อำเภอแกลง

อำเภอในจังหวัดระยอง ประเทศไทย

แกลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยอง เดิมมีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ตั้งอยู่บริเวณแหลมยาง เคยเป็นส่วนนึงของจังหวัดจันทบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2451

อำเภอแกลง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Klaeng
ปากแม่น้ำประแสร์ บริเวณตำบลปากน้ำประแส
ปากแม่น้ำประแสร์ บริเวณตำบลปากน้ำประแส
คำขวัญ: 
แหลมแม่พิมพ์สวยหรู สุนทรภู่ครูกวี
ประเพณีทอดผ้าป่ากลางน้ำ อุตสาหกรรมยางพารา
กะปิน้ำปลาขึ้นชื่อ เลื่องลือผลไม้
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอแกลง
แผนที่จังหวัดระยอง เน้นอำเภอแกลง
พิกัด: 12°46′42″N 101°39′12″E / 12.77833°N 101.65333°E / 12.77833; 101.65333
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด788.463 ตร.กม. (304.427 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด129,991 คน
 • ความหนาแน่น164.87 คน/ตร.กม. (427.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 21110,
21170 (เฉพาะตำบลคลองปูน พังราด และปากน้ำกระแส),
21190 (เฉพาะตำบลกร่ำและชากพง),
22160 (เฉพาะตำบลกองดิน)
รหัสภูมิศาสตร์2103
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแกลง เลขที่ 111
หมู่ที่ 10 ถนนมาบใหญ่ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอแกลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

อำเภอแกลงหรือสามย่านในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อำเภอแกลงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวาชื่อ เมืองแกลง ตั้งอยู่บริเวณแหลมเมือง ปากน้ำกระแส (ประแส) อยู่ในความปกครองของมณฑลจันทบุรี เนื่องจากเป็นหัวเมืองสำคัญชายทะเลภาคตะวันออก มีกองทหารเรือตั้งประจำ ต่อมามีการย้ายกองทหารเรือไปตั้งที่อื่น ทางราชการจึงได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งที่บ้านโพธิ์ทอง ตำบลทางเกวียน

อำเภอแกลง หรือชื่อเดิม "อำเภอเมืองแกลง" เคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี ต่อมาเมื่อเห็นว่าเมื่อติดต่อราชการกับจังหวัดจันทบุรี เป็นท้องที่ที่ห่างไกลมากเกินไป และมีระยะทางที่ใกล้กับเมืองระยองมากกว่า จึงยกอำเภอเมืองแกลง มาขึ้นกับจังหวัดระยอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2451 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน[1]

  • วันที่ 22 สิงหาคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอแกลง (1,2,3)[2] โอนพื้นที่หมู่ 13,14,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งควายกิน ไปขึ้นกับตำบลปากน้ำกระแส โอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองปูน ไปขึ้นกับตำบลปากน้ำกระแส และโอนพื้นที่หมู่ 13,14,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลวังหว้า ไปขึ้นกับตำบลทางเกวียน
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลในพื้นที่อำเภอแกลง (1,2,3,4,5)[3] ตั้งตำบลวังหว้า แยกออกจากตำบลทางเกวียน ตั้งตำบลบ้านนา แยกออกจากตำบลกระแสบน ตั้งตำบลพังราด แยกออกจากตำบลกองดิน ตั้งตำบลชากพง แยกออกจากตำบลกร่ำ และตั้งตำบลทุ่งควายกิน แยกออกจากตำบลคลองปูน
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านไร่ (ในขณะนั้น) ของตำบลชากโดน ไปขึ้นและรวมกับพื้นที่หมู่ที่ 2 ของตำบลกร่ำ[4]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลทางเกวียน ในท้องที่บางส่วนของตำบลทางเกวียน[5]
  • วันที่ 1 ธันวาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลทางเกวียน เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[6]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2516 ตั้งตำบลวังจันทร์ แยกออกจากตำบลกระแสบน และตั้งตำบลชุมแสง แยกออกจากตำบลกระแสบน[7]
  • วันที่ 22 พฤศจิกายน 2520 แยกพื้นที่ตำบลชุมแสง และตำบลวังจันทร์ อำเภอแกลง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังจันทร์ ขึ้นกับอำเภอแกลง[8]
  • วันที่ 24 มิถุนายน 2524 ยกฐานะสุขาภิบาลทางเกวียน เป็นเทศบาลตำบลทางเกวียน[9]
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลป่ายุบใน แยกออกจากตำบลชุมแสง[10]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2523 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำประแส ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำกระแส[11] และจัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งควายกิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งควายกิน บางส่วนของตำบลคลองปูน[12]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลน้ำเป็น แยกออกจากตำบลทุ่งควายกิน[13]
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลชำฆ้อ แยกออกจากตำบลบ้านนา[14]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลสุนทรภู่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกร่ำ และตำบลชากพง[15]
  • วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลห้วยยาง แยกออกจากตำบลเนินฆ้อ[16]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลห้วยทับมอญ แยกออกจากตำบลน้ำเป็น[17]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลชุมแสง ในท้องที่บางส่วนของตำบลชุมแสง และตำบลวังจันทร์[18]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลสองสลึง แยกออกจากตำบลชากโดน[19]
  • วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังจันทร์ อำเภอแกลง เป็น อำเภอวังจันทร์[20]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลพลงตาเอี่ยม แยกออกจากตำบลวังจันทร์[21] และรับพื้นที่เขตสุขาภิบาลชุมแสงมาแทนที่ตำบลวังจันทร์
  • วันที่ 28 เมษายน 2535 ตั้งตำบลเขาน้อย แยกออกจากตำบลชำฆ้อ[22]
  • วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลกองดิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลกองดิน[23]
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลน้ำเป็น ตำบลห้วยทับมอญ ตำบลชำฆ้อ และตำบลเขาน้อย อำเภอแกลง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาชะเมา ขึ้นกับอำเภอแกลง[24]
  • วันที่ 22 เมษายน 2541 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลทางเกวียน จังหวัดระยอง เป็น เทศบาลตำบลเมืองแกลง[25]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากน้ำประแส สุขาภิบาลทุ่งควายกิน สุขาภิบาลสุนทรภู่ และสุขาภิบาลกองดิน เป็นเทศบาลตำบลปากน้ำประแส เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน เทศบาลตำบลสุนทรภู่ และเทศบาลตำบลกองดิน ตามลำดับ
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลกร่ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลชากพง รวมกับเทศบาลตำบลสุนทรภู่ จังหวัดระยอง[26]
  • วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำกระแส รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน จังหวัดระยอง[27]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง เป็น อำเภอเขาชะเมา[28]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอแกลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ทางเกวียน(Thang Kwian)11 หมู่บ้าน9.ทุ่งควายกิน(Thung Khwai Kin)13 หมู่บ้าน
2.วังหว้า(Wang Wa)14 หมู่บ้าน10.กองดิน(Kong Din)11 หมู่บ้าน
3.ชากโดน(Chak Don)8 หมู่บ้าน11.คลองปูน(Khlong Pun)9 หมู่บ้าน
4.เนินฆ้อ(Neun Kho)9 หมู่บ้าน12.พังราด(Phang Rat)8 หมู่บ้าน
5.กร่ำ(Kram)6 หมู่บ้าน13.ปากน้ำประแส(Pak Nam Prasae)8 หมู่บ้าน
6.ชากพง(Chak Phong)7 หมู่บ้าน14.ห้วยยาง(Huai Yang)9 หมู่บ้าน
7.กระแสบน(Krasae Bon)14 หมู่บ้าน15.สองสลึง(Song Salueng)8 หมู่บ้าน
8.บ้านนา(Ban Na)13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอแกลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเมืองแกลง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทางเกวียนและตำบลวังหว้า
  • เทศบาลตำบลปากน้ำประแส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากน้ำประแส
  • เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งควายกินและตำบลคลองปูน
  • เทศบาลตำบลสุนทรภู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกร่ำและตำบลชากพงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกองดิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกองดิน
  • เทศบาลตำบลเนินฆ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินฆ้อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสองสลึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองสลึงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทางเกวียน (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหว้า (นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชากโดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชากโดนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระแสบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระแสบนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งควายกิน (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งควายกิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองดิน (นอกเขตเทศบาลตำบลกองดิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองปูน (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งควายกิน) และตำบลปากน้ำกระแส (นอกเขตเทศบาลตำบลปากน้ำประแส)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพังราด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังราดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยางทั้งตำบล

หน่วยกู้ภัย

  • สมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ (กู้ภัยพุทธศาสตร์)
  • มูลนิธิพุทธประชานุเคราะห์(หน่วยกู้ภัยพ่งไล้กุยอิงเกาะ)

สถานศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

  • มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ระยอง

สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
  • วิทยาลัยการอาชีพแกลง

โรงเรียนมัธยม

  • โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร"
  • โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา
  • โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา
  • โรงเรียนห้วยยางศึกษา
  • โรงเรียนวัดสุขไพรวัน
  • โรงเรียนบ้านสองสลึง(ตั้งตรงจิตร ๙)

โรงเรียนเอกชน

  • โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา
  • โรงเรียนอนุบาลหลานรัก

โรงเรียนเทศบาล

  • โรงเรียนอยู่เมืองแกลงวิทยา

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

  • วัดสมมติเทพฐาปนาราม
  • วัดตะเคียนงาม
  • วัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม
  • วัดสารนารถธรรมาราม
  • วัดวังหว้า (หลวงปู่คร่ำ)
  • วัดบ้านนา (หลวงปู่บุญ)
  • วัดเขาถ้ำระฆังทอง
  • ค่ายกองดินปืน วัดกองดิน
  • ศาลพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำประแส
  • ศาลจ้าวพ่อกื้ออี่ไทรย้อย (เจ้าพ่อ 108 - ไหหลำ) ปากน้ำประแส
  • อนุสาวรีย์สุนทรภู่
  • อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส
  • ทุ่งโปร่งทอง ปากน้ำประแส
  • สวนวังแก้ว
  • แหลมแม่พิมพ์
  • หาดแหลมสน ปากน้ำประแส
  • หมู่เกาะมัน
  • ชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส
  • บ้านพิพิธภัณฑ์ปากน้ำประแส
  • พิพิธภัณฑ์วัดเขากระโดน
  • พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเลจังหวัดระยอง
  • พิพิธภัณฑ์บ้านครูกัง
  • บ้านจำรุงมหาวิทยาลัยบ้านนอก
  • ชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม บ้านเอื้ออาทรระยอง วังหว้า
  • แพล่องแม่น้ำประแส
  • สะพานประแสสิน
  • สะพานรักษ์แสม บ้านเนินทราย ต.เนินฆ้อ
  • สนามกีฬากลางเมืองแกลง
  • อ่างเก็บน้ำเขาจุก
  • วัดท่ามะกอก

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง