เหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เหตุการณ์ในประเทศไทย

วันที่ 14 ตุลาคม 2563 เกิดเหตุการณ์ผู้ประท้วงคณะราษฎรชูมือเป็นสัญลักษณ์สามนิ้วและตะโกนใส่ขบวนเสด็จฯ ที่มีภาพปรากฏว่าขับฝ่าที่ชุมนุม[1] บริเวณถนนพิษณุโลก หน้าทำเนียบรัฐบาล ในเวลาประมาณ 17.00 น. เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเล็กน้อยระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนและกลุ่มคนเสื้อเหลือง มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย[2]

เหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก
วันที่14 ตุลาคม 2563
เวลาประมาณ 17.00 น. (UTC+7)
ที่ตั้งถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
เหตุจูงใจการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563
ผู้เข้าร่วม
  • ขบวนเสด็จฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มกัน
  • ผู้ประท้วงคณะราษฎร
  • กลุ่มคนเสื้อเหลือง
ผลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครระหว่าง 15–22 ตุลาคม 2563
ต้องหา5
พิจารณาคดีศาลอาญาพิพากษายกฟ้องทั้ง 5 จำเลย
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon ขบวนเสด็จฯ ฝ่าแนวผู้ชุมนุมประท้วง 14 ตุลาคม 2563, วิดีโอเฟซบุ๊ก
1
2
3
4
5
แผนที่เขตดุสิต
1
ถนนพิษณุโลก
2
แยกนางเลิ้ง
3
ถนนราชดำเนินนอก
4
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
5
ทำเนียบรัฐบาล

หลังจากนั้นมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครในวันที่ 15 ตุลาคม โดยอ้างเหตุผู้ชุมนุมขวางขบวนเสด็จฯ มีการจับกุมนักเคลื่อนไหว 2 คนในความผิดฐาน "ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี" (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110) นายตำรวจอาวุโสสามนายถูกสั่งย้ายตำแหน่งและสอบสวน การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังกล่าวยังเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563

ขบวนเสด็จฯ

ขบวนเสด็จฯ ดังกล่าวเป็นขบวนของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ซึ่งตามหมายกำหนดการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสารามและวัดอรุณราชวรารามในเวลา 17.50 น.[3] โดยกำหนดการว่าจะใช้ถนนราชดำเนิน ไม่ใช่ถนนพิษณุโลก[1]

ในวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ตำรวจเตือนผู้ประท้วงว่าอย่าขวางขบวนเสด็จฯ ในวันที่ 14 ตุลาคม[4]

เหตุการณ์

ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นผู้ประท้วงมีแผนเคลื่อนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกสกัดอยู่ที่แยกนางเลิ้ง แขวงสวนจิตรลดา​และมีผู้ชุมนุมบางส่วนชุมนุมที่ถนนพิษณุโลก​อยู่ก่อนแล้ว[3]

ในเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2563 รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถวเปิดเส้นทางและวิ่งประกบ ส่วนผู้ประท้วงกลุ่มคณะราษฎรชูมือสัญลักษณ์สามนิ้วจากภาพยนตร์ชุด เกมล่าเกม กับส่งเสียงโห่และเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไป ขณะที่กลุ่มคนเสื้อเหลืองพยายามกีดกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าใกล้ขบวนเสด็จฯ แต่ไม่มีรายงานการปะทะกัน[3] ผู้ประท้วงบางคนยังตะโกนว่า "ภาษีกู"[5]

ทั้งนี้ ไม่มีประกาศล่วงหน้าว่าจะมีการใช้เส้นทางดังกล่าว กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ทราบว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ผ่าน และจู่ ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้กำลังกะทันหัน[1]

หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ ลงภาพขณะมีผู้ชูนิ้วกลางใส่ขบวนเสด็จฯ 2 คน[6]

ปฏิกิริยา

อานนท์ นำภากล่าวหาว่ามีผู้จงใจจัดขบวนเสด็จฯ ฝ่ากลุ่มผู้ชุมนุม[7] สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติ กล่าวหาว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และว่าตนสงสัยว่าอาจเกิดรัฐประหาร[8] ด้าน นพเก้า คงสุวรรณ ผู้สื่อข่าวประจำหนังสือพิมพ์ข่าวสด​ ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดไม่มีการเคลียร์เส้นทางตามแบบปฏิบัติมาแต่รัชกาลก่อน และไม่ใช่เส้นทางอื่นโดยรอบที่ไม่มีผู้ชุมนุม[9]

คืนวันเดียวกัน ประยุทธ์กล่าวหาว่าผู้ประท้วงขวางขบวนเสด็จฯ และมีการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ[10] วันที่ 15 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 4.00 น. ประยุทธ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครโดยอ้างเหตุขวางขบวนเสด็จฯ ดังกล่าว[11] และสลายการชุมนุมของคณะราษฎรบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลไทย[12][13] และมีผู้ถูกจับกุม 20 คน เป็นแกนนำ 3 คน[14] มีการตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) และสั่งห้ามเผยแพร่สื่อที่เผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง[14] นายตำรวจ 3 นายถูกสั่งย้ายและสอบสวน[15]

มีนักกิจกรรม 2 คนถูกจับกุมฐานพยายาม "ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี" (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110)[16][17] ซึ่งต่อมาได้รับประกันตัว[18]

หลังจากนั้นการประท้วงยังดำเนินต่อไป แม้ว่าตำรวจแจ้งว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 16 ตุลาคม มีการสลายการชุมนุมอย่างสงบที่แยกปทุมวันด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[19][20] และผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแจ้งว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน[21]

รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในวันที่ 22 ตุลาคม 2563[22][23] และออกพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ[24] ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงว่า เป็นการเปิดญัตติเฉพาะเรื่องขบวนเสด็จเท่านั้น เป็นการจงใจใส่ร้ายผุ้ชุมนุม[25] ด้านพรรคก้าวไกลเตรียมยื่นญัตติตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนการจัดเส้นทางขบวนเสด็จฯ[26]

กลุ่มและสื่อฝ่ายขวาใช้เหตุการณ์นี้โจมตีผู้ประท้วง[27][28] ผู้นิยมเจ้าซึ่งมักเป็นผู้สูงอายุมีความเห็นว่า จะต่อต้านรัฐบาลอย่างไรก็ได้ แต่ห้ามต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์[29]

คดีความ

ตำรวจออกหมายจับผู้ต้องหารวม 5 ราย อัยการส่งฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยศาลให้ประกันตัวโดยวางเงินเป็นหลักประกันคนละ 2–3 แสนบาท[30]

ในวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาระบุใจความสำคัญ เห็นว่าในวันเกิดเหตุ (14 ตุลาคม 2563) ตำรวจไม่ได้จัดการเส้นทางเสด็จให้เรียบร้อย โดยพบว่าเส้นทางยังมีรถจอดอยู่ริมถนน และไม่มีการแสดงสัญลักษณ์หรือประกาศแจ้งก่อนการเคลื่อนขบวนเสด็จ

จากการสืบพยาน พบว่าความเข้าใจของผู้อยู่ในเหตุการณ์ไม่เท่ากัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) ในที่เกิดเหตุ ก็เพิ่งทราบว่าจะมีขบวนเสด็จ และไม่ทราบว่าเป็นขบวนเสด็จของพระองค์ใด ขณะขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน มีการชักล้อมรถของเจ้าหน้าที่ประชาชนจึงเข้าใจว่าจะมีการสลายการชุมนุม จึงได้ตะโกนโห่ร้องและชูสามนิ้วเพื่อประท้วงตำรวจ ไม่ใช่ประท้วงต่อขบวนเสด็จ เมื่อประชาชนทราบว่าเป็นขบวนเสด็จ ก็เคลื่อนผ่านไปได้ ไม่ได้มีการขว้างปาสิ่งของหรือขัดขวางขบวนเสด็จ [31]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร