อำเภอพระนครศรีอยุธยา

อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

พระนครศรีอยุธยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารศูนย์กลางธุรกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเดิมชื่อว่า อำเภอรอบกรุง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอกรุงเก่า[1] ซึ่งในประกาศนี้กระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า "เปลี่ยนชื่ออำเภอรอบกรุง เป็น อำเภอรอบกรุง" ในอีก 7 วันต่อมาได้แก้ไขให้ถูกต้องเป็น "เปลี่ยนชื่ออำเภอรอบกรุง เป็น อำเภอกรุงเก่า"[2] และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2500 จากอำเภอกรุงเก่า เป็น "อำเภอพระนครศรีอยุธยา" ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบัน

อำเภอพระนครศรีอยุธยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya
คำขวัญ: 
เมืองหลวงเก่า ชนเผ่าโบราณ
สืบสานงานท้องถิ่น แผ่นดินมรดกโลก
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอพระนครศรีอยุธยา
พิกัด: 14°21′8″N 100°34′36″E / 14.35222°N 100.57667°E / 14.35222; 100.57667
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด130.6 ตร.กม. (50.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด139,399 คน
 • ความหนาแน่น1,067.37 คน/ตร.กม. (2,764.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13000
รหัสภูมิศาสตร์1401
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา ถนนปรีดีพนมยงค์ ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์

  • พ.ศ. 2440 ตั้งอำเภอมีชื่อว่า อำเภอรอบกรุง
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2459 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองกรุงเก่า ในท้องที่อำเภอรอบกรุง รวม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวรอ ตำบลหอรัตนไชย ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลคลองสวนพลู และตำบลกะมัง[3]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอรอบกรุง จังหวัดกรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า เป็น อำเภอกรุงเก่า[1][2]
  • วันที่ 23 มีนาคม 2461 เปลี่ยนแปลงชื่อมณฑลกรุงเก่า เป็น มณฑลอยุธยา และเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดกรุงเก่า เป็น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4][5]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งท้องที่สุขาภิบาลเมืองนครศรีอยุธยา ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา[6]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1[7]
  • วันที่ 16 เมษายน 2483 โอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวรอ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริก, โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวรอ ไปขึ้นกับตำบลหันตรา, โอนพื้นที่หมู่ 1,2,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าวาสุกรี ไปขึ้นกับตำบลหัวดุม และโอนพื้นที่หมู่ 3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลกะมัง ไปขึ้นกับตำบลไผ่ลิง[8]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลประตูจีน อำเภอกรุงเก่า เป็น ตำบลประตูชัย[9]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบ้านรุน แยกออกจากตำบลคลองตะเคียน ตั้งตำบลคลองสวนพลู แยกออกจากตำบลไผ่ลิง และตำบลเกาะเรียน ตั้งตำบลวัดตูม แยกออกจากตำบลสวนพริก ตั้งตำบลบ้านป้อม แยกออกจากตำบลภูเขาทอง และตำบลปากกราน ตั้งตำบลลุมพลี แยกออกจากตำบลคลองสระบัว[10]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2492 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา และกำหนดเขตตำบลในพื้นที่ตำบลหอรัตนไชย ตำบลหัวรอ ตำบลท่าวาสุกรี และ ตำบลกะมัง[11] ให้มีความถูกต้อง
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2499 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 2[12]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2500 โอนพื้นที่ตำบลประตูชัย เข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา[13]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2500 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอกรุงเก่า เป็น อำเภอพระนครศรีอยุธยา[14]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2505 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 3[15]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองสระบัว เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา ไปขึ้นกับตำบลหัวรอ[16]
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลอโยธยา ในพื้นที่บางส่วนของตำบลไผ่ลิง บางส่วนของตำบลหันตรา และบางส่วนของตำบลคลองสวนพลู[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลอโยธยา เป็น เทศบาลตำบลอโยธยา[18]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2542 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา เป็น เทศบาลนครนครศรีอยุธยา[19]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลอโยธยา เป็น เทศบาลเมืองอโยธยา[20]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2548 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลนครนครศรีอยุธยา เป็น เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

พื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 21 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 113 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ประตูชัย(Pratu Chai)-12.วัดตูม(Wat Tum)5 หมู่บ้าน
2.กะมัง(Kamang)-13.หันตรา(Hantra)6 หมู่บ้าน
3.หอรัตนไชย(Ho Rattanachai)-14.ลุมพลี(Lumphli)6 หมู่บ้าน
4.หัวรอ(Hua Ro)-15.บ้านใหม่(Ban Mai)9 หมู่บ้าน
5.ท่าวาสุกรี(Tha Wasukri)-16.บ้านเกาะ(Ban Ko)7 หมู่บ้าน
6.ไผ่ลิง(Phai Ling)-17.คลองสวนพลู(Khlong Suan Phlu)4 หมู่บ้าน
7.ปากกราน(Pak Kran)14 หมู่บ้าน18.คลองสระบัว(Khlong Sa Bua)6 หมู่บ้าน
8.ภูเขาทอง(Phukhao Thong)4 หมู่บ้าน19.เกาะเรียน(Ko Rian)7 หมู่บ้าน
9.สำเภาล่ม(Samphao Lom)11 หมู่บ้าน20.บ้านป้อม(Ban Pom)11 หมู่บ้าน
10.สวนพริก(Suan Phrik)6 หมู่บ้าน21.บ้านรุน(Ban Run)4 หมู่บ้าน
11.คลองตะเคียน(Khlong Takhian)13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประตูชัย ตำบลกะมัง ตำบลหอรัตนไชย ตำบลหัวรอ และตำบลท่าวาสุกรีทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลหันตรา ตำบลบ้านเกาะ ตำบลคลองสวนพลู ตำบลคลองสระบัว และตำบลเกาะเรียน
  • เทศบาลเมืองอโยธยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ลิงทั้งตำบล รวมทั้งตำบลหันตราและตำบลคลองสวนพลู (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากกราน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากกรานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเขาทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำเภาล่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนพริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหันตรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันตรา (นอกเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาและเทศบาลเมืองอโยธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสระบัว (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านรุนทั้งตำบล รวมทั้งตำบลคลองสวนพลู (นอกเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาและเทศบาลเมืองอโยธยา) และตำบลเกาะเรียน (นอกเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านป้อมทั้งตำบล

หน่วยกู้ภัย

  • สมาคมอยุธยารวมใจ (กู้ภัยอยุธยา)
  • ศูนย์วิทยุกู้ภัยพุทไธสวรรย์

สถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ระดับอาชีวศึกษา

สาธิต

ระดับมัธยมศึกษา

สถานพยาบาลรัฐและเอกชน

การคมนาคม

ทางราง

สถานีอยุธยา

อำเภอพระนครศรีอยุธยามีสถานีรถไฟสองแห่งได้แก่สถานีอยุธยาในตำบลหอรัตนไชย และสถานีบ้านม้าในตำบลบ้านเกาะอยู่ถัดจากสถานีอยุธยาไปทางทิศเหนือ ทั้งสองสถานีเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟทางไกลสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง