อุมมุลเกาะอาบ

อุมมุลเกาะอาบ (อาหรับ: أم القعاب) เป็นสุสานหลวงของผู้ปกครองในช่วงสมัยต้นยุคราชวงศ์[1] ที่อไบดอส ประเทศอียิปต์[2] ชื่อในปัจจุบันมีความหมายว่า "มารดาแห่งหม้อ" เนื่องจากพื้นที่ทั้งหมดเกลื่อนไปด้วยเศษหม้อที่แตกจากเครื่องบูชาที่ทำขึ้นในสมัยก่อน ชื่อโบราณทางศาสนาของพื้นที่คือ (w-)pkr หรือ (rꜣ-)pkr "เขตของต้น pkr" (ไม่ปรากฏชื่อชนิด) หรือ "การเปิดของต้น pkr" (คอปติก: upoke) , เป็นของ tꜣ-dsr "ดินแดนสันโดษ/โล่ง" (สุสาน) หรือ crk-hh "ผูกพันชั่วนิรันดร์" (คอปติก: Alkhah)

อุมมุลเกาะอาบ
อาหรับ: أم القعاب
มุมมองกว้างของพื้นที่ซึ่งปรากฏร่องรอยเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา
อุมมุลเกาะอาบตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อุมมุลเกาะอาบ
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอียิปต์
ที่ตั้งอียิปต์
ภูมิภาคเขตผู้ว่าการอัลวาดีลญะดีด
พิกัด26°10.5′N 31°54.5′E / 26.1750°N 31.9083°E / 26.1750; 31.9083
pq
r
O49
เพเกอร์
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

บริเวณแห่งนี้เคยเป็นสถานที่เคารพบูชาในอียิปต์โบราณ และในสมัยราชอาณาจักรกลาง มีการขุดหลุมฝังศพหลวงของราชวงศ์อย่างน้อยหนึ่งแห่งและบูรณะขึ้นใหม่สำหรับนักบวชแห่งโอซิริส[3]

หลุมฝังศพของบริเวณนี้ถูกขุดขึ้นครั้งแรกโดยเอมีล อาเมลีโน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 และขุดค้นอย่างเป็นระบบโดยฟลินเดอรส์ พีทรี ระหว่างปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901[3] ตั้งแต่นั้นมาพื้นที่นี้ก็ถูกขุดอีกครั้งโดยสถาบันโบราณคดีแห่งเยอรมันตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งอนุญาตให้มีการสร้างเค้าโครงเดิมและรูปลักษณ์ของสุสานเหล่านี้ขึ้นใหม่อย่างละเอียดถี่ถ้วน[3]

สุสานหลวงก่อนหน้าสมัยราชวงศ์

  • สุสาน ยู-เจ: เป็นสุสานของผู้ปกครองที่ไม่ทราบพระนาม แต่อาจจะสุสานหลวงของฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 ซึ่งค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ในนั้น[4] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าเป็นของผู้ปกครองยุคก่อนราชวงศ์พระนามว่า บูล ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ แผ่นจารึกงาช้าง[5]
  • สุสาน บี1/บี2: อิริ-ฮอร์[6]
  • สุสาน บี7/บี9: คา

สุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

รู้จักกันในชื่อ สุสาน บี พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์และฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สอง

เศษเครื่องปั้นดินเผาจากฐานของเหยือกในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่ง จากสุสานหลวงแห่งเซเมอร์เคตที่อุมมุลเกาะอาบ อไบดอส ประเทศอียิปต์ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี กรุงลอนดอน

สุสานหลวงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สองได้ทรงนำพระบรมศพกลับมาฝังไว้ใกล้กับผู้ปกครองก่อนหน้า ซึ่งพระองค์ทรงยังฟื้นฟูแนวปฏิบัติในการสร้างหลุมฝังพระบรมศพด้วยอิฐโคลนในบริเวณใกล้เคียง

  • สุสาน วี: เพอร์อิบเซน[16] ตราประทับที่พบในสุสานดังกล่าวปรากฏประโยคเต็มประโยคแรกที่เขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณ[17]
  • สุสาน พี: คาเซเคมวี[18] หลุมฝังพระบรมศพแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก มีห้องที่ก่อด้วยอิฐโคลนเชื่อมต่อกันหลายห้อง และห้องฝังพระบรมศพจริงๆ ถูกสร้างขึ้นจากบล็อกหินปูน เมื่อ พีทรีได้ขุดค้นในปี ค.ศ. 1901 ภายในบรรจุคทาที่ทำจากหินทรายและหุ้มด้วยทองคำ แจกันหินปูนที่มีฝาปิดสีทอง และเหยือกน้ำและอ่างทองเหลือง[ต้องการอ้างอิง]
  • พื้นที่สุสานของฟาโรห์คาเซเคมวี เต็มไปด้วยทราย

การสังเวยมนุษย์กับสุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่ง

มีการบูชายัญมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีพระบรมศพที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่หนึ่ง[19] ในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการฝังศพของบุคคลจำนวน 338 คนที่คิดว่าถูกสังเวยแล้ว[19] ผู้คนและสัตว์ที่บูชายัญ เช่น ลา ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือฟาโรห์ในพระชนม์ชีพหลังจากสวรรคต และดูเหมือนว่าข้าราชบริพารของฟาโรห์ดเจอร์จะถูกรัดคอและถูกฝังลงในสุสานของพวกเขาพร้อมกัน[20][21] ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุ การประเพณีปฏิบัตดังกล่าวสิ้นสุดเมื่อราชวงศ์ที่หนึ่งล่มสลาย โดยโดยปรากฏการมีตุ๊กตาชวาติสเข้ามาแทนที่ผู้คนจริง ๆ เพื่อช่วยเหลือฟาโรห์ด้วยหน้าที่ที่คาดหวังจากพวกเขาในชีวิตหลังความตาย[19]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร