อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2563

นับตั้งแต่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563[1] ฝนตกหนักและต่อเนื่องในฤดูฝนของเอเชียตะวันออกได้นำไปสู่ อุทกภัยในประเทศจีน ในช่วงเดือนมิถุนายน อุทกภัยเกิดขึ้นหลักในภูมิภาคตอนใต้ของจีน ส่งผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคน[2] ในเดือนกรกฎาคม มีการคาดการณ์ว่าฝนที่ตกหนักขึ้นกว่าเดิมนั้นจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคทางตอนกลางและตะวันออกของจีน[7] เหตุอุทกภัยนี้ถือว่าเป็นอุทกภัยที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่อุทกภัยในประเทศจีนปี พ.ศ. 2541 เป็นอย่างน้อย[8]

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2563
น้ำท่วมเมืองเก่าต้าทง ในนครถงหลิง กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วันที่ต้นเดือนมิถุนายน[1] – ปัจจุบัน
ที่ตั้งหูหนาน เจียงซี กวางสี กุ้ยโจว เสฉวน หูเป่ย์ ฉงชิ่ง อานฮุย เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน และยูนนาน[2][3][4][1]
เสียชีวิตเสียชีวิตหรือสูญหาย >141 คน (13 กรกฎาคม)[5][3]
ทรัพย์สินเสียหาย82.23 พันล้านหยวน (RMB) (12 กรกฎาคม)[6]

กระทรวงจัดการเหตุฉุกเฉินของจีน (应急管理部) ระบุว่า ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน เหตุอุทกภัยนี้ได้ทำให้ประชาชน 744,000 คนจากพื้นที่ทั้งหมด 26 มณฑลของจีนต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน และมี 81 รายที่เสียชีวิตหรือสูญหาย[2] ในต้นเดือนกรกฎาคม เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์รายงานว่าผู้อยู่อาศัยจำนวน 20 ล้านคนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยนี้ และมี 121 รายที่เสียชีวิตหรือสูญหาย[9] ในวันที่ 13 กรกฎาคม อุทกภัยได้ส่งผลกระทบต่อประชากร 37.89 ล้านคนใน 27 มณฑล เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนคร มี 141 รายที่เสียชีวิตหรือสูญหาย และมีบ้าน 28,000 หลังพังถล่ม[5] กระทรวงทรัพยากรน้ำ (水利部) ระบุว่ามีแม่น้ำทั้งหมด 443 สายที่เกิดน้ำท่วม ในจำนวนนี้มี 33 สายที่มีระดับน้ำสูงที่สุดในประวัติศาสตร์[10] จากสถิติของกรมมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ (国家文物局) พบว่าโบราณวัตถุสำคัญทางวัฒนธรรม 76 แห่ง และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมระดับมณฑล 187 แห่งได้รับความเสียหายในระดับต่าง ๆ จากน้ำท่วม[11]

ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบนั้นได้แก่ มณฑลกวางสี มณฑลกุ้ยโจว มณฑลเสฉวน มณฑลหูเป่ย และฉงชิ่ง[2][4][12] รวมถึงพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของแอ่งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาขา น้ำฝนจำนวนมากเริ่มไหลท่วมภูมิภาคตอนล่างของแม่น้ำ ได้แก่ มณฑลอานฮุย มณฑลเจียงซี และมณฑลเจ้อเจียง[1] รวมทั้งมณฑลหูหนาน มณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลยูนนาน ก็ได้รับผลกระทบ

สาเหตุ

เหตุจากธรรมชาติ

เอลนีโญได้ส่งผลให้เกิดอากาศแปรปรวนในหลายส่วนของจีน นักอุตุนิยมวิทยา หู เซี่ยว (胡啸) จากกรมอุตุนิยมวิทยาจีน (中国气象局; CMA) ระบุว่าฝนที่ตกมากกว่าปกตินี้เป็นผลมาจากไอน้ำจำนวนมากที่ระเหยจากมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก[13]

เหตุจากมนุษย์

ในปี พ.ศ. 2458 ทะเลสาบต้งถิงมีพื้นที่ 5,000 ตร.กม. (1,900 ตารางไมล์)[14] แต่ในปี พ.ศ. 2543 พื้นที่ของทะเลสาบเหลือเพียง 2,625 ตร.กม. (1,014 ตารางไมล์)[14] เช่นเดียวกับในคริสต์ทศวรรษ 1950 ซึ่งทะเลสาบโผหยางมีพื้นที่ 4,350 ตร.กม. (1,680 ตารางไมล์)[14] แต่ในปี พ.ศ. 2543 เหลือเพียง 3,750 ตร.กม. (1,450 ตารางไมล์)[14] มณฑลหูเป่ย์นั้นเคยถูกเรียกขานว่าเป็น "มณฑลแห่งทะเลสาบนับพัน" (千湖之省)[14] ที่ซึ่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 มีทะเลสาบรวม 1,066 แห่ง[14] แต่ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เหลือเพียง 309 แห่งเท่านั้น[14][15] เนื่องด้วยการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ทะเลสาบจำนวนมากได้ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่ทำเกษตรและอยู่อาศัย เพื่อตอบรับกับความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความต้องการพื้นที่อยู่อาศัย[14] การลดขนาดลงและการหายไปของทะเลสาบเหล่านี้ในพื้นที่ของแม่น้ำแยงซีตอนกลางและตอนล่าง เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อุทกภัยเกิดขึ้นรุนแรงขึ้นมาก[15][16][17]

เขื่อนสามผา

เขื่อนหลายแห่งในลุ่มแม่น้ำแยงซีใช้ในการควบคุมน้ำท่วม โดยเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดก็คือเขื่อนซานเสียต้าป้า หรือเขื่อนสามผา (三峡大坝) ที่มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์) ซึ่งถูกสร้างขึ้นไม่เพียงแต่สำหรับการผลิตไฟฟ้าแต่ยังใช้สำหรับการควบคุมน้ำท่วม โดยเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2563 ได้มีการเริ่มปล่อยน้ำในเขื่อนออกมา[18] ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาจีน ระบุว่าการปล่อยน้ำเริ่มในวันที่ 29 มิถุนายน แต่ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าประตูระบายน้ำถูกเปิดขึ้นก่อนหน้านั้นห้าวัน[19] อี๋ชาง (宜昌) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใต้เขื่อน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการควบคุมน้ำท่วมโดยเขื่อน[20] มีความกังวลว่านครอู่ฮั่นจะถูกน้ำท่วม[4] บริษัทที่จัดการเขื่อนได้กล่าวว่า เขื่อนได้ "ลดความเร็วและขอบเขตของระดับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพในตอนกลางและตอนล่างของลุ่มแม่น้ำแยงซี"[21] อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์กล่าวว่า เขื่อน "ไม่ได้ทำในสิ่งที่มันถูกออกแบบมา" และไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์รุนแรงได้[21]

มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความปลอดภัยของเขื่อนสามผา โดยเฉพาะจากสื่อของกลุ่มการเมืองพันธมิตรรวมกลุ่มสีเขียว (泛綠聯盟; Pan-Green Coalition) ในไต้หวัน[22] รายงานคาดการณ์การวิบัติของเขื่อนเกิดขึ้นเกือบทุกฤดูร้อนในสื่อของไต้หวัน[23] หนังสือพิมพ์ the Global Times (环球时报) ของรัฐบาลจีนปิดกั้นรายงานเหล่านี้ โดยบอกว่าเขื่อนซานเสียต้าป้า นั้นปลอดภัยสำหรับกรณีฝนตกหนักและ "ไม่เสี่ยงต่อการวิบัติ"[24] สื่อต่างประเทศบางแห่งกระตุ้นว่ามี "การบิดเบือน" ในเรื่องของเขื่อนสามผา[25]

ปฏิบัติการของรัฐบาล

รัฐบาลจีนจัดสรรงบประมาณ 309 ล้านหยวน (44.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคที่ประสบอุทกภัย[5] ในวันที่ 8 กรกฎาคมและ 12 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้สั่งการให้ดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ในพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง[26][5][27]

ในตอนเย็นของวันที่ 12 กรกฎาคม มีเจ้าหน้าที่และทหารของกองทัพภาคที่ 71 และกองทัพภาคที่ 72 เดินทางไปที่เมืองจิ่วเจียง (九江) ในมณฑลเจียงซี และเมืองถงหลิง (铜陵) ในมณฑลอานฮุย เพื่อเข้าร่วมในการต่อสู้น้ำท่วมและงานช่วยเหลือฉุกเฉิน[28][29][30] ในตอนเช้าของวันที่ 14 กรกฎาคมมีเจ้าหน้าที่และทหารกว่า 3,700 นายจากกองทัพภาคที่ 73 เร่งรีบไปยังเขตอำเภอหยูกาน (余干县) ของมณฑลเจียงซี เพื่อสู้กับอุทกภัยและรับมือกับเหตุฉุกเฉิน[28][29][30] และในวันเดียวกันตามคำสั่งของคณะกรรมาธิการทหารกลาง เจ้าหน้าที่และทหารกว่า 16,000 คนถูกส่งไปยังเมืองจิ่วเจียง, เมืองชั่งเหรา (上饶) และพื้นที่อื่น ๆ ของมณฑลเจียงซีเพื่อต่อสู้กับน้ำท่วม[28][29][30] เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 19 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ของกองบัญชาการยุทธบริเวณกลาง (中部战区) มาถึงนครอู่ฮั่นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ตอนกลางของจีน เพื่อควบคุมสถานการณ์น้ำท่วมและบรรเทาภัยพิบัติ[31]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง