกธาตุ 10 แห่งรวมกัน จำนวนจุลวรรค เท่ากับละอองธุลีในจตุรทวีป หรือประมาณมิได้ [17]

2. ฉบับกลาง มี 498,800 โศลก แบ่งเป็น 1,200 จุลวรรค ฉบับแรกและฉบับนี้ ยังอยู่ในนาคทมณเฑียร เพราะลึกซึ้งพ้นวิสัยมนุษย์ที่จะเข้าใจ [18]

3. ฉบับหลัง มี 100,000 โศลก 38 จุลวรรค พระนาคารชุนนำมาสู่ชมพูทวีป พร้อมรจนาอจินไตยศาสตร์ ภิกษุจีนสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ดั้นด้นไปชมพูทวีป อัญเชิญมาถึงแผ่นดินจีน[19]

4. ฉบับย่อ คืฉบับที่เผยแพร่ปัจจุบันนี้ มี 60 ปกรณ์ มี 100,000 โศลก สรุปความเป็นภาษาสันสกฤตได้ 36,000 โศลก จีนได้ 45,000 โศลก ฉบับแปลภาษาจีน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับพระพุทธภัทรมหาเถระ แปลระหว่างปีพ.ศ. 961 - 963 กับฉบับของพระมหาสมณะศึกษานันทะ แปลระหว่างปีพ.ศ. 1238 - 1242 [20]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ (แปล). (2548). "พระพุทธาวตังสกะมหาไวปุลยสูตร (7 วรรค)". กรุงเทพฯ คณะศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ธรรม หมื่นคุณธรรมสถาน.
  • Master Hsuan Hua. (2000). Introducing the Avatamsaka Sutra. ใน http://www.buddhistbooks.info/
  • 華嚴遊心法界記 ใน Taishō Shinshu Daizōkyō (大正新修大藏經), Vol 45, No 1877 text, page 645B-C Dainippon Zokuzōkyō (大日本續藏經), vol 103, p. 115-135
  • William Edward Soothill and Lewis Hodous. (1934). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford, England
  • Warder, A. K. Warder (2000). Indian Buddhism. Motilal Banarsidass Publ. p. 402. ISBN 978-81-208-1741-8.
  • เสถียร โพธินันทะ. (2541). ปรัชญามหายาน, กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง