เหรียญกล้าหาญ

เหรียญกล้าหาญ เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยใช้ชื่อย่อว่า ร.ก. โดยสร้างขึ้นตามพระราชกำหนดเหรียญกล้าหาญ พ.ศ. 2484 เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญทดแทนเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ ต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเหรียญกล้าหาญ โดยยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติเหรียญกล้าหาญ พ.ศ. 2521 เพื่อบังคับใช้แทนที่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เหรียญกล้าหาญ
เหรียญกล้าหาญ
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย
อักษรย่อร.ก.
ประเภทเหรียญบำเหน็จกล้าหาญ
วันสถาปนา3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484
ประเทศไทย ราชอาณาจักรไทย
ภาษิตเรากล้ารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับบุคคลหรือหน่วยทหารที่ทำการรบอย่างกล้าหาญ
มอบเพื่อทหาร ตำรวจ หน่วยทหาร และผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ ซึ่งได้กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญกับราชศัตรูตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ประธานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถิติการมอบ
รายแรกสุรินทร์ ปั้นดี
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2484
รายล่าสุด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ทั้งหมด209 ราย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เหรียญรามมาลา
รองมาเหรียญชัยสมรภูมิ
เสมอเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ
หมายเหตุพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากผู้สมควรได้รับพระราชทานได้วายชนม์ไปก่อน ให้ทายาทโดยธรรมรับพระราชทานแทน

ลักษณะของเหรียญ

เหรียญกล้าหาญมีลักษณะเป็นเหรียญโลหะกลมรมดำ ด้านหน้ามีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรจารึกว่า “สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้ชาติ” ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า “เรากล้ารบเพื่อเกียรติศักดิ์ไทย” ตัวเหรียญห้อยกับแพรแถบสีแดงขาว กว้าง 3.5 เซนติเมตร ข้างบนมีเข็มโลหะรมดำรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า “กล้าหาญ”

การพระราชทาน

การพระราชทานเหรียญกล้าหาญตามพระราชบัญญัติเหรียญกล้าหาญ พ.ศ. 2521 กำหนดไว้ว่า เหรียญกล้าหาญนี้จะพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ หน่วยทหาร และผู้ที่กระทำหน้าที่อย่างทหารหรือตำรวจ ซึ่งได้กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญกับราชศัตรูตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ถ้าบุคคลหรือหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญกระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญต่อมาอีก จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายรูปช่อชัยพฤกษ์ทำด้วยโลหะสีทอง สำหรับติดที่แพรแถบต่อไปครั้งละ 1 เครื่องหมาย

แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อเหรียญกล้าหาญ
แพรแถบย่อเหรียญกล้าหาญ ประดับช่อชัยพฤกษ์

กรณีที่บุคคลซึ่งสมควรได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญตายเสียก่อนได้รับพระราชทาน จะได้พระราชทานแก่ทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งของผู้นั้น เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงความกล้าหาญของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ทายาทไม่มีสิทธิประดับเหรียญกล้าหาญดังกล่าว และถ้าผู้ได้รับพระราชทานหรือทายาทโดยธรรมผู้รักษาเหรียญกล้าหาญนั้น กระทำความผิดร้ายแรงหรือประพฤติตนไม่สมเกียรติอาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนดหนึ่งเดือน ต้องใช้ราคาเหรียญนั้น

บุคคลหรือหน่วยทหารซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ให้มีประกาศนียบัตร ทรงลงพระปรมาภิไธย ประทับพระราชลัญจกร

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน

บุคคล

หมายเหตุ: ชั้นยศ พระนาม ชื่อและนามสกุล ของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ สะกดตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา

ในรัชกาลที่ 8

ชั้นยศ-ชื่อ-นามสกุลสังกัดวันที่ประกาศ
ชื่อผู้รับพระราชทาน
ปฏิบัติการครั้งที่ได้รับพระราชทานหมายเหตุอ้างอิง
  1. นายพันตรี สุรินทร์ ปั้นดี
  2. นายพันตรี สนิท หงษ์ประสงค์
  3. นายร้อยโท ไชโย กระสิณ
  4. จ่านายสิบเอก กิมไล้ แซ่เตียว
  5. จ่านายสิบเอก คล้อย วงษ์สถิน
  6. จ่านายสิบเอก โพล้ง กลัดตลาด
  7. จ่านายสิบเอก ขุนทอง ขาวสุขา
  8. นายสิบตรี ยงค์ สุขแสง
  9. นายสิบตรี สำเภา สมประสงค์
  10. นักเรียนนายสิบ จำนงค์ แฉล้มสุข
  11. นักเรียนนายสิบ คณึง รงค์กระจ่าง
  12. พลทหาร สมัคร์ เนียวกุล
  13. พลทหาร ยม สืบกุศล
  14. พลทหาร อรุณ กลิ่นบัวแก้ว
  15. พลทหาร เต็ก ขจรเวช
กองทัพบก25 ก.ค. 2484กรณีพิพาทอินโดจีน[1]
นายร้อยตำรวจตรี หนู ไชยบุรีตำรวจสนาม25 ก.ค. 2484กรณีพิพาทอินโดจีน[1]
  1. นายนาวาอากาศเอก ขุนรณนภากาศ (ฟื้น ฤทธาคนี)
  2. นายนาวาอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสนาะ ลดาวัลย์
  3. นายนาวาอากาศตรี หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
  4. นายเรืออากาศเอก ประสงค์ สุชีวะ
  5. นายเรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
  6. นายเรืออากาศเอก มานพ สุริยะ
  7. นายเรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
  8. นายเรืออากาศโท ทองใบ พันธุ์สบาย
  9. นายเรืออากาศโท ผัน สุวรรณรักษ์
  10. นายเรืออากาศตรี สว่าง พัดทอง
  11. นายเรืออากาศตรี สังวาลย์ วรทรัพย์
  12. นายเรืออากาศตรี สำราญ โกมลวิภาต
  13. นายเรืออากาศตรี จรูญ กฤษณราช
  14. นายเรืออากาศตรี แวว จันทศร
  15. พันจ่าอากาศเอก ศักดิ์ อินปุระ
  16. พันจ่าอากาศเอก รังสรรค์ อ่อนรักษา
  17. พันจ่าอากาศเอก ทองคำ เปล่งขำ
  18. พันจ่าอากาศเอก สายบัว มดิศร
  19. พันจ่าอากาศโท บุญเยี่ยม ปั้นสุขสวัสดิ์
  20. พันจ่าอากาศโท เกษม สินธุวรรณะ
  21. พันจ่าอากาศตรี บุญ สุขสบาย
  22. พันจ่าอากาศตรี ลออ จาตกานนท์
  23. จ่าอากาศเอก ส่ง ว่องชิงชัย
  24. จ่าอากาศเอก ประยูร สุกุมลจันทร์
  25. จ่าอากาศโท จาด อ่ำละออ
กองทัพอากาศ25 ก.ค. 2484กรณีพิพาทอินโดจีน[1]
  1. นายนาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธ์ (พร้อม วีระพันธ์)
  2. นายเรือเอก เฉลิม สถิระถาวร
  3. นายเรือโท ขัน วงศ์กนก
  4. นายเรือตรี พรม รักษ์กิจ
  5. นายเรือตรี สมัย จำปาสุต
  6. พันจ่าเอก ทองอยู่ เงี้ยวพ่าย
  7. พันจ่าเอก เอี้ยว อึ้งหลี
  8. พันจ่าเอก นวล เสี่ยงบุญ
  9. พันจ่าเอก ลบ นุดนา
  10. พันจ่าเอก ลำดวน ทัพพะเกตุ
  11. พันจ่าเอก ยู่เล้ง อาจสาคร
  12. พันจ่าเอก เพื่อน สุดสงวน
  13. พันจ่าเอก ชุน แซ่ฉั่ว
  14. พันจ่าเอก เอ่ง แซ่ลิ้ม
  15. จ่าเอก นาค เจริญศุข
  16. จ่าเอก วงศ์ ชุ่มใจ
  17. พันจ่าเอก ป่อไล้ แซ่เฮง
  18. จ่าตรี ชาญ ทองคำ
กองทัพเรือ26 ส.ค. 2484กรณีพิพาทอินโดจีนทหารประจำเรือหลวงธนบุรี[2]
  1. นายพันเอก ขุนอิงคยุทธบริหาร (ทองสุก อิงคกุล)
  2. นายร้อยตรี วิเชียร อินทสงค์
  3. จ่านายสิบเอก เอื่อน ทวาย
  4. พลทหาร วงส์ ชูรอด
  5. พลทหาร เติม ลูกเสือ
  6. พลทหาร ฟ่อง สุทธิ
กองทัพบก19 ธ.ค. 2485สงครามมหาเอเชียบูรพา[3]
พันจ่าอากาสเอก สมพงส์ แนวบันทัดกองทัพอากาส19 ธ.ค. 2485สงครามมหาเอเชียบูรพา[3]
พลโท จิระ วิชิตสงครามกองทัพพายัพ24 พ.ย. 2486สงครามมหาเอเชียบูรพาอดีตแม่ทัพกองทัพพายัพ[4]
จอมพล แปลก พิบูลสงครามกองบัญชาการทหารสูงสุด25 เม.ย. 2487สงครามมหาเอเชียบูรพาผู้บัญชาการทหารสูงสุด[5]
  1. เรืออากาศเอก วาสน์ สุนทรโกมล
  2. พันจ่าอากาศตรี ธาดา เบี้ยวไข่มุข
  3. พันจ่าอากาศตรี จุลดิศ เดชกุญชร
กองทัพอากาศ8 ม.ค. 2488สงครามมหาเอเชียบูรพา[6]
นาวาอากาศตรี เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูรกองทัพอากาศ8 ม.ค. 2488สงครามมหาเอเชียบูรพาพระราชทานช่อชัยพฤกษ์ประดับแพรแถบเหรียญกล้าหาญ[6]
เรืออากาศเอก คำรบ เปล่งขำกองทัพอากาศ8 ม.ค. 2488สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • พระราชทานช่อชัยพฤกษ์ประดับแพรแถบเหรียญกล้าหาญ
  • เดิมชื่อ ทองคำ เปล่งขำ
[6]

ในรัชกาลที่ 9

ชั้นยศ-ชื่อ-นามสกุลสังกัดวันที่ประกาศ ชื่อผู้รับพระราชทานปฏิบัติการครั้งที่ได้รับพระราชทานหมายเหตุอ้างอิง
  1. ร้อยโท พีรพล โชติช่วง
  2. สิบตรี สติม กะสวยทอง
  3. พลทหาร ชุมพล สีทา
กองทัพบก25 ก.ค. 2494การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[7]
  1. พันตรี จำเนียร พงศ์ไพโรจน์
  2. ร้อยโท เรือ สุมะโน
  3. ร้อยโท จำเนียร มีสง่า
  4. จ่าสิบเอก ยอดชาย มัจฉากร่ำ
  5. สิบตรี ผิน มาลีเนตร
กองทัพบก11 ก.ย. 2494การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[8]
สิบตรี ประเสริฐ รักษ์จันทร์กองทัพบก1 เม.ย. 2495การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[9]
พันโท อ่อง โพธิกนิษฐกองทัพบก2 เม.ย. 2496การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[10]
  1. ร้อยโท เฉลิม ศิริบุญ
  2. สิบเอก ธรรมนูญ สมหวัง
กองทัพบก2 ต.ค. 2496การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[11]
ร้อยตรี วิเชียร กาญจนะวงศ์กองทัพบก27 พ.ย. 2496การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[12]
  1. ร้อยโท วิเชียร สังขไพรวัน
  2. จ่าสิบเอก นพ วิบูลย์พาชย์
  3. สิบโท ทองอยู่ โฉมสิริ
  4. สิบตรี โชติ สรรค์ประเสริฐ
  5. พลทหาร จือรักษ์ กิจประชุม
กองทัพบก11 พ.ค. 2497การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[13]
ร้อยเอก ประเสริฐ สิงหกุลกองทัพบก18 ก.ย. 2497การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[14]
พันโท ผาติ ยศไกรกองทัพบก20 ต.ค. 2497การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[15]
  1. พันตรี จวน วรรณรัตน์
  2. ร้อยเอก อรรคพล สมรูป
  3. สิบตรี สงวน ศรีเรืองสิน
  4. พลทหาร ทองเจือ ฉายปัญญา
กองทัพบก6 เม.ย. 2498การร่วมรบกับทหารสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี[16]
  1. พลตรี สุจิณณ์ มงคลคำนวณเขตต์
  2. พันเอก สุพร สิทธิมงคล
  3. พันโท คำรณ เหมนิธิ
  4. พันตรี ณรงค์ กิตติขจร
  5. พันตรี ยุทธนา แย้มพันธ์
  6. ร้อยเอก วัฒนา สรรพานิช
  7. ร้อยเอก วิชัย ขันติรัตน์
  8. ร้อยเอก ประสิทธิ์ โยธีพิทักษ์
  9. ร้อยเอก วิรัช แตงน้อย
  10. ร้อยเอก สมพงษ์ โกมลวิภาต
  11. ร้อยเอก อรุณ อุ่นเจริญ
  12. ร้อยโท กัมพล ผลผดุง
  13. ร้อยโท สมพล ชุณหะนันทน์
  14. ร้อยโท ประเวทย์ ทองสุข
  15. ร้อยโท อำนาจ เรืองคุณะ
  16. ร้อยโท พนัส สัตย์เจริญ
  17. จ่าสิบเอก แดงต้อย สำราญเริง
  18. จ่าสิบเอก สงัด ไทยรัฐเทวินทร์
  19. จ่าสิบเอก ประยูร พุฒจรูญ
  20. สิบเอก แสวง พรสวัสดิ์
  21. สิบเอก สำราญ มีจ่าย
  22. สิบเอก สมมาตย์ น้อยพยัคฆ์
  23. สิบเอก วิชัย นุชรักษา
  24. สิบเอก เกษนันท์ สระทองเอื้อ
  25. สิบเอก ไสว บุญทับ
  26. สิบเอก สุนทร พัดสงค์
  27. สิบตรี สุวิรัช ประทีปช่วง
  28. สิบตรี สุวิรัช ประทีปช่วง
  29. พลทหาร สุคนธ์ ประวัติ
กองทัพบก8 มี.ค. 2512ราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[17]
เรืออากาศโท อนาวิล ภักดีจิตต์กองทัพอากาศ8 มี.ค. 2512ราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[17]
พันตรี บุญเชาว์ เล็กชะอุ่มกองทัพบก8 มี.ค. 2512การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[17]
จอมพล ถนอม กิตติขจรกองทัพบก12 มิ.ย. 2515ปฏิบัติหน้าที่ในการสู้รบกับอริราชศัตรูด้วยความเสียสละ เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตด้วยความองอาจกล้าหาญ ทั้งในราชการสงครามและในภาวะฉุกเฉิน เป็นเวลาหลายครั้งหลายคราวพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ประดับช่อชัยพฤกษ์[18]
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์กองทัพอากาศ30 เม.ย. 2516การเจรจาและนำกลุ่มโจรปาเลสไตน์ที่ยึดสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2515 เดินทางออกไปนอกประเทศได้เป็นผลสำเร็จ[19]
พลจัตวา ชาติชาย ชุณหะวัณกองทัพบก30 เม.ย. 2516การเจรจาและนำกลุ่มโจรปาเลสไตน์ที่ยึดสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2515 เดินทางออกไปนอกประเทศได้เป็นผลสำเร็จ[19]
  1. พันเอก ไชยยง โพธิ์อุไร
  2. พันตรี ชูชาติ วณีสอน
  3. ร้อยเอก สุธี เสลา
  4. ร้อยเอก พงษ์เทพ เทศประทีป
  5. ร้อยเอก ไพบูลย์ จึงสำราญ
  6. ร้อยโท ทองชุบ แก้วมีศรี
  7. ร้อยโท ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช
  8. ร้อยโท สมศักดิ์ สิงห์ห่วง
  9. ร้อยโท กำพล แจ่มมิน
  10. ร้อยตรี ประยุทธ มีสิน
  11. จ่าสิบเอก ศักดิ์ครินทร์ อินทุภูติ
  12. จ่าสิบตรี ประสาน กิตติรัตน์
  13. จ่าสิบตรี ยงยุทธ ยอดยิ่ง
  14. จ่าสิบตรี ถมปัทม์ คมขำ
กองทัพบก17 ก.ย. 2519ปฏิบัติการรบอย่างกล้าหาญ[20]
  1. พันตำรวจเอก รัตน์ พรหมโมบล
  2. พันตำรวจโท วิจัย สวัสดิ์เกียรติ
  3. พันตำรวจตรี เสนาะ บำรุงเทียน
  4. ร้อยตำรวจเอก ไพรินทร์ บุญยะผลึก
กรมตำรวจ17 ก.ย. 2519ปฏิบัติการรบอย่างกล้าหาญ[20]
  1. พันตรี สว่าง โสภณ
  2. ร้อยเอก สนธิ เมียนกำเนิด
  3. ร้อยเอก ทวี เชื่อหน่าย
  4. จ่าสิบเอก ทองสุข เจริญขำ
  5. พลทหาร หิน แสงนอก
กองทัพบก17 ก.ย. 2520ราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[21]
พันตรี วีระ วะนะสุขกองทัพบก17 ก.ย. 2520การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[21]
  1. พันตรี หาญ เพไทย
  2. จ่าสิบเอก ชาญณรงค์ เทวายะนะ
  3. พลทหาร เฉลิม น้อยราช
  4. พลทหาร ชัด ณ ทองก้อน
กองทัพบก20 มี.ค. 2521ราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[22]
  1. จ่าสิบเอก ยิ่งยศ ศรีเจริญ
  2. จ่าสิบเอก สนั่น ราชมุณีสุข
กองทัพบก20 มี.ค. 2521การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[22]
ร้อยตรี บุญเหลือ ทองคัณฑากองทัพบก28 พ.ค. 2524การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[23]
  1. นาวาอากาศเอก เฉลิม เอี่ยมแจ้งพันธ์
  2. นาวาอากาศโท ชาญชัย มหากาญจน์
  3. นาวาอากาศโท สัมฤทธิ์ มั่งมี
กองทัพอากาศ28 พ.ค. 2524การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[23]
พลเอก อิทธิ สิมารักษ์กองทัพบก12 ก.พ. 2525การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม[24]
นาวาอากาศโท สนั่น มณีกุลกองทัพอากาศ12 ก.พ. 2525การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[24]
สิบเอก บุญเลิศ เพ็ชรมีกองทัพบก12 ก.พ. 2525การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[24]
  1. พลอากาศโท วันชัย พิไลพงศ์
  2. นาวาอากาศตรี สุรัตน์ สุวรรณประเสริฐ
  3. เรืออากาศเอก ปิยะพงษ์ อุทัยพงษ์
  4. จ่าอากาศเอก อนันต์ นิลสุ
  5. จ่าอากาศเอก พงศ์เทพ พันธ์ประสิทธิ์
กองทัพอากาศ12 ก.พ. 2525การปราบปรามโจรจี้เครื่องบินของสายการบินการูดาแห่งอินโดนีเซียที่สนามบินดอนเมือง[24]
ร้อยตรี สนิท เพ็งเจริญกองทัพบก13 ก.ย. 2525การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[25]
  1. เรืออากาศเอก ชาญชัย วิมุกตะลพ
  2. เรืออากาศโท อรณพ เมนะรุจิ
  3. พันจ่าอากาศเอก วรวุฒิ เสมาเงิน
  4. จ่าอากาศเอก อำนาจ เหล็งบำรุง
กองทัพอากาศ1 พ.ค. 2528ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยด้วยความกล้าหาญเป็นพิเศษอย่างยิ่งยวด[26]
  1. พันตรี ทวีป เก็บเงิน
  2. ร้อยตรี สุระศักดิ์ โกศินานนท์
กองทัพบก25 มิ.ย. 2528การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[27]
  1. พันตรี อัคพล จิตระพรหมา
  2. ร้อยเอก สุรเทพ ชลายนนาวิน
  3. ร้อยตรี สมชาย แวงวงษ์
กองทัพบก25 มิ.ย. 2528การทำลายแหล่งผลิตยาเสพติด[27]
  1. นาวาอากาศตรี อาคม กาญจนหิรัญ
  2. เรืออากาศตรี วศิน อู่ศิริ
กองทัพอากาศ22 ต.ค. 2528ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยอย่างกล้าหาญ[28]
  1. นาวาอากาศเอก ประพัฒน์ วีณะคุปต์
  2. นาวาอากาศตรี วัฒนา ลับไพรี
กองทัพอากาศ25 มิ.ย. 2529ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยอย่างกล้าหาญ[29]
พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมารกองทัพบก14 ม.ค. 2530การสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์[30]
  1. ร้อยเอก วัฒนชัย คุ้มครอง
  2. ร้อยโท สุรสิทธิ์ ประกอบสุข
  3. ร้อยโท สุพจน์ มาลานิยม
  4. จ่าสิบเอก อัฏฐมิพล สรรพอาสา
กองทัพบก10 ก.พ. 2530การผลักดันกองกำลังทหารต่างชาติ ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก[31]
นาวาอากาศตรี สุรศักดิ์ บุญเปรมปรีดิ์กองทัพอากาศ10 ก.พ. 2530การผลักดันกองกำลังทหารต่างชาติ ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก[31]
นาวาอากาศตรี ชวินทร์ วงศ์ทองสงวนกองทัพอากาศ16 มิ.ย. 2531กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญกับราชศัตรู และได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการ[32]
นาวาอากาศตรี เจริญ บำรุงบุญกองทัพอากาศ16 มิ.ย. 2531กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญกับราชศัตรู และได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการ[32]
นาวาอากาศตรี สุรศักดิ์ บุญเปรมปรีดิ์กองทัพอากาศ16 มิ.ย. 2531กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญกับราชศัตรู และได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการพระราชทานช่อชัยพฤกษ์ ประดับแพรแถบเหรียญกล้าหาญ[32]
  1. นาวาอากาศโท สมนึก เยี่ยมสถาน
  2. นาวาอากาศตรี ธีรพงษ์ วรรณสำเริง
  3. เรืออากาศเอก ไพโรจน์ เป้าประยูร
  4. เรืออากาศโท ณฤทธิ์ สุดใจธรรม
กองทัพอากาศ10 ก.พ. 2532กระทำการสู้รบอย่างกล้าหาญเพื่อป้องกันอธิปไตย และได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการ[33]
พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดีกองทัพบก12 มี.ค. 2534ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันอธิปไตยด้วยความกล้าหาญเป็นพิเศษอย่างยิ่งยวด โดยยอมเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อกระทำการให้สำเร็จสมความมุ่งหมายของทางราชการ[34]
เรือเอก ประทีป อนุมณีกองทัพเรือ29 ก.ค. 2543ต่อสู้โจรก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสจนได้รับบาดเจ็บสาหัส[35]
จ่าสิบเอก สวงค์ อิ่มแล่มกองทัพบก29 ก.ค. 2543ปฏิบัติหน้าที่กรณีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายรุกล้ำอธิปไตยในพื้นที่จังหวัดตากจนเสียชีวิตพระราชทานแก่นางสาวจิรภา อิ่มแล่ม ทายาทของจ่าสิบเอก สวงค์ อิ่มแล่ม[35]
  1. สิบโท วิรุณ รมวิเชียร
  2. สิบตรี มาโนชญ์ หนูคงใหม่
กองทัพบก1 ก.ย. 2552ต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2549 จนได้รับบาดเจ็บสาหัส[36]
พันเอก อุทัย ทองไฝกองทัพบก1 ก.ย. 2552ต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2549 จนเสียชีวิตพระราชทานแก่นายธัญญากรณ์ ทองไฝ ทายาทของพันเอก อุทัย ทองไฝ[36]
ร้อยตรี อนันต์ คงเลิศกองทัพบก1 ก.ย. 2552ต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2549 จนเสียชีวิตพระราชทานแก่เด็กชายสมโภชน์ คงเลิศ ทายาทของร้อยตรี อนันต์ คงเลิศ[36]
พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ13 มี.ค. 2556ถูกกลุ่มคนร้ายลอบวางระเบิดเสียชีวิตขณะสืบสวนหาข่าวในพื้นที่รับผิดชอบ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2553อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จังหวัดยะลา, พระราชทานแก่สิบตำรวจเอก โรจนินทร์ ภูวพงษ์พิทักษ์ ทายาทของพลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา[37]
พันตรี สมศักดิ์ เขียนวงศ์กองทัพบก10 พ.ค. 2559เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่โดยการปะทะกับกลุ่มผู้ก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะทำการลาดตระเวนในพื้นที่บ้านบาโงปูโล๊ะ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2550อดีตเสมียนยุทธการ สังกัดกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารม้าที่ 1, พระราชทานแก่ เด็กชายจิรพงศ์ เขียนวงศ์ ทายาทของพันตรีสมศักดิ์ เขียนวงศ์[38]

หน่วยทหาร

ธงฉานของเรือหลวงธนบุรีรับการประดับเหรียญกล้าหาญจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น หลังสิ้นสุดกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อ พ.ศ. 2484
อนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี ที่โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ มีการประดับแพรแถบย่อเหรียญกล้าหาญไว้ที่หอบังคับการเรือ เป็นสัญลักษณ์ของการได้รับพระราขทานเหรียญกล้าหาญ

นอกจากการพระราชทานเหรียญกล้าหาญแก่บุคคลต่างๆ แล้ว ยังมีการพระราชทานเหรียญกล้าหาญแก่หน่วยทหารจำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบวีรกรรมในการรบและสงครามต่างๆ ดังนี้

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง